Sub Navigation Links

webmaster's News

ยกทั้ง’อาเซียน’เป็น ศูนย์กลาง’การแพทย์’ความร่วมมือหลังเปิด’เออีซี



ยกทั้ง’อาเซียน’เป็น ศูนย์กลาง’การแพทย์’ความร่วมมือหลังเปิด’เออีซี



ยกทั้ง’อาเซียน’เป็น ศูนย์กลาง’การแพทย์’ความร่วมมือหลังเปิด’เออีซี

ชมพูนุท ทับทิมชัย :
วิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 ยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำของนักธุรกิจ ผู้ประกอบการต่างๆ ตลอดจนลูกจ้าง แรงงานต่างๆ ในยุคนั้น ที่ได้รับผลกระทบด้วยการเลิกจ้าง แม้แต่เรื่องราวด้าน “สาธารณสุข” หนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” โรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง มีการปรับยุทธศาสตร์ไปหารายได้จากชาวต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่น ยุโรป ตะวันออกกลาง กระทั่งเมื่อรัฐบาลมียุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นหลัก จึงได้มีการส่งเสริม Medical Tourism โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการสาธารณสุข หรือ “เมดิคอล ฮับ (Medical Hub)” และวิกฤตในครั้งนั้นก็ได้เปิดโอกาสให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านบริการสาธารณสุขมาโดยตลอด
วันนี้ ถ้าใครไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ชื่อดังของประเทศ จะได้พบกับลูกค้า ผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติเดินกันให้ขวักไขว่ และบาง แห่งอาจมีมากกว่าผู้ใช้บริการซึ่งเป็นคนไทยเสียด้วยซ้ำ
และในอนาคตอันใกล้นี้ แน่นอนว่าการเปิด “ประชาคมอาเซียน” ย่อมนำความเปลี่ยนแปลง มาสู่แวดวงบริการสาธารณสุขอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่หลายคนเป็นกังวลคือ “บุคลากรการแพทย์ของไทย จะหลั่งไหลออกไปทำงานนอกประเทศก่อนที่เราจะได้เป็น เมดิคอล ฮับ อย่างเต็มรูปแบบหรือเปล่า?”
ทำให้ในแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มผลผลิตหลักของนโยบาย เมดิคอล ฮับ อีกหนึ่งด้านคือ “ธุรกิจบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก” จากหลักยุทธศาสตร์ 3 ด้าน คือ
1.ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในศาสตร์สุขภาพประเภทต่างๆ ตั้งแต่สถาบันการศึกษา หลักสูตร ผู้เรียน แบบครบวงจร การจัดทำคลังข้อมูลงานวิจัยในศาสตร์ต่างๆ ที่สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์และมีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ด้วยวิธีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาที่มีภารกิจในการวิจัยและพัฒนา
2.ยุทธศาสตร์การส่งเสริมพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพ และมาตรฐานในระดับสากล เช่น การพัฒนาสถานบริการสุขภาพ ให้สามารถจัดบริการรักษาพยาบาล และระยะยาว เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลก การพัฒนาศักยภาพของชุมชนไทยในต่างประเทศ โดยใช้วัด เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานแบบบูรณาการในลักษณะบ้าน วัด ชุมชน การจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยหรือโรงพยาบาลการแพทย์ทางเลือก ใน ภาครัฐและเอกชนระดับ Excellent Center ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค
3.ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ เช่น การเข้าร่วมงานประชาสัมพันธ์ในระดับโลก การเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศ การจัดคณะผู้แทนระดับสูงภาครัฐเดินทางไปเจรจาการค้ากับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศ โดยแบ่งเป็นกลุ่มตลาดหลักและตลาดใหม่น่าสนใจว่ายุทธศาสตร์ที่วางไว้ทั้งหมดนี้จะประสบความสำเร็จ ทำให้ไทยกลายเป็น “ศูนย์กลางอาเซียน” ได้จริงหรือไม่?
ในงานเสวนา TU-ASEAN Forum ครั้งที่ 8 เรื่อง “ไทยกับการเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เชิญนักวิชาการมาร่วมวิเคราะห์บทบาทประเทศไทยกับการเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพหรือ เมดิคอล ฮับ
นพ.ปราโมทย์ นิลเปรม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแพทย์ และรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ให้ความเห็นว่า ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทยขณะนี้สามารถไปต่อได้ และสร้างรายได้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์มากเทียบเท่ากับการไปรับรักษาผู้ป่วยในต่างประเทศ ทำให้ประเทศเราไม่สูญเสียบุคลากรที่มากความสามารถไป เนื่องจากคนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น และชาวต่างชาติเข้ารับการรักษามากขึ้น
และว่า ในส่วนหลักประกันสุขภาพของไทยเราอยู่อันดับที่ 7 ของโลก ถือว่ารัฐบาลประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเกิดไม่เร่งหารัฐบาลรักษาการและรีบดำเนินการต่อก็จะนำไปสู่ภาวะล้มละลายได้”เพราะรัฐบาลต้องเตรียมนโยบายพร้อมจะดูแลเรื่องประกันสังคม เนื่องจากอีกหน่อยสังคมไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงวัย จ ำเป็นต้องใช้ประกันสุขภาพกันมากขึ้นสำหรับกรณีไทยจะพร้อมกับการเป็นศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพหรือไม่นั้น ความต้องการเรื่องเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งทักษะของบุคลากรในองค์กรทางการแพทย์ต้องมีความชำนาญ มีการส่งเสริมให้ได้รับความรู้และได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม”เราต้องนำเข้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีคุณภาพ และเพิ่มมูลค่าในแง่ของการสร้างผลประโยชน์ทั้งจากธุรกิจส่วนควบ เช่น สปา, สายการบิน และ long-stay และการใช้ประโยชน์จากการเอื้ออำนวยให้ต่างชาติเข้ามาใช้บริการสุขภาพภายในประเทศของเรา เช่น การขยายวีซ่าให้กลุ่ม ชาวอาหรับที่มาผ่าตัดลิ้นหัวใจ หรือเปลี่ยนไต ให้สามารถพักรักษาตัวได้ยาวนานมากขึ้น เพื่อจะทำให้เกิดการลงทุนนำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศ”นพ.ปราโมทย์กล่าว
และบอกอีกว่า”ในส่วนโรงพยาบาลของรัฐ อาจเกิดกรณีกลุ่มคนจากบริเวณชายขอบเข้ามาแล้วไม่มีเงินรักษา รัฐบาลก็แก้ปัญหาโดยการให้บุคลากรของเราเดินทางเข้าไปสอนให้คนของเขาสามารถมีวิชาความรู้ดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง เป็นการช่วยเหลือให้เพื่อนบ้านสามารถพึ่งพาตัวเองได้”การจะเป็นศูนย์กลางบริการสาธาณสุข ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการที่ดี บุคลากรทางการแพทย์มีทักษะและความชำนาญรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง และคำว่า เมดิคอล ฮับ จะครอบคลุมถึง Medical tourism จะเป็นเรื่องของ การที่ผู้ป่วยต่างชาติเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมา รักษาที่ประเทศไทย
การมาเข้าของต่างชาติมีอยู่ 2 แบบ คือ1.Medical Traveler จะเป็นลักษณะของการเข้ามาท่องเที่ยวด้วยเรื่องอื่นๆ แล้วประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยจึงต้องเข้ารับรักษา และ
2. Medical Tourism คือ ตั้งใจเข้ามาเพื่อรักษาโดยเฉพาะตรงส่วนนี้จึงเป็นรายได้หลักนพ.ปราโมทย์บอกว่า การเติบโตของ Medical Tourism กับ Medical Traveler มาจาก Economic Recession เมี่อเศรษฐกิจตกต่ำ คนอเมริกันเข้ามารักษาในประเทศไม่ได้เลย เพราะว่าไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอ บริษัทประกันก็จะมาหาแหล่งการรักษา ที่ได้มาตรฐานสูงแต่ราคาถูกกว่า ทำให้ Medical Tourism เจริญเติบโตขึ้นมา ในตอนแรกของอเมริกาไปเริ่มที่เม็กซิโก แล้วมาทางแคริบเบียน ลงมาทางอเมริกาใต้ แล้วค่อยมาทางเอเชีย ในกรณีของ Medical Tourism พม่า คือประเทศสำคัญที่ไทยไม่ควรมองข้าม เพราะประเทศที่ทำ รายได้ให้กับไทยเป็นอันดับ 2 และเป็นชาติเดียวที่เข้ามารักษาที่เมืองไทยมากเมื่อเทียบกับชาวต่างชาติอื่นๆ”แต่ในส่วน Medical Hub คงไม่ได้แค่มอง AEC แต่จะมองไปถึงระดับโลก เพราะว่าลูกค้าใน AEC ที่จะมีกำลังจ่ายมาคงจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่เราจะ ทำตลาดมาก เพราะว่าอินโดนีเซียยังมีความขัดแย้งทางเชื้อชาติอยู่ระหว่างคนจีนกับชาวอินโดแท้ คนจีนจึงเริ่มมีสถานะของเชื้อชาติ จีนอาจมีโอกาสมาใช้บริการของไทยเรา ขณะที่สัญชาติอินโดนีเซียซึ่งมีสามสิบห้าล้านคนจะใช้บริการของสิงคโปร์ “ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันนอกจากสิงคโปร์ที่มีความเจริญทางด้านการแพทย์ที่ใกล้เคียงกับเรา การเข้าออกและการขนส่งสะดวกกว่า แต่เมื่อเทียบราคาค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาของไทยที่ถูกกว่าเกือบครึ่งแล้ว ความสามารถของแพทย์ผู้รักษายังเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และประเทศไทยก็ยังมีความพ ร้อมในเรื่องของที่พัก และสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งจะเป็นส่วนเสริมให้ไทยมีจุดแข็งมากขึ้น” นพ.ปราโมทย์กล่าว เมื่อพิจารณากรอบการตกลงการค้าบริการของอาเซียนที่ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2558 นักลงทุนอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการสาขาต่างๆ ได้ถึง 70% ดูเผินๆ อาจคิดว่าเพิ่มขึ้นมากจากกรอบเดิมที่ไทยเคยกำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% แต่ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะยังมีข้อกีดกันอยู่มาก และในด้านสาธารณสุขนั้น สาขาที่เปิดให้ต่างชาติถือสัดส่วนได้เพิ่มขึ้นเป็น 70% มีเพียงบางด้าน เช่น บริการการแพทย์เฉพาะทาง “ในโรงพยาบาลเอกชน” และบริการ “ให้คำปรึกษา” ด้านกุมารเวช จิตวิทยา การผ่าตัด สำหรับในส่วนของวิชาชีพแพทย์ ถือเป็นวิชาชีพที่มีการเคลื่อนย้ายเสรี แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ (MRA) ซึ่ง MRA กำหนดคุณสมบัติร่วมเอาไว้ทั้งด้านการศึกษาด้านประสบการณ์ อีกทั้ง แต่ละประเทศยังมีข้อกำหนดเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะเป็นภาษาของประเทศนั้นๆ
ด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้ นพ.ปราโมทย์มองว่า การเปิดเสรีด้านสาธารณสุขในขณะนี้ ยังไม่สามารถเปิดได้อย่างเต็มรูปแบบ “แต่ประเทศทั้งหลายสามารถร่วมกันทั้งอาเซียน ให้กลายเป็นเมดิคอล ฮับ ซึ่งต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า แต่ละประเทศต่างมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน เบื้องต้น ประเทศไทยอาจจับมือกับสิงคโปร์ ซึ่งมีความพร้อมด้านการแพทย์ระดับเดียวกันกับเรา รวมถึงร่วมมือกับชาติอาเซียนอื่นส่งต่อคนไข้ต่อไป “ฉะนั้นแล้ว อย่าให้อาเซียนกลายเป็นอุปสรรคในการก้าวเดินต่อ แต่ให้เป็นความร่วมมือของคนทั้งอาเซียน และพากันก้าวไปสู่เวทีสากล ให้ทั้งอาเซียนเป็นศูนย์กลางบริการสาธารณสุข “ถือเป็นอีกหนึ่งข้อคิดสำหรับความเป็น “ประชาคมอาเซียน

ที่มา : มติชน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  8th Jul 14

จำนวนผู้ชม:  36162

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง