Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ ระดมสมอง: ร่างข้อเสนอ Roadmap การปฏิรูปประเทศ



คอลัมน์ ระดมสมอง: ร่างข้อเสนอ Roadmap การปฏิรูปประเทศ



ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ : ผอ.สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคม

และสิ่งแวดล้อม (GSEI)

4. กรอบเนื้อหาการปฏิรูป

โจทย์เรื่องการปฏิรูปประเทศมีหลากหลายมิติ โดยอาจจัดเป็น 8 กลุ่มเรื่องใหญ่ ๆ ได้แก่ 1.ปฏิรูประบบการเมืองและระบบราชการ 2.ปฏิรูปการปกครอง 3.ปฏิรูปการขจัดคอร์รัปชั่น 4.ปฏิรูปสังคมเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรม 5.ปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากร 6.ปฏิรูประบบความยุติธรรม 7.ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ 8.ปฏิรูประบบปัญญาของชาติ (การศึกษา-การวิจัย- การสื่อสาร)

การจัดทำ “กรอบเนื้อหาการปฏิรูป” (จะปฏิรูปเรื่องใด และมีเนื้อหาสำหรับแนวทางปฏิรูปแต่ละเรื่องอย่างไร) ควรเป็นกระบวนการหารือทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรเพื่อการปฏิรูปที่จะจัดตั้งขึ้น กับเครือข่ายภาคีองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของหัวข้อเรื่องที่จะดำเนินการปฏิรูป

แนวคิดและข้อเสนอเบื้องต้น ในช่วงระยะสั้นและระยะกลางของการปฏิรูป (ก่อนเลือกตั้ง และหลังเลือกตั้ง 1 ปี) ควรเร่งผลักดัน “การปฏิรูปการเมือง”(การเลือกตั้ง/การเข้าสู่อำนาจ กลไกการใช้อำนาจ การกำหนดนโยบายสาธารณะ ระบบรัฐสภาและพรรคการเมือง) เนื่องจากเป็นต้นทางที่มีผลสำคัญเชื่อมโยงต่อ “การปฏิรูปประเทศ” ในด้านอื่น ๆ และเพื่อการปรับปรุงระบบ-กติกาที่จะใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป นอกจากนี้ ควรมีการพิจารณาทบทวนและหาข้อสรุปจากข้อเสนอการปฏิรูปเรื่องต่าง ๆ ที่ได้เคยจัดทำไว้แล้ว เช่น คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปคณะกรรมการปฏิรูป สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น

สำหรับปัจจัยเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ ต่อความสำเร็จในการปฏิรูปตามแผน เส้นทางการปฏิรูปข้างต้น มีดังนี้

1.รัฐบาลที่มีภารกิจหลักเพื่อการปฏิรูป เพื่อสร้างพันธะทางการเมืองในการปฏิรูป และลดปัญหาความขัดแย้งในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้นี้

2.องค์กรเพื่อการปฏิรูปประเทศ ที่มีสถานะทางกฎหมาย เป็นที่ยอมรับร่วมกัน ทำงานได้ต่อเนื่องระยะยาว และทำงาน เชื่อมโยงกับเครือข่ายองค์กรปฏิรูปด้านต่าง ๆ

3.การสร้างพลังร่วมขององค์กรภาคประชาสังคม เพื่อสร้างพลังสังคมที่จะ ขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูป

ข้อเสนอแนวทางการจัดตั้ง “องค์กร เพื่อการปฏิรูปประเทศ” และกระบวนการปฏิรูป

ในสถานการณ์ที่ยังมีความขัดแย้ง สูงอยู่ในขณะนี้ การเร่งผลักดันจัดตั้ง “องค์กรเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย” (ไม่ว่าจะเรียกชื่อใด เช่น สภาพลเมือง สมัชชาปฏิรูป สภาปฏิรูป สภาประชาชน ฯลฯ) นำมาสู่ประเด็นข้อควรพิจารณาว่า แม้ว่าสามารถจัดตั้งขึ้นได้ แต่อาจไม่เป็นที่ยอมรับ และถูกปฏิเสธการเข้าร่วมจาก หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการปฏิเสธจากคู่ขัดแย้ง จึงควรพิจารณาทางเลือก ในการดำเนินการ ดังนี้

1.ระยะสั้น : ก่อนการเลือกตั้ง มีการดำเนินงาน 2 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 :- จัดเวทีกลาง เชิญทุกฝ่ายที่มีข้อเสนอเรื่ององค์กรเพื่อการปฏิรูป ทั้งรัฐบาล กปปส. นักวิชาการ องค์กรภาคประชาสัมคม มานำเสนอสาระเนื้อหาสำคัญของโมเดลองค์กรเพื่อการปฏิรูป เช่น องค์ประกอบของกรรมการ/สมาชิกขององค์กรเพื่อการปฏิรูป วิธีการได้มา จำนวน บทบาทหน้าที่ ฯลฯ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับรูปแบบ โครงสร้างองค์กรเพื่อการปฏิรูป โดยพิจารณาจุดแข็ง ข้อจำกัด ความเหมาะสม ของแต่ละโมเดล (แต่ไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์) ทั้งนี้ การจัดเวทีกลางอาจต้องจัดหลายครั้งเพื่อการหาข้อสรุปร่วม

- การจัดเวทีกลางอาจดำเนินการโดยสถาบันการศึกษาร่วมกับกลุ่ม 7 องค์กรธุรกิจ หรือมีการจัดตั้งเป็น “คณะกรรมการค้นหารูปแบบและกลไกการปฏิรูป” โดยเชิญตัวแทนคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย ตัวแทนพรรคการเมือง ตัวแทนวุฒิสภา ตัวแทนสถาบันการศึกษา ตัวแทนอดีตคณะ กรรมการปฏิรูป อดีตคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ฯลฯ ร่วมเป็นกรรมการ เพื่อการ จัดเวทีกลางและหาข้อสรุปร่วมกัน

- หากไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมได้ ควรมีการจัดให้ประชาชนทั้งประเทศ ได้ร่วมตัดสินใจในวันเลือกตั้ง โดยนำ ข้อเสนอโมเดลองค์กรเพื่อการปฏิรูป ที่แต่ละฝ่ายนำเสนอให้ประชาชนร่วม ตัดสินใจ ว่าจะเลือกใช้โมเดลใด หากมี เวลาดำเนินการไม่ถึง 90 วัน ไม่ควร เรียกว่าเป็นการทำ “ประชามติ” เพื่อ ไม่ให้ติดขัดปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย โดยเรียกเป็นชื่ออื่น ๆ แต่มีนัยความหมายเดียวกัน (เช่น อาจเรียกว่าการทำ “ประชากำหนด”)

ขั้นตอนที่ 2 : จัดตั้งองค์กรเพื่อ การปฏิรูปประเทศ ตามข้อสรุปร่วมที่หาข้อยุติได้ก่อนการเลือกตั้ง หรือตามผล การร่วมตัดสินใจของประชาชนทั้งประเทศในวันเลือกตั้ง

2.ระยะกลาง : หลังการเลือกตั้ง ช่วงรัฐบาลที่มีภารกิจหลักเพื่อการปฏิรูป (1 ปี)

- องค์กรเพื่อการปฏิรูปที่จัดตั้งขึ้น ทำหน้าที่ในการเสนอยุทธศาสตร์การ ปฏิรูป (วิธีดำเนินงานให้ได้ผลสำเร็จ การออกแบบจัดเวทีสมัชชารูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น) สนับสนุนเอื้ออำนวยกระบวนการปฏิรูป และร่วมทำงานกับองค์กรภาค ประชาสังคมต่าง ๆ ในการกำหนดแนวทางการปฏิรูป (ปฏิรูปเรื่องใด และมีแนวทางดำเนินการอย่างไร)

- แนวทางการปฏิรูปเรื่องใดที่สามารถหาข้อยุติร่วมได้ระหว่างภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐบาล ให้นำไปสู่การปฏิบัติ สำหรับเรื่องใดที่ไม่สามารถหา ข้อยุติร่วมกันได้ (ตัวอย่างเช่น การปฏิรูปการถือครองที่ดิน โดยการใช้ภาษีอัตราก้าวหน้าและภาษีมรดก ฯลฯ) ให้นำไปเสนอต่อประชาชนเพื่อการลง “ประชามติ” เพื่อสร้างพันธะทางการเมืองต่อการนำ ข้อเสนอการปฏิรูปไปสู่การปฏิบัติจริง

3.ระยะยาว : ช่วงรัฐบาลปกติ- องค์กรเพื่อการปฏิรูปที่จัดตั้งขึ้น ทำหน้าที่สนับสนุน เอื้ออำนวยกระบวนการปฏิรูป โดยทำงานเชื่อมโยงกับรัฐบาลปกติที่ได้จากการเลือกตั้ง

- มีการออกแบบ หรือจัดตั้ง “กลไกติดตามและสนับสนุนการปฏิรูป” เพื่อการติดตามและสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปให้เกิดผลตามข้อเสนอขององค์กรเพื่อ การปฏิรูป และผลการลงประชามติ

“การจัดทำ “กรอบเนื้อหาการปฏิรูป” ควรเป็นกระบวนการหารือทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรเพื่อการปฏิรูปที่จะจัดตั้งขึ้นกับเครือข่ายภาคีองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของหัวข้อเรื่องที่จะดำเนินการปฏิรูป”

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  29th Jan 14

จำนวนผู้ชม:  35030

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง