Sub Navigation Links

webmaster's News

ทักทายรายเดือน สิงหาคม ๒๕๕๗ “การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาและขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัด”



ทักทายรายเดือน สิงหาคม ๒๕๕๗ “การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาและขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัด”



“การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาและขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัด”

           &n bsp;    รายงานความเคลื่อนไหวของการพัฒนาเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด ทั้งประเทศ ในเดือนนี้ เราได้ช่วยกันเชื่อมประสานการพัฒนากลไกฯ ระดับจังหวัด ไป ๖๖ จังหวัดแล้วนะครับ และมีจังหวัดที่กำลังขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน และมีความต่อเนื่อง ตามความพร้อมและสอดคล้องกับบริบทของจังหวัด ๔๙ จังหวัด

ภายใต้แนวคิด การต่อยอดและยกระดับ การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยผ่านรูปแบบและกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัด(PHA) เชื่อมโยงกับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อีกทั้งมีการบูรณาการเครื่องมือต่างๆ ที่มีในพื้นที่ ร่วมสนับสนุนกันไปด้วย เพื่อพัฒนาไปสู่แนวคิดเรื่องนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ(Healthy Public Policy:HPP) ซึ่งไม่ใช่/แตกต่าง จาก Health Policy หรือ Public Health Policy

ในระยะเวลาที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และหนุนเสริมงานกระบวนการพัฒนาแบบเติมเต็ม ต่อยอด และยกระดับ รวมทั้งการพัฒนาที่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่กันและกัน และพื้นที่เองก็ได้ประสบการณ์จากพื้นที่อื่นๆ ไปด้วย   เราได้หมุนเวียนไปพบปะกันกับกลุ่มเครือข่ายรายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมี สำนักสนับสนุนปฏิบัติการพื้นที่ (สปพ.) ช่วยทำหน้าที่บริหารจัดการกระบวนการร่วมด้วยช่วยกัน ในทุกครั้งไป

จากการถอดรหัสองค์ประกอบสำคัญ ของการขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัด ที่ถูกออกแบบเพื่อการพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พบว่า มีหลายรหัส หนึ่งในหลายรหัสนั่น ก็มี“นักสานพลัง(Synergist)” หรือจะเรียกว่า “แกนผู้ประสานงาน” ก็ได้ ที่จะไปขับเคลื่อนกลไกเครือข่ายนโยบายสาธารณะฯ ให้เกิดการ “สร้างพลังทวีคูณ(Synergistic effect)”นับว่าได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในขณะนี้เรากำลังขยายผลการพัฒนาศักยภาพนักสานพลัง ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยได้พัฒนาเป็นโปรแกรม หรือที่เรียกว่า PHPP Program จำนวน ๕ Program กระจายครอบคลุม ๔ ภูมิภาค มี คสช.ในพื้นที่,วิทยาลัยในสังกัดสถาบันบรมราชชนก   กระทรวงสาธารณสุข,นักสานพลังในพื้นที่ ผู้ทรงคุณวุฒิ,นักพัฒนา ฯลฯ มาร่วมด้วยช่วยกันพัฒนา ซึ่งขณะนี้กำลังมีการประชุมปรึกษาหารือและออกแบบการพัฒนาในแต่ละภูมิภาค

อีกรหัสหนึ่งที่สำคัญ คือ “การสร้างมวลวิกฤติ (Critical mass)”เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีพลังและก้าวกระโดด โดยได้มีการจำแนกแจกแจงบทบาท และภารกิจองค์กรภาคีที่หนุนเสริมงานในพื้นที่ ให้เห็นภาพที่ชัดเจนแบบง่ายๆ ในการทำความเข้าใจบทบาทหลัก  อาทิ สธ.เน้นPublic Health Structure and Systemสสส.เน้น Health Promotionสปสช. เน้น Health Care(Service)สวรส.,สกว.สถาบันฯ เน้น Health research ส่วน สช. เน้น Healthy Public Policy:HPP ฯลฯและได้มีการพัฒนากลไกขับเคลื่อนที่มีภาคส่วนต่างๆ มาร่วมด้วย ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการอภิบาลระบบ และกลไกกระบวนการ HPPโดยเครือข่าย (Governance by network)

จากการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การสร้างสุขภาวะของประชาชนตามเจตนารมณ์ ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในระบบสุขภาพ ในระยะที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ก็ได้ทำความร่วมมือ (MOU)ในการที่จะร่วมมือกัน ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาธารณสุข ในทุกระดับ ได้ร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพทุกระดับ ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับประเด็น และระดับชาติ จนนำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและนำไปสู่การปฏิบัติจริง ภายใต้การตกลงความร่วมมือ ดังกล่าว หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในพื้นที่ ได้มีบทบาทอย่างมาก ในการสนับสนุนการพัฒนาตามบริบทและความเหมาะสมของพื้นที่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ทุกจังหวัด ได้ให้การสนับสนุนกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาระบบสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี มองเห็นโอกาสในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาในพื้นที่ แต่ก็มีบางจังหวัด(๒-๓ จังหวัด) ที่ยังต้องการทำความเข้าใจและการมอบหมายจากผู้มีอำนาจอีกทอดหนึ่ง ซึ่งผมก็จะได้ประสานกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ต่อไป

การสร้างมวลวิกฤติ (Critical mass)เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีพลังและก้าวกระโดดได้นั้น ก็ได้มีการวางบทบาทและภารกิจเชื่อมโยงกันโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง(Areas base setting)  ซึ่งในระยะที่ผ่านมาและทิศทางในอนาคต สำนักสนับสนุนปฏิบัติการพื้นที่(สปพ.) นอกจากจะได้เชื่อมงาน การสร้างมวลวิกฤติ(Critical mass) ภายใน เช่น งานสมัชชาสุขภาพพื้นที่/ระดับชาติ(AHA/NHA),งานธรรมนูญสุขภาพพื้นที่(HS) งานประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) งานกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม(PHPP) ฯลฯ ไปสู่การพัฒนาในพื้นที่พร้อมๆ กันแล้ว

การสร้างการเรียนรู้และเสริมพลังการทำงานแบบ มวลวิกฤติ(Critical mass)ดังที่กล่าวถึงข้างต้น จะได้มากน้อยเพียงใดคงต้องพยายามกันต่อไปครับ ถึงอย่างไรก็ตาม คงจะต้องอาศัยพลังความร่วมมือ ความเข้าใจ จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความมุ่งมั่นตั้งใจของภาคีเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ร่วมด้วย จึงจะสำเร็จครับ

สุทธิพงษ์ วสุโสภาพล

               & nbsp;                                  ผู้ช่วยเลขาธิการ คสช./ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนปฏิบัติการพื้นที่(สปพ.)

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  1st Sep 14

จำนวนผู้ชม:  35143

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง