Sub Navigation Links

webmaster's News

รัฐ-เอกชนผนึกกำลังร่วมต้านโฆษณาขายสินค้าสุขภาพเกินจริง



รัฐ-เอกชนผนึกกำลังร่วมต้านโฆษณาขายสินค้าสุขภาพเกินจริง



บ้านเมือง : การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 ภายใต้แนวคิด ‘สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน’วันที่ 18-20 ธ.ค.นี้ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ มี 2 ประเด็นสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของ ผู้บริโภคและเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ 1.ร่างระเบียบวาระ “แผนยุทธศาสตร์ การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต” และ 2.ร่างระเบียบวาระ เรื่อง “การกำกับดูแลสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสุราและยาสูบ”

เวทีรับฟังความเห็นต่อเอกสารเชิงนโยบาย (ร่าง 1) เมื่อเร็วๆ นี้ มีการเชิญผู้แทนจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ 77 จังหวัด พร้อมด้วยนักวิชาการและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เพื่อระดมความเห็นต่อแผนยุทธศาสตร์ทั้ง 2 เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขร่างมติฉบับนี้ให้สมบูรณ์แบบ ก่อนนำไปรับฟังความคิดเห็นจากสมัชชาจังหวัดทั่วประเทศ จากนั้นจะนำเข้าที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อผลักดันไปสู่การปฏิบัติต่อไป

โดยในส่วนของการขับเคลื่อนการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ประธานในเวทีรับฟังความคิดเห็น มี ภญ.ศรีนวล กรกชกร อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับวราวุธ เสริมสินสิริ เภสัชกรชำนาญการ ให้ข้อมูลว่า ร่างแผนยุทธศาสตร์ การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต เกิดขึ้นจากมติที่ประชุมสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 ที่เร่งรัดให้เกิดการขับเคลื่อนมาตรการจัดการปัญหาโฆษณายาที่ผิดกฎหมาย ทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ตอย่างเร่งด่วน จึงมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงมาหารือ ประกอบด้วย อย. สำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กระทรวงไอซีที นักวิชาการ และเครือข่ายภาคประชาชน ตั้งเป็นคณะทำงานขึ้นมายกร่าง ก่อนเริ่มเวทีเพื่อฟังความเห็นจากประชาชนใน 4 ภาค ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และ กทม. มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 600 คน

ความเห็นทั้งหมดจึงถูกนำมาประมวลแล้วกำหนดในร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ นำเสนอมาตรการแก้ปัญหาไว้ 5 หัวข้อ ประกอบด้วย 1.การพัฒนานโยบายและโครงสร้างการบริหารจัดการปัญหาการโฆษณาที่กระทำผิดกฏหมาย 2.บูรณาการกฎหมายระหว่างหน่วยงาน ปรับปรุงกฎระเบียบและการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.พัฒนาศักยภาพวิชาชีพด้านสื่อเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 4.สร้างและพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 5.พัฒนาระบบงานสนับสนุนและเฝ้าระวัง

ทั้งนี้ เสียงจากเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมติ ได้ผู้เข้าร่วมประชุมได้สะท้อนถึงปัญหาและเสนอหัวข้อให้สำนักคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พิจารณาเพิ่มเติมเรื่องการตัดทอนวงจรเหล่านี้ตั้งแต่ระดับ “ต้นทาง” คือผู้จำหน่ายยาและอาหารเสริม พร้อมตัดตอนแนวทางการชักชวนให้ผู้บริโภคนำสินค้าไปขายต่อ รวมทั้งการควบคุมไม่ให้แพทย์ พยาบาล มาทำหน้าที่เป็น “พรีเซ็นเตอร์” สินค้าเสียเอง นอกจากนั้น ยังเสนอให้มีการลงโทษด้วยการให้ กสทช.ขึ้นบัญชีดำหรือแบล็กลิสต์ สื่อที่เน้นการโฆษณาซ้ำๆ ให้กับสินค้าเหล่านี้ด้วย

คุณอุบล หลิมสกุล คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ สะท้อนให้เห็นปัญหาการโฆษณายาและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ พบว่า ผู้ประกอบการต้องการแสดงให้เห็นว่า สินค้านั้นมีความน่าเชื่อถือ

จึงนำผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ นักวิชาการ นักวิจัย มาเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสินค้า จึงเสนอให้ระบุมาตรการเพิ่มเติม เรื่องการควบคุมดูแลบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และมุ่งเน้นจริยธรรมในวิชาชีพกลุ่มนี้ ในร่างยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวด้วย

ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของสินค้าเหล้าและบุหรี่ในป ัจจุบัน พบว่า ผู้ประกอบการได้ใช้ช่องทางโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านสื่อสารมวลชน และวิธีสื่อสารการตลาด ทำให้เกิดนักสูบและนักดื่มหน้าใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดมีการเผยแพร่การโฆษณาผ่านเฟซบุ๊ค แต่กฎหมายปัจจุบันยังดำเนินการไปไม่ถึง

นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอให้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พิจารณาให้หน่วยงานภาครัฐ จัดสรรงบประมาณการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน เพื่อยกย่องและสดุดี สื่อน้ำดี ที่ช่วยเสนอพิษภัย อันตราย ของสินค้าเหล้าและบุหรี่ เป็นการหาแนวร่วม เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ สนับสนุนพื้นที่โฆษณาแก่บริษัทเหล้าบุหรี่ รวมทั้งยังมีข้อเสนอให้ปรับหลักสูตรในโรงเรียน เพิ่มโทษของเหล้าและบุหรี่ ช่วยให้นักเรียนตระหนักถึงอันตรายเพิ่มขึ้นด้วย

ที่มา :http://www.corehoononline.com/

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  23rd Dec 13

จำนวนผู้ชม:  37136

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง