Sub Navigation Links

webmaster's News

ชู’ประชามติแบบหารือ’เครื่องมือสร้างส่วนร่วมปฏิรูป



ชู’ประชามติแบบหารือ’เครื่องมือสร้างส่วนร่วมปฏิรูป



กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นพ.สมศักดิ์ ชุณหะรัศมิ์ อดีตกรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวตอนหนึ่งบนเวทีถอดบทเรียนกระบวนการปฏิรูปประเทศฯ ว่า วิธีการทำงานที่ผ่านมาของสมัชชาปฏิรูป คือใช้รูปแบบ “สมัชชา” เหมือนกับสมัชชาสุขภาพ มีการระดมสมอง จากนั้นก็ชวนคนมานั่งคุย และจัดสมัชชาประจำปี อย่างไรก็ดี กระบวนการนี้ก็มีจุดอ่อน หลายคนเรียกว่า “ไม่มีน้ำยา” เพราะไม่สามารถแปรข้อเสนอไปสู่การปฏิบัติได้ หลายคนบอกว่าอาจเป็นเพราะไม่ได้คิดเชื่อมกับฝ่ายการเมืองเท่าที่ควร

“ข้อเสนอแปรไปสู่การปฏิบัติเชิงโครงสร้างทำได้ยาก เพราะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต้องทำทุกระดับ ตั้งแต่ชุมชน ตำบล จังหวัด และประเทศ แต่เมื่อถึงระดับประเทศ

ก็ต้องการกลไกเชิงอำนาจมารองรับ ซึ่งหลายๆ เรื่องก็ไม่ใช่แค่การแก้ไขกฎหมาย แต่ยังต้องการกลไกมาจัดการปัญหาเฉพาะหน้าด้วย”

นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญของการปฏิรูป คือ การสร้างการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง แต่การทำงานที่ผ่านมาในสมัชชาปฏิรูป อาจมีภาคเอกชนและราชการเข้าร่วมน้อยเกินไป นอกจากนั้นยังต้องคิดเรื่องการสื่อสาร เพราะแม้เนื้อหาหรือข้อเสนอจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่ต้องตระหนักคือสังคมเข้าใจเนื้อหานั้นหรือไม่

“ถ้าจะออกแบบใหม่ในการปฏิรูปประเทศวันนี้ กลไกการมีส่วนร่วมต้องยังมีอยู่ แต่ควรมีกลไกที่มีอำนาจรวมอยู่ด้วย ไม่อย่างนั้นก็ได้แต่เสนอแนวทาง แต่ไม่เกิดผล ไม่มีใครทำ ขณะเดียวกันก็ต้องมีกระบวนการแปลงสารทางวิชาการให้คนเข้าใจได้ง่ายๆ การได้มาซึ่งกลไกการมีส่วนร่วมในวันนี้ก็สำคัญ เราจะสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับจากทุกกลุ่มได้อย่างไร ผมคิดว่าเรื่องประชามติอาจเป็นเครื่องมือใหม่ที่ต้องหยิบมาใช้”

ทั้งนี้ เวทีการถอดบทเรียนกระบวนการปฏิรูปประเทศฯ ซึ่งจัดโดย “เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป” ได้ข้อสรุปที่เห็นพ้องกันว่า การปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้จริงต้องมีกลไกและกระบวนของการมีส่วนร่วมที่สามารถทำให้เกิด “จุดร่วม”อันเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน โดยมีข้อเสนอหนึ่งที่น่าสนใจคือการทำ “ประชามติแบบหารือ” เพื่อเป็นกลไกสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดการยอมรับของทุกฝ่าย และต้องมีกระบวนการสื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชนอย่างทั่วถึง

เพราะสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การปฏิรูปไม่สำเร็จ คือ ไม่มีการสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในเรื่องที่จะปฏิรูป โดยเฉพาะการสื่อสารกับภาคประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นต่างจังหวัด ทำให้พลังงานในการขับเคลื่อนการปฏิรูปขาดหายไป

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอว่า การปฏิรูปจะประสบความสำเร็จต้อง “เปลี่ยนความคิด”โดยเฉพาะท่ามกลางความขัดแย้งในปัจจุบัน การปฏิรูปไม่ใช่แค่การเปลี่ยนกติกา เปลี่ยนกฎหมาย แต่ต้องเปลี่ยนชุดความคิดใหม่ว่าทำอย่างไรถึงจะอยู่ร่วมกันได้

นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และอดีตกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กล่าวว่า การปฏิรูปท่ามกลางความขัดแย้งแม้จะทำได้ยากลำบาก แต่ยังดีที่ครั้งนี้สังคมไทยมีต้นทุนเรื่องเครือข่ายอยู่มาก และประชาชนตื่นตัวทางการเมืองสูงมาก เชื่อว่าทำให้เกิดพลังขับเคลื่อนไปได้

“เราจะทำเรื่องที่เห็นผลสำเร็จเร็ว สังคมจะได้มีกำลังใจเดินหน้าต่อ ไม่ใช่ทำทุกเรื่อง ที่สำคัญต้องมีอำนาจจริงถึงจะเกิดการปฏิรูป” อดีตกรรมการ คอป.กล่าว

ขณะที่บทเรียนในอดีต ทุกภาคส่วนเห็นตรงกันว่าอุปสรรคที่สำคัญของการปฏิรูป คือ นักการเมืองซึ่งไม่เชื่อมั่นการมีส่วนรวมของประชาชน ดังนั้นการปฏิรูปการเมืองมีความสำคัญเร่งด่วนต้องดำเนินการ และต้องปฏิรูปกระบวนการนิติบัญญัติควบคู่ไปด้วย

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  17th Feb 14

จำนวนผู้ชม:  34593

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง