Sub Navigation Links

webmaster's News

ขอเชิญชวนส่งผลงานวิชาการ การประชุมวิชชาการ : ปฏิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฏิรูปจิตสำนึกประชาธิปไตย ในโอกาส ๙ ปี สช



ขอเชิญชวนส่งผลงานวิชาการ การประชุมวิชชาการ : ปฏิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฏิรูปจิตสำนึกประชาธิปไตย ในโอกาส ๙  ปี สช



กดรับชมรายละเอียดต่างๆ และ แบบฟอร์มเอกสารได้ที่ คลิ๊ก

สามารถกดดาวน์โหลดแบบฟอร์มเอกสารได้ที่ คลิ๊ก


แนวคิดเรื่องการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทยก่อตัวมากว่า ๒ ทศวรรษ สืบเนื่องจากการเปลี่ยนมุมมองด้านสุขภาพแบบแยกส่วน มุ่งการขยายบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่เน้นการซ่อมสุขภาพเสียหรือรักษาโรค สู่การมองแบบองค์รวม เน้นการ “สร้างนำซ่อม” และมองว่าเรื่องสุขภาพไม่ใช่แค่เรื่องของมดหมอ หยูกยา การรักษาพยาบาล หรือการแพทย์และสาธารณสุข แต่เป็นเรื่องของสุขภาวะใน ๔ มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา ที่เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล และสัมพันธ์กับระบบต่างๆ ของสังคม การมีสุขภาพดีจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ดีเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยเกี่ยวข้องอื่นๆ อีกมาก อาทิ พฤติกรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อม ระบบต่างๆ ในสังคม และระบบนโยบายสาธารณะซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม

กรอบแนวคิดการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทยได้เสนอจดมุ่งหมายและเจตนารมณ์ ของระบบสุข ภาพแห่งชาติว่า “ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีสุขภาวะทั้งทางกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยมุ่งเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ สุขภาพดีจึงเป็นสิทธิและความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน รัฐมีหน้าที่ในการสร้างนโยบายและระบบเพื่อให้เกิดหลักประกันอย่างทั่วถึงและ เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” เหตุนี้จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ขึ้นในปี ๒๕๔๓ ทำหน้าที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการปฏิรูป ระบบสุขภาพ เป้าหมายคือการประกาศใช้ “กฎหมายว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” เป็นกฎหมายแม่บทของระบบสุขภาพของประเทศไทย โดยริเริ่มกระบวนอย่างเป็นระบบมานับแต่ปี ๒๕๔๓ จวบจนปี ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติและมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๐ โดยกฎหมายได้ให้ความหมายของ “สุขภาพ” ไว้ว่า  “ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล” รวมทั้งได้กำหนดให้มีการพัฒนาเครื่องมือและกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ สมัชชาสุขภาพ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี ประกอบด้วยกุศล ๓ ประการ คือ กุศลทางปัญญา กุศลทางสังคม และกุศลทางศีลธรรม

แนวคิดการปฏิรูประบบสุขภาพข้างต้นเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการปฏิรูปทางการ เมืองของประเทศไทย ที่ต้องการเปลี่ยนผ่านจากประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) มาสู่ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (participatory democracy) ที่มองว่าทุกภาคส่วนของสังคมควรเข้ามามีส่วนร่วมทางด้านการเมือง ดังบทบัญญัติที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๘๗ ที่บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดย (๑) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น และ (๔) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการ ดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่าย ทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จึงเห็นสมควรให้มีการจัดงานประชุมวิชชาการ1 ๙ ปี สช. เพื่อนำบทเรียนจากการปฏิรูประบบสุขภาพ การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ และการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในวาระที่ สช. เข้าสู่ปีที่ ๙ นับตั้งแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐


      
กดรับชมรายละเอียดต่างๆ และ แบบฟอร์มเอกสารได้ที่ คลิ๊ก
  • กรอบความคิดงานวิชาการในการประชุมวิชชาการ ๙ ปี สช.
  • ลักษณะชุดความรู้ทางวิชาการเพื่อเสนอ
  • การส่งผลงานและเกณฑ์การพิจารณา
  • แนวทางการส่งผลงาน

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณลักษวรรณ โกมาสถิตย์

โทรศัพท์ ๐๒๘๓๒ ๙๐๐๐

โทรสาร ๐๒๘๓๒ ๙๐๐๒

email address : 2015nhco@gmail.com

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  26th Aug 14

จำนวนผู้ชม:  37171

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง