Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ สังคมโลก: ทรัพย์สมบัติชาติ



คอลัมน์ สังคมโลก: ทรัพย์สมบัติชาติ



เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

 เลนซ์ซูม:

อินโดนีเซีย หนึ่งในประเทศผู้ส่งออกทรัพยากรธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก เริ่มระงับการส่งออกสินแร่ทั้งหมด ตั้งแต่เที่ยงคืนวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) ที่ผ่านมา เพื่อพยายามส่งเสริมการแปรรูปภายในประเทศ แต่ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน เกิดเปลี่ยนใจในนาทีสุดท้าย ให้ส่งออกสินแร่ได้บางชนิด เพื่อบรรเทาผล กระทบต่อผู้ส่งออกรายใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี แมงกานีส และเหล็ก

ส่วนสินแร่ที่ต้องผ่านการถลุงก่อนส่งออก ประกอบด้วย บ็อกไซต์ นิกเกิล ดีบุก โครเมียม ทองคำ และเงิน

ถือเป็นหนึ่งในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจครั้งใหญ่สุด นับตั้งแต่ยูโดโยโนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน การอนุมัติคำสั่งถูกกดดันหนักไม่น้อย เนื่องจากมีกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ เข้าไปลงทุนด้านนี้ในอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก ท้ายสุดยูโดโยโนจำต้องผ่อนคลาย อย่างเช่น 2 บริษัทส่งออกทองแดงรายใหญ่จากสหรัฐคือ ฟรีพอร์ต แม็คโมแรน ค็อปเปอร์ แอนด์ โกลด์ กับ นิวมอนต์ ไมนิ่ง กรุ๊ป

อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกสินแร่นิกเกิล ดีบุกแปรรูป และถ่านหินประเภทให้ความร้อน รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นแหล่งแร่ทองแดงขนาดใหญ่อันดับ 5 ของโลก และแหล่งแร่ทองคำระดับหัวแถวของโลก

คำสั่งห้ามส่งออกที่คาดหมายกันมานาน มีจุดหมายเพื่อเพิ่มรายได้ในระยะยาวของอินโดนีเซีย จากแร่ธาตุต่าง ๆ ด้วยการบังคับให้กลุ่มธุรกิจเหมืองแร่ แปรรูปสินแร่ภายในประเทศ แต่เจ้าหน้าที่กลัวว่ารายได้เงินตราต่างชาติที่ลดลงในระยะสั้น จะทำให้ตัวเลขขาดดุลบัญชีกระแสรายวันพอกพูนขึ้นอีก หลังจากส่วนนี้บั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุน และส่งผลกระทบต่อค่าเงินรูเปียของประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว

นายเจโร วาซิค รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่อินโดนีเซีย เผยภายหลังการประชุมหารือกับประธานาธิบดียูโดโยโน และคณะรัฐมนตรี ว่า การเปลี่ยนใจ

ในนาทีสุดท้ายของประธานาธิบดียูโดโยโน จะทำให้ 66 บริษัท รวมถึง ฟรีพอร์ต และนิวมอนต์ สามารถส่งออกแร่แปรรูปได้ต่อไป โดยบริษัทเหล่านี้ได้ให้สัญญากับรัฐบาลว่า จะสร้างโรงถลุงแร่ในอินโดนีเซียในอีกไม่นาน

กลุ่มธุรกิจส่วนใหญ่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากคำสั่งห้าม คือบรรดาผู้ประกอบการเหมืองแร่รายย่อยของอินโดฯ ซึ่งมีอยู่หลายร้อยบริษัท เนื่องจากไม่มีทุนมากพอที่จะสร้างโรงถลุงแร่ ที่ต้องใช้เงินหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐได้

มูลค่าการส่งออกแร่ของอินโดนี เซียในปี พ.ศ. 2555 อยู่ที่ 10,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมด อันนี้เป็นตัวเลขข้อมูลของธนาคารโลก

ผลกระทบหนักทางเศรษฐกิจ อาจ ทำให้คำสั่งห้ามส่งออกสินแร่ กลายเป็น ประเด็นร้อนทางการเมือง ขณะที่อินโดนีเซียกำลังจะมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา และเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีนี้ ซึ่งหากบริษัทเหมืองแร่ขนาดย่อยทยอยปิดโรงงาน คนงานตกงานจำนวนมากก็เป็นเรื่อง โดยข่าวว่า แรงงานในภาคนี้ถูกลอยแพหลายพันคนแล้ว ก่อนที่คำสั่งห้ามส่งออกจะมีผล ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงในเมืองหลวงกรุงจาการ์ตาหลายรอบ

ฮวน ฟอร์ตี ซิลาลาฮี ประธานสหภาพแรงงานเหมืองแร่แห่งชาติ ออกประกาศเรียกร้องให้คนงานเหมืองแร่เตรียมตัวออกสู่ท้องถนน เดินขบวนประท้วง และบุกทำเนียบประธานาธิบดี หากรัฐบาลยังเดินหน้าดำเนินการตามคำสั่งห้ามส่งออกสินแร่.

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  20th Jan 14

จำนวนผู้ชม:  35313

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง