Sub Navigation Links

webmaster's News

พร้อมเปิดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หาทางออก 8 ประเด็นสำคัญของประเทศ



พร้อมเปิดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หาทางออก 8 ประเด็นสำคัญของประเทศ



  สช./ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเตรียมพร้อมเปิดเวทีระดับชาติ 15-17 ธ.ค.นี้ ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ยก 8 ประเด็นเข้าสู่ที่ประชุม ‘สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 พ.ศ.2553’ เพื่อถกปัญหาและหาทางออก ชูประเด็นร่วมฝ่าวิกฤตความไม่เป็นธรรม นำสังคมสู่สุขภาวะ, การแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม,
   มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน, นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ฯลฯ และได้รับเกียรติเป็นพิเศษจาก ‘อมาตยา เซน’ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปาฐกถาในพิธีปิดด้วย วันนี้ ( 8 ธ.ค.2553) ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มีการแถลงข่าวเรื่อง
  ‘จับตาสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2553’ โดยมี นพ.สุรพจน์ สุวรรณพานิช รองประธานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และดร.นงลักษณ์ พะไกยะ ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็นนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ เข้าร่วม นพ.สุรพจน์ สุวรรณพานิช รองประธานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคมนี้ ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งกำหนดให้จัดอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมคิด
   ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ปีนี้มีองค์กรและเครือข่ายต่างๆ เสนอประเด็นนโยบายสาธารณะเข้าสู่การพิจารณาทั้งสิ้น จำนวน 52 ข้อเสนอ จาก 36 องค์กร ซึ่งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) พิจารณาคัดเลือกประเด็นที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และนโยบายที่สำคัญต่อระบบสุขภาพ ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ สังคม
  มีความซับซ้อนที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันแก้ปัญหา มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ ประเด็นนั้นได้รับความสนใจจากสาธารณะ มีความเป็นไปได้ในการผลักดันเชิงนโยบายและสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาได้จริง ในที่สุด คจ.สช. คัดเลือก 8 ประเด็นที่จะเข้าสู่การพิจารณาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ คือ 1.ร่วมฝ่าวิกฤตความไม่เป็นธรรมนำสังคมสู่สุขภาวะ 2.การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก 3.ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ 4.การแก้ปัญหาวัยุร่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม 5.มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน 6.มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ 7.นโยบายสนับสนุนพื้นที่จัดการตนเองเพื่อสังคมสุขภาวะ และ 8.นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ “สำหรับประเด็นหลักปีนี้ คือ “ร่วมฝ่าวิกฤติความไม่เป็นธรรม นำสังคมสู่สุขภาวะ” เพราะที่ผ่านมาปัญหาวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกระจายรายได้ การจัดสรรทรัพยากร ทั้งที่ดิน ที่อยู่อาศัย กระจุกตัวอยู่กับคนส่วนน้อย ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน ไร้ที่ดินทำกิน ขาดโอกาสทางการศึกษา ฯลฯ
  ซึ่งสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กว่า 1,500 คน ที่เป็นตัวแทนมาจากกลุ่มเครือข่ายภาคีทุกภาคส่วน และทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะพิจารณาข้อเสนอและหาฉันทามติร่วมกัน จากนั้นก็จะเป็นการผลักดันไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมด้วยช่องทางต่างๆที่หลากหลายต่อไป รวมทั้งส่งไปยังคณะกรรมการปฏิรูปด้วย” รองประธาน คจ.สช. กล่าว ด้าน ดร.นงลักษณ์ พะไกยะ ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็นนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ กล่าวว่า 1 ใน 8 ประเด็นที่สังคมน่าจับตามองคือ นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ซึ่งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือพรีม่า เสนอเรื่องนี้เข้ามาพิจารณาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องนี้น่าสนใจที่แม้แต่ละฝ่ายจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่ที่ผ่านมาคณะทำงานวิชาการซึ่งมีทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สภาวิชาชีพ หน่วยงานราชการ ได้มาร่วมกันพัฒนาข้อเสนอเพื่อสร้างสมดุลย์ให้กับการดำเนินนโยบายศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือ เมดิคัล ฮับ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างรายได้และสร้างชื่อเสียงของประเทศ แต่ขณะนี้เดียวกันต้องสามารถลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนคนไทยได้ด้วย ซึ่งขณะนี้ข้อเสนอที่คณะทำงานวิชาการฯ
   ยกร่างขึ้นมา ได้ส่งไปยังกลุ่มเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องได้ให้ความเห็นและช่วยกันพิจารณาแล้ว หลังจากนั้นคณะทำงานฯ ได้ปรับแก้และส่งกลับไปยังผู้แทนกลุ่มเครือข่ายเพื่อไปรับฟังความเห็นรอบที่ 2 ก่อนที่จะมาเข้าสู่การพิจารณาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 15-17 ธ.ค.นี้ “การทำงานวิชาการที่ผ่านมา ทำให้ดิฉันเห็นว่า ประเด็นที่มีความแตกต่างกันเช่นนี้เราสามารถพูดคุยกันได้ เพียงแต่ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เราทำงานกันมาหลายเดือนค่อยคิด ค่อยปรับกันไป จนในที่สุดได้ข้อเสนอที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ ก่อนที่ข้อเสนอนี้จะนำไปสู่การทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต ”
   ดร.นงลักษณ์กล่าว นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า ข้อเสนอสำคัญๆ ที่จะให้สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติพิจารณา เรื่องนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาตินั้น เสนอให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรับผิดชอบการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ระยะที่ ๒ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการเฉพาะกิจของนายกรัฐมนตรีเพื่อพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติด้านการรักษาพยาบาล ดำเนินนโยบายหรือยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติที่ไม่กระทบต่อบริการสุขภาพสำหรับประชาชนไทย และพัฒนากลไกที่ให้ภาคประชาชนภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ให้คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเอกชน ร่วมกับคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ จัดทำแผนการผลิตและจัดการบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เหมาะสม เพื่อทดแทนการสูญเสียบุคลากรจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายดังกล่าว
  สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อกำกับติดตามการเคลื่อนย้ายกำลังคนด้านสุขภาพทั้งแพทย์ พยาบาล และเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ง่าย กำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการใช้ทรัพยากรร่วมกันในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับหลังปริญญา โดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนด้านการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานในโรงพยาบาล เพื่อให้มีการนำไปปรับระบบบริการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนไทย “ข้อเสนอเหล่านี้เมื่อหากผ่านการพิจารณาจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติแล้ว จะนำเข้าสู่การพิจารณาในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบ
  และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป” นายแพทย์อำพลกล่าว เลขาธิการ คสช.ยังกล่าวด้วยว่า การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 นี้ ได้รับเกียรติเป็นพิเศษจาก ศ.ดร.อมาตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์ชาวเอชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล และได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทมส์ว่า เป็น 1 ใน100 นักคิดที่มีอิทธิพลต่อโลก ในปี 2553 นอกจากนี้ยังได้รับการเชิดชูว่าเป็นนักปรัชญา และนักสังคมวิทยาการเมือง เทียบเท่ากับคาร์ล มาร์กซ์ และอดัม สมิธ มาร่วมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง สร้างสังคมยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม (Building social justice t close the social gap) ในพิธีปิดวันที่ 17 ธันวาคมนี้ด้วย ในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีนี้ คจ.สช. ได้เชิญชวนผู้สนใจส่งนิทรรศการภาพถ่ายในหัวข้อ ‘

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  34919

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง