Sub Navigation Links

webmaster's News

คคส.ชี้สิงคโปร์คุมแร่ใยหินล้ำหน้าไทยสร้างมาตรฐานรื้อถอนป้องสุขภาพคน



คคส.ชี้สิงคโปร์คุมแร่ใยหินล้ำหน้าไทยสร้างมาตรฐานรื้อถอนป้องสุขภาพคน



คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

 รศ.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้ บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์การใช้แร่ใยหินของประเทศต่างๆ ของเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งเอเชีย (A-BAN) หลังมีงานวิจัยของประเทศต่างๆ ชี้ชัดว่า แร่ใยหินแอสเบสตอส ทำให้เกิดโรคในระบบทางหายใจ เช่น มะเร็งเยื่อหุ้มปอด มะเร็งปอด หรือโรคใยหิน (asbestosis) ล่าสุดพบว่า ประเทศในอาเซียนคือ ประเทศสิงคโปร์ ได้ประกาศฉบับใหม่เพื่อให้การทิ้งอุปกรณ์ที่มีแร่ใยหินปลอดภัยมากขึ้น จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 โดยมาตรการต่างๆ นี้จะให้ประโยชน์ทั้งต่อคนงานและสาธารณชนหลังจากสภาสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน และกระทรวงแรงงานมนุษย์ได้หารือแนวทางร่วมกัน

ที่ประเทศสิงคโปร์จะบังคับใช้ ได้กำหนดว่า ถ้าพบว่ามีแร่ใยหิน บริษัทต่างๆ จะต้องมีแผนงานที่เหมาะสมในการจัดการกับแร่ใยหินนั้น มีแผนการประเมินความเสี่ยง บริษัทจะต้องแจ้งกระทรวงแรงงานมนุษย์อย่างน้อย 7 วันก่อนเริ่มงานที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหิน โดยอาคารที่ก่อสร้างก่อนปี 2534 อาจมีวัสดุประกอบแร่ใยหินในกระเบื้องลูกฟูก ฝ้าเพดาน กระเบื้องปูพื้นและฝาผนัง ถ้าพบว่ามีแร่ใยหินอยู่ในอาคารใด ผู้ที่จะสามารถขจัดแร่ใยหินออกคือผู้รับเหมาและคนงานที่ได้รับอนุมัติเท่านั้น หากมีการละเมิดจะมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 ดอลลาร์ หรือ 500,000 บาท และจำคุก 24 เดือน

ประเทศไทย แผนงาน คคส. ร่วมกับศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จังหวัดเชียงราย สมาคมประชาสังคมเพื่อการพัฒนาและสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย ได้ส่งเสริมพื้นที่ที่มีความพร้อมในการจัดการกับปัญหาแร่ใยหิน โดยเฉพาะในการรื้อถอนอาคารที่มีแร่ใยหิน ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งใน จ.เชียงราย เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 18 แห่ง ในการออกเทศบัญญัติว่าด้วยการรื้อถอนอาคาร เพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนในท้องถิ่นให้ปลอดภัยจากแร่ใยหิน ดำเนินการไปแล้ว 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลแม่ยาว อ.เมือง

“คคส.ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิตสินค้าวัสดุก่อสร้างที่ไม่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินให้ดำเนินการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยการติดคำแนะนำขั้นตอนในการรื้อถอนวัสดุที่มีแร่ใยหินลงบนฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัท ระหว่างที่มาตรการในระดับประเทศยังไม่มีการออกกฎระเบียบที่มีผลทางกฎหมาย และยังต้องรอท่าทีที่ชัดเจนของกระทรวงสาธารณสุขที่จะมีผลต่อท่าทีของกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป” รศ.ภก.วิทยา กล่าว

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  25th Feb 14

จำนวนผู้ชม:  35003

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง