Sub Navigation Links

webmaster's News

รีสตาร์ทประเทศ ‘ปราโมทย์’ แนะปฏิรูปแยกหน้าที่ขรก.ออกจากการเมือง



รีสตาร์ทประเทศ ‘ปราโมทย์’ แนะปฏิรูปแยกหน้าที่ขรก.ออกจากการเมือง



สำนักข่าวอิศรา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รีสตาร์ทประเทศไทย ‘ปราโมทย์ ไม้กลัด’ แนะปฏิรูปบุคลากร แยกหน้าที่ข้าราชการออกจากการเมือง อดีตปลัดรง. ชี้ต้องรื้อระบบการศึกษา เพิ่มหลักสูตรหน้าที่พลเมือง ‘พงศ์โพยม’ ระบุควรสร้างการเข้าถึงข้อมูลระบบราชการ

 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จัดเวทีภาคีพัฒนาประเทศไทย (นัดพิเศษ) เรื่อง ‘พลังข้าราชการกับการปฏิรูปประเทศไทย’ ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ

 นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ที่ผ่านมาระบบราชการอ่อนแอมาก ซึ่งสมัยก่อนระบบราชการยุคนั้นเข้มแข็งกว่ายุคปัจจุบัน ยิ่งขณะนี้อ่อนแอที่สุด เพราะนักการเมืองเข้าไปบัญชาการบริหารงานบุคคล ข้าราชการทุกระดับไม่ว่าจะเป็นอะไร มักอยู่ภายใต้การสั่งการที่มีค่าผ่านประตูหมด โดยเฉพาะระดับสูงยิ่งเสียค่าผ่านประตูมาก ซึ่งระยะหลังมีชนิดออกหน้าออกตา โลเช่น ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ประจักษ์ชัดว่าอะไรเป็นอะไร ถึงขนาดต้องการครอบครองกระทรวงให้เป็นของพรรคใดพรรคหนึ่ง และท้ายสุดก็เห็นชัดเจนว่างานไม่คืบหน้า

 ทั้งนี้ หากมีรัฐบาลกลางมาบริหารประเทศ 18 เดือน อดีตอธิบดีกรมชลฯ ระบุว่า ควรเร่ง ‘ปฏิรูปการบริหารจัดการคน’ ให้เร็วที่สุด โดยแบ่งแยกหน้าที่ของข้าราชการประจำกับนักการเมืองให้ชัด ไม่ให้ก้าวก่ายกัน ส่วนการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรกระทรวง ทบวง กรม นั้นยาก เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องหลายเรื่อง จึงควรค่อย ๆ ทำไป

 นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกระทรวงสาธารณสุขจะต้องทำตัวให้เล็กลง โดยหันไปดำเนินงานเน้นเรื่องวิชาการ มาตรฐาน กฎหมาย และต่างประเทศ ส่วนโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะต้องปลดปล่อยให้เป็นอิสระ เหมือนกับโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร แต่การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขดังกล่าวมิได้หมายถึงปูพรมเหมือนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ จังหวัด ซึ่งอาจจะมีการเริ่มต้นนโยบายภาคละ 2-3 แห่งก่อน

 นอกจากนี้ต้องปฏิรูประบบกองทุนสุขภาพให้มีสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกัน รวมถึงปฏิรูปบุคลากร โดยที่ผ่านมา 5-6 ปี มีข่าวทุจริตคอร์รัปชั่นและขับไล่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขบ่อยครั้ง เพราะมีชมรมแพทย์ชนบทคอยเป็นหมาเฝ้าบ้านที่ส่งเสียงดัง

 พร้อมกันนี้นพ.ศิริวัฒน์ เห็น ว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นก็มิได้มีมากกว่ากระทรวงอื่นเลย แต่ที่น่ากังวลที่สุด คือ การทุจริตเชิงนโยบาย โดยเฉพาะความพยายามบั่นทอนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้อ่อนแอลง ด้วยการให้ค่าหัวประชากรน้อยลง แล้วหันไปกำหนดมาตรฐาน (P4P) เพื่อเอื้อให้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน

 “ขณะนี้โรงพยาบาลใหญ่ ๆ ไปซื้อโรงพยาบาลเอกชนที่อ่อนแอในต่างจังหวัดมากมาย ดังนั้นจึงให้โรงพยาบาลเอกชนออกจากตลาดหุ้น เพราะการรักษามนุษย์ไม่ควรเป็นธุรกิจ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบประเทศฝั่งยุโรปหรือสแกนดิเนเวียไม่มีการนำโรงพยาบาลเข้าตลาดหุ้น และพยายามให้อยู่ได้โดยไม่ต้องทำกำไรสูงสุด” อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว

 ายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การปฏิรูประบบราชการควรแยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง โดยเฉพาะการแต่งตั้งข้าราชการระดับต่ำกว่าปลัดกระทรวงนั้นให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการเหมือนกับสภากลาโหม ส่วนฝ่ายการเมืองจะมีอำนาจแต่งตั้งบุคลากรได้เฉพาะระดับปลัดกระทรวงขึ้นไปเท่านั้น

 นายพงศ์โพยม กล่างถึงประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการก็ต้องปฏิรูปด้วย เพราะข้าราชการมักไม่ตั้งใจทำงาน เนื่องจากไม่ต้องรับผิดชอบผลงาน ด้วยเชื่อว่ากระทรวงไม่มีทางเจ๊ง กรมไม่มีทางเจ๊ง ผิดกับเอกชน จึงทำให้ข้าราชการเกิดความคิดอยากทำอะไรก็ทำไป รวมถึงจะต้องสร้างความโปร่งใสในการเข้าถึงข้อมูลระบบราชการ เพราะแม้จะมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 ก็ไม่สามารถเข้าถึงได้

 ชงตั้งโมเดลตรวจสอบภาษีนักการเมืองใหม่

 ด้านนายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่จะต้องปฏิรูปคืออย่าให้นักการเมืองเข้าสู่อำนาจ โดยนำภาษีของสรรพากรมากำหนด จากเดิมที่เคยดูภาษีย้อนหลังโดยใช้ฐานปีเดียวก็เปลี่ยนมาเป็น 3 ปี เวลาเช็คย้อนหลังต้องเช็คครอบครัวของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย ตั้งแต่บุตรที่บรรลุนิติภาวะ และภรรยา เพราะภาษีจะติดตามได้ไปจนวันตาย

 “แต่สิ่งสำคัญคือเราจะทำอย่างไรไม่ให้อธิบดีกรมสรรพากรเข้าไปรับใช้ฝ่ายการเมือง อาจต้องให้มีองค์กรในสรรพากรมาเป็นองค์กรอิสระ แล้วคัดสรรคนดีๆมาทำหน้าที่ในระยะเริ่มต้น ด้วยการตั้งทีมเฉพาะกิจทำโมเดลนำร่องไปอยู่ภายใต้กรมสรรพากร ถ้าตั้งใจทำให้ดี เชื่อว่าเราทำได้”

  ;อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่า หากเราสร้างโมเดลในการนำร่องเพื่อตรวจสอบภาษีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้วจะต้องดูแลความเป็นอยู่ในเรื่องความปลอดภัยให้กับบุคคลเหล่านั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการถูกคุมคาม รวมทั้งควรตั้งกองทุนขึ้นมาดูแลช่วยเหลือซึ่งอาจจะเก็บมาจากภาษีบาป อย่างเหล้าเบียร์ บุหรี่ หรือกองสลากสัก 0.5 % เพื่อนำมาจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงหรือช่วยเหลือคนที่ถูกฟ้องจากการทำงานเพื่อไม่ให้คนเหล่านั้นรู้สึกโดดเดี่ยว หากสามารถทำได้จะทำให้ระบบการตรวจสอบดีขึ้นอย่างแน่นอน

 “ทั้งนี้สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือจะต้องไม่ให้วุฒิสภาซื้อได้ด้วยเงิน เพราะในช่วงที่ผ่านมาเวลาจะแต่งตั้งใครเข้ามาเป็นบอร์ด เข้ามาทำหน้าที่จะต้องมีการโหวตในวุฒิสภา พอนักการเมืองอยากได้ใครจะแต่งตั้งใครก็โหวตโหวตทีไรก็ชนะ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปเป็นอันตรายมาก เราจึงต้องวางโครงสร้างเช็คให้เกิดความสมดุลในการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา”

 นายชวลิต กล่าวถึงกรณีที่ข้าราชการเข้าไปเป็นบอร์ดในรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่รัฐวิสาหกิจทั้งหมดกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และรัฐมนตรีจะเป็นผู้แต่งตั้งคนเข้าไปแล้วมักเลือกแต่คนของตัวเองให้เข้าไปทำงานอย่างมีเป้าหมายและไม่ได้เข้าไปเพื่อรักษาประโยชน์ให้ประเท ศชาติ รัฐวิสาหกิจจึงกลายเป็นแหล่งทำมาหากินอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของเหล่านักการเมือง ซึ่งกระทรวงการคลังก็ไม่มีรัฐมนตรีดีๆเข้ามาสุดท้ายก็หากินเหมือนเดิม ดังนั้นเราจะต้องหาโมเดลในการเลือกบอร์ดรัฐวิสาหกิจใหม่ไม่ให้เจ้ากระทรวงเป็นคนแต่งตั้ง

 นอกจากนี้อีกเรื่อง ที่เห็นว่าต้องปฏิรูปคือแก้กฎหมายให้ราษฏรผู้เสียภาษีสามารถวางทรัพย์ได้ คือถ้าเห็นว่าโครงการของรัฐบาลไม่ดี หรือเห็นว่ารัฐบาลไม่ฟังเสียงคัดค้านของประชาชน ให้ประชาชนสามารถวางทรัพย์ทิ้งไว้ได้สักสองปีเพื่อเป็นการแสดงให้รัฐบาลเห็นว่าเราไม่เห็นด้วย ดังนั้นต้องเป็นช่องทางวางศาลไว้บ้าง

 เน้นปฏิรูปการศึกษา เพิ่มหลักสูตรหน้าที่พลเมือง

 นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ณ เวลานี้ เลือกรัฐบาลผิดคิดจนรัฐบาลตาย สิ่งแรกที่เห็นว่าควรปฏิรูปคือเรื่องการศึกษา เพราะต่อให้เราไม่ได้รับการดูแลจากระบบที่ดีแต่ถ้าเรามีข้อมูลมีความรู้เราก็จะสามารถเลือกคนที่ดีมาบริหารประเทศได้ ทั้งนี้สิทธิเสรีภาพของข้าราชการมีไม่เต็มที่ เช่นข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ที่หลังเลิกงานแล้วมาขึ้นเวทีกับกปปส.แล้วถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตรงนี้ทำให้เราไม่มี สิทธิเสรีภาพต่างๆอย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงเห็นว่าน่าจะให้มีการยอมรับในอนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้เรามีสิทธิในการเจรจาต่อรอง และให้ข้าราชการสามารถจดทะเบียนสหภาพ ได้เพื่อที่รวมกลุ่มกันในการเจรจาต่อรองและคัดค้านในเรื่องต่างๆและ ไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของนักการเมือง

 อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวด้วยว่า แท้จริงระบบหลายอย่างของเราค่อนข้างดี แต่เสียตรงที่ข้าราชการกับนักการเมืองมารวมหัวกันทำเรื่องไม่ดีจนประเทศพัง ในอดีตนักการเมืองไม่รู้ว่าตรงไหนกินได้ ข้าราชการตัวดีบอกนักการเมืองกินตรงนี้ซิ

 “ดังนั้นจึงต้องหันมาวางระบบการศึกษา ในระยะสั้นๆให้ความรู้เพิ่มหลักสูตรหน้าที่พลเมืองเข้าไป เนื่องจากเด็กสมัยใหม่ไม่รู้จักหน้าที่พลเมือง รู้จักแต่สิทธิ ไม่รู้ว่าหน้าที่ของตนเองต้องทำอะไรบ้าง และระบบการคัดเลือกปลัดกระทรวงหรืออธิบดีกรมต่างๆต้องมีหลักการในการคัดเลือกคนดีเข้ามาทำงานด้วย”

 ขณะที่นางวิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ อดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาก ารเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องปฏิรูปคือระบบราชการ ในการโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ เพราะการเปลี่ยนแค่เลขานุการเพียงคนเดียวก็ทำให้ระบบการทำงานรวนทั้งระบบ ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้ทำให้วัฒนธรรมของข้าราชการมืออาชีพหายไป และกลายเป็นว่าวัฒนธรรมของข้าราชการที่มีความคิดอย่างตรงไปตรงมาถูกปิดกั้นโดยฝ่ายการเมือง

 “อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหากข้าราชการประจำที่อยู่ในสภาพัฒน์ฯ หรือประจำหน่วยงานกลางต่างๆ ผน ึกกำลังแล้วบอกฝ่ายบริหารในสิ่งที่ทำผิดและสนับสนุนในสิ่งที่ทำถูกจะมีผลให้ไม่เกิดการคอร์รัปชั่น”

 นางวิไลพร กล่าวด้วยว่า การจะทำข้อเสนอปฏิรูประเทศไทย ให้เสร็จภายใน 1 เดือน หากในช่วงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงบริหารเราจะรีบเสนอทันที โดยจะเน้นไปในเรื่องที่จะกระตุกให้การปฏิรูปประเทศเดินหน้า .

ที่มา : http://www.isranews.org

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  17th Feb 14

จำนวนผู้ชม:  35164

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง