Sub Navigation Links

webmaster's News

ภัยพิบัติ…รับมือได้โดยชุมชน



ภัยพิบัติ…รับมือได้โดยชุมชน



ประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง กรณีแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย วันที่ 25 สิงหาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

ภัยพิบัติบางกรณีสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้หลายเดือน หลายวัน หรือหลายชั่วโมง แต่สำหรับกรณีแผ่นดินไหวสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้เพียงไม่กี่นาที นี่คือคำบอกเล่าของอาจารย์เกรียงไกร กอวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อีกทั้งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวยังมีการไหวขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างเกิดตามมาอีกหลายครั้ง (Aftershocks) ในพื้นที่ ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยและความยุ่งยากในการเข้าให้ความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่

เหตุการณ์แผ่นดินไหวในจังหวัดเชียงรายขนาด 6.3 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยพลังงานของรอยเลื่อนพะเยา จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 6 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าตื้นทำให้มีความรุนแรงและความเสียหายเป็นอย่างมาก และมีแผ่นดินไหวตามมาอีกกว่า 730 ครั้ง เกิดความเสียหายด้านอาคารสถานที่ ทั้งโบราณสถาน สถานที่ราชการ เส้นทางคมนาคมและบ้านเรือนของประชาชน พื้นที่ที่รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนและได้รับผลกระทบทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และกำแพงเพชร

เหตุการณ์ครั้งนี้ถือได้ว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปีของประเทศไทย เป็นอุบัติภัยที่ทำให้ประชาชนชาวไทยได้เรียนรู้และตื่นตัวลุกขึ้นมาพยายามหาวิธีรับมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในพื้นที่ให้ความสนใจอย่างมาก และองค์กรภายนอกก็ไม่นิ่งนอนใจที่จะเข้าให้ความช่วยเหลือ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือเหตุการณ์แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติที่คนไทยไม่คุ้นเคยเพราะไม่ค่อยเกิดหรือเกิดก็ไม่รุนแรงจนมีความเสียหาย โดยมากเพียงแค่รู้สึกได้ว่าเกิดแผ่นดินไหวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ทั้งการปฏิบัติตัวของผู้ประสบภัย การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงาน หรือแม้แต่เมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้วก็ยังไม่สามารถดำเนินการช่วยเหลือได้อย่างเป็นระบบ จึงเป็นที่มาของการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงรายร่วมกัน ชวนผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่ อาทิเช่น ประชาชนผู้ประสบภัย จังหวัดทหารบกจังหวัดเชียงราย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และกลุ่มต่างๆ ที่ให้ความสนใจมาประชุมพูดคุยกันถึงแนวทางการรับมือทั้งก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ เพื่อวางเป็นยุทธศา สตร์ของจังหวัด โดยแบ่งผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มย่อยช่วยกันบอกเล่าประสบการณ์และระดมความคิด ในช่วงเช้าคุณหมออำพล จินดาวัฒนะ เสนอทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในหัวข้อ “การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง” 6 ประเด็น ประกอบด้วย (1.) การสานพลังของภาคีเครือข่าย (2.) อัตราการเกิดภัยพิบัติเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต (3.) หลักการจัดการภัยพิบัติ การมีระบบ (ระบบข้อมูล ระบบเฝ้าระวัง ระบบส่งเสริม/ป้องกัน ระบบรับมือ/เผชิญเหตุ ระบบเยียวยา+ฟื้นฟู ระบบสื่อสาร และระบบจัดการความรู้) (4.) บทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคส่วน อีกทั้งเน้นย้ำว่า (5.) มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง และ (6.) ์ทิศทางการไปต่อโดยเสนอว่าให้มีการดำเนินกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ว่าด้วย การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง

ได้มีการเสวนา “บทบาทการจัดการภัยพิบัติแบบมีส่วนร่วม โดยภาคียุทธศาสตร์” ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงราย จังหวัดทหารบกจังหวัดเชียงราย และดำเนินรายการโดย อาจารย์เด่นพงษ์ วงศ์วิจิตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีหัวข้อหลักในการพูดคุย คือ บทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน การดำเนินงานในสถานการณ์ที่ผ่านมา และอุปสรรคในการดำเนินงาน คำว่า “ระบบ” เป็นคำที่ได้รับการพูดถึงในเวทีอย่างท่วมท้นทั้งจากผู้เข้าร่วมประชุมและเวทีเสวนา ทั้งระบบการสื่อสาร ระบบขนส่ง ระบบการจัดการ ฯลฯ โดยมีข้อเสนอว่าต้องมีการจัดเตรียมระบบเหล่านี้รวมไปถึงแผนสำรองหากระบบต่างๆ เหล่านี้ใช้การไม่ได้ในขณะเกิดเหตุ เช่น การสื่อสารโดยไม่ใช้ไฟฟ้าอาจจะใช้การตีเกราะแบบในอดีตแทน จากการเสวนาดังกล่าว ผอ.สุทธิพงษ์ วสุโสภาพล จาก สช.เรา ได้สรุปและนำเสนอใน 3 ส่วนหลัก คือ ประสบการณ์ แนวทาง และทิศทาง ในส่วนของประสบการณ์คือ ชุมชนได้รับความช่วยเหลือร่วมทั้งในชุมชนเองให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี แต่ขาดความเป็นระบบ เกิดความชุลมุนเนื่องจากขาดผู้นำที่สั่งการอย่างเป็นระบบได้ อีกทั้งความเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายนอกที่อาจจะมีทั้งไม่ทั่วถึงและซ้ำซ้อน จึงมีแนวทางในการจัดการเพื่อรับมือ โดยพัฒนาแนวทาง/คู่มือสำหรับประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่ สร้างความเข้มแข็งของชุมชน สร้างจิตอาสาหรือแกนนำเครือข่าย กำหนดระบบสนับสนุนแบบบูรณาการ ให้มีผู้บัญชาการ รวมทั้งพัฒนาให้มีศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติชุมชน จึงได้รวบรวมและนำเสนอทิศทางต่อที่ประชุม 2 หลักใหญ่คือ 2P2R (Prevention Prepare Respond and Recover) ป้องกัน เตรียม ตอบสนอง และฟื้นฟู อีกหลักการคือ 3C (Command Community and cooperation) บัญชาการ สื่อสาร และร่วมมือกัน ซึ่งสอดคล้องกับการหารือในช่วงบ่ายเกี่ยวกับแนวทางการรับมือทั้งก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ แต่อย่างไรแล้วการประชุมหารือในครั้งนี้ยังไม่ได้ผลออกมาในระดับข้อเสนอเชิงนโยบายหรือได้แผนงาน เพื่อเสนอเป็นยุทธศาสตร์จังหวัด แต่จากบรรยากาศและภาพความร่วมมือ รวมทั้งท่าทีของเจ้าภาพหลักคือมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย เอาจริงเอาจังในการดำเนินงานประเด็นนี้ที่มุ่งจะนำสู่การมีแผนงานและพัฒนาเป็นประเด็นนโยบายสาธารณะระดับ จังหวัด เพื่อลดทุกข์ของคนในพื้นที่ ผนวกกับแรงยุของคุณหมออำพล ที่เสนอให้มีการดำเนินกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ว่าด้วย การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางนั้น และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ก็ได้ปิดท้ายว่าสนับสนุนการทำงานโดยให้ชุมชนเป็นฐาน มีส่วนร่วม สร้างกลไก และจะร่วมเป็นกำลังด้านวิชาการ เชื่อมั่นว่าจะเกิดการผนึกกำลังกันอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นรูปธรรมได้ในที่สุดโดยเร็ววันนี้ ด้วยความเชื่อมั่นเดียวกันคือ ภัยพิบัติ…รับมือได้โดยชุมชน

เบื้องหลัง ประสบการณ์การเตรียมข้อมูลสนับสนุน

          ประเด็นการจัดการภัยพิบัติ โดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง เป็นมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 4 พ.ศ. 2555 ณ วันนี้คือการผลักดันมติสู่การปฏิบัติ และบทบาทของบ้าน สช. คือจะต้องเป็นความร่วมมือของสำนักสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สสช.) และสำนักสนับสนุนปฏิบัติการพื้นที่ (สปพ.) และก็เป็นดังนั้นคือเกิดการประสานงานหาข้อมูลร่วมกันและเสนอต่อเลขาธิการเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนเตรียมการเป็นวิทยากร แต่ด้วยระยะเวลาช่วงที่เตรียมข้อมูลนั้นค่อนข้างกระชั้นชิดกับการประชุม จึงเป็นข้อควรระมัดระวังและประสบการณ์ว่า ควรดำเนินการเตรียมและเสนอข้อมูลแต่เนิ่นๆ เผื่อเวลาสำหรับการปรับและหาแนวคิดเพิ่มเติม เพื่อการนำเสนอของวิทยากรจะได้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตามหลักคิดของ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ได้เสนอไว้ว่า “งานสำคัญ ต้องทำให้ไม่เป็นเรื่องเร่งด่วน” คือทำแต่เนิ่นๆ นั่นเอง (จากหนังสือเล่าให้ลึก: 2554)

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  1st Sep 14

จำนวนผู้ชม:  36587

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง