Sub Navigation Links

webmaster's News

Living Will สิทธิครั้งสุดท้ายในการตาย



Living Will สิทธิครั้งสุดท้ายในการตาย



Living Will สิทธิครั้งสุดท้ายในการตาย

 

ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

น้อยคนนักที่จะเตรียมตัวเพื่อเผชิญกับความตาย ด้วยเป็นเพราะคือสิ่งที่ไม่อยากยอมรับ และยังไม่พร้อมที่จะเปิดรับ โดยอ้างว่ายังไม่ถึงเวลา จึงมักไม่ได้ตระเตรียมความพร้อมในการสะสางปัญหาที่เกิดขึ้น หรือแม้แต่ทำตามความต้องการของตัวเอง โดยเฉพาะวาระสุดท้ายของชีวิต

 

เมื่ออยู่ในภาวะป่วยหนัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาพที่ไม่รู้สึกตัว การตัดสินใจในการรักษาพยาบาลจึงมักขึ้นอยู่กับแพทย์และญาติ ซึ่งอาจจะสวนทางกับความต้องการของคนไข้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดงานสัมมนาเรื่อง “พินัยกรรมชีวิต สิทธิการตาย (Living Will) ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักในการทำความเข้าใจในเรื่องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง และส่งเสริมให้เกิดการผลักดันเชิงนโยบายและการปฏิบัติที่เป็นรูปธรร มต่อไปในอนาคต

 

นพ.อุกฤษฏ์ มิลินทางกูร ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้การเจ็บป่วยสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มีคนอีกจำนวนมากที่ต้องทำการรักษาแบบประคับประคอง โดยเฉพาะโรคชรา มะเร็ง โรคเรื้อรัง ซึ่งการดูแลที่กระทำต่อเนื่องต้องพูดคุยปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ป่วย ญาติ และทีมสุขภาพ แต่หากผู้ป่วยไม่อยู่ในภาวะที่ตัดสินใจได้ หรือญาติมีความเห็นที่ขัดแย้งกัน กฎหมายจะเป็นเครื่องมือรับรองสิทธิของผู้ป่วยในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่ระบุให้มีการแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ การรับรู้และความเข้าใจถึงการมีสิทธินี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น

 

ในปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และญาติยังไม่มีความเข้าใจเรื่องการทำ “พินัยกรรมชีวิต” หรือหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต (Living Will) ทำให้เกิดปัญหาในการรักษาผู้ป่วย เช่น แพทย์ไม่ทำตามเจตนารมณ์การปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วย เนื่องจากมองว่าผู้ป่วยไม่มีความรู้ทางการแพทย์ จึงไม่สามารถตัดสินใจเรื่องสุขภาพของตัวเองได้ จนกลายเป็นสิทธิเหนือผู้ป่วย ทั้งที่จริงๆ แล้วผู้ป่วยมีสิทธิในร่างกายของตัวเอง ส่วนญาติที่ไม่ทำตามเจตนารมณ์ แต่ให้แพทย์ยื้อชีวิตของผู้ป่วยไว้ ส่วนหนึ่งเกิดจากเรื่องความกตัญญู และอาจถูกสังคมตีตราว่าไม่สามารถดูแลบุพการีได้ เป็นต้น

 

โดยการทำพินัยกรรมชีวิตขอปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต ต้องทำระหว่างที่มีสติครบถ้วน และจะต้องเป็นวาระท้ายของชีวิตจริงๆ คือ รู้ว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป็นเพียงแค่การยืดระยะเวลาการเสียชีวิตออกไปเท่านั้น โดยสามารถทำได้ทั้งชนิดที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือพูดปากเปล่าให้เป็ นที่รับรู้โดยทั่วกัน ทั้งแพทย์และญาติว่าจะปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีการใดบ้าง ส่วนกรณีผู้ป่วยที่มีการทำพินัยกรรมชีวิตปฏิเสธการรักษาไว้แล้วแต่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้น แพทย์จะต้องทำการรักษาเฉพาะหน้าไปก่อน จ นกว่าอาการเข้าเกณฑ์ช่วงสุดท้ายของชีวิตที่ไม่สามารถรักษาได้แล้ว จึงค่อยเป็นไปตามสิทธิในการตายที่ผู้ป่วยระบุไว้ในพินัยกรรมชีวิต

 

คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ กล่าวว่า หลายครั้งที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ได้แสดงเจตจำนงไว้ ทำให้แพทย์ไม่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาของผู้ป่วยได้ แม้ว่าการรักษานั้นจะสร้างความทรมาน และเป็นไปเพื่อยื้อการตายก็ตาม ดังนั้นการแสดงเจตนาไว้จะช่วยได้เมื่อถึงเวลานั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้หรือตัดสินใจอะไรได้แล้ว โดยเราสามารถเขียนเงื่อนไขเพื่อปฏิเสธการรักษาที่แตกต่าง กันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความต้องการของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามการแสดงเจตจำนงการตายอย่างสงบ จะมาพร้อมกับระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งประเทศไทยเองยังมีจำนวนศูนย์ดูแลป่วยในระยะสุดท้ายไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงจำเป็นต้องพัฒนาศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบค รบวงจร และบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายให้เป็นต้นแบบของประเทศไทย รวมทั้งยังขาดบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับเวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อดูแลแบบองค์รวมอีกด้วย

 

พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจนอาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้รับผิดชอบพัฒนา “ศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย” กล่าวว่า เรื่องพินัยกรรมชีวิต สิทธิในการตาย (Living Will) เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย จึงเป็นเรื่องปกติที่ยังมีมุมมองแตกต่างกัน แต่หากทุกคนกลับมาคิดถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยก็จะหาข้อสรุปได้ โดยเฉพาะในจุดที่ต้องมีการตัดสินใจทำตามเจตนาของผ ู้ป่วย สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมรู้จัก Living Will และนำไปใช้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยได้รับการยอมรับจากแพทย์และครอบครัวของผู้ป่วยที่จะปฏิบัติตามเจตจำนงดังกล่าวของผู้ป่วยที่เขียนไว้ล่วงหน้า

 

ด้าน พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เผยว่าคำว่า “พินัยกรรมชีวิต : สิทธิในการตาย” อาจจะมีการตีความคลาดเคลื่อนไปมากได้ พินัยกรรมชีวิตโดยเนื้อหาสาระแล้วคือการสั่งเสีย ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยถือปฏิบัติกันมานานแล้ว แต่โดยกฎหมายฉบับนี้เป็นการแสดงเจตนาที่จะไม่ขอรับบริ การทางการแพทย์ที่ตนเองไม่ต้องการก่อนที่จะจากไปเท่านั้น ส่วนสิทธิในการตายก็ไม่ได้หมายความถึงการฆ่าตัวตาย หรือการขอให้ทำการุณยฆาต เพียงหมายถึงสิทธิที่จะขอตายตามธรรมชาติอย่างสงบ ปราศจากความทุกข์ทรมาน สมศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์.

ที่มา ไทยโพสต์

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  22nd Sep 14

จำนวนผู้ชม:  35743

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง