Sub Navigation Links

webmaster's News

คกก.สนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศฯ



คกก.สนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศฯ



  คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศชี้ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ส่อขัดหลักการธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ .ศ.2552 เสนอเปิดเวทีรับฟังความเห็นและรอนำมติจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปลายปีนี้ไปประกอบการพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ เมื่อต้นเดือนตุลาคม ในการประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจร จาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพที่มีนางศิรินา ปวโรฬารวิทยา โชควัฒนา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ
   เป็นประธาน นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้นำเสนอ(ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือเมดฮับ ปี 2553-2557 ที่กระทรวงสาธารณสุขรับลูกจากคำแถลงของรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ประกาศนโยบายการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ตั้งแต่ 29 ธันวาคม 2551 ร่างแผนยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าวมีวิสัยทัศน์เชิงพาณิชย์อย่างชัดเจน โดยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพระดับนานาชาติ มุ่งส่งเสริม 4 ผลผลิตหลัก คือ การให้บริการรักษาพยาบาล บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
  บริการแพทย์แผนไทยการแพทย์ทางเลือก และผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทยโดยมียุทธศาสตร์หลักคือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจสุขภาพ ส่งเสริมพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ เช่น การจัดมหกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย โดยคาดหวังว่าการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์จะช่วยพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในระดับมหภาคคือการส่งออกสินค้าและบริการ และการสร้างรายได้จากการเข้ามาใช้บริการของชาวต่างชาติ มีเป้าหมายพัฒนาธุรกิจสุขภาพให้มีสัดส่วนรายได้จากผู้รับบริการชาวต่างชาติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 รวมถึงก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ควบคู่กันไป
   คณะกรรมการฯได้แสดงความห่วงกังวลอย่างมากต่อบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข ที่ควรต้องทำหน้าที่หลักในการพัฒนาและจัดบริการสุขภาพแก่คนไทยอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีคุณภาพก่อน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยก็ยังมีปัญหาความขาดแคลนและการกระจายบุคลากรด้านสาธารณสุขอย่างไม่เหมาะสมอยู่มาก จนก่อให้เกิดความเครียดในการทำงานของบุคลากร แต่แทนที่กระทรวงสาธารณสุขจะทุ่มสรรพกำลังเพื่อจัดการปัญหา กลับไปทำหน้าที่สนับสนุนการจัดบริการธุรกิจสุขภาพ ซึ่งนอกจากจะไม่ใช่หน้าที่ ไม่ควรใช้ทรัพยากรสุขภาพของรัฐพื่อสนับสนุนธุรกิจเอกชนแล้ว สาระของร่างยุทธศาสตร์ยังส่อขัดกับหลักการตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ในหมวดที่ 6 ข้อ 43 ซึ่งระบุว่า
   “ระบบบริการสาธารณสุขต้องเป็นระบบที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และราคาไม่แพง มุ่งเน้นสนับสนุนและลงทุนในบริการและเทคโนโลยีที่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพสูง การบริการสาธารณสุขต้องเป็นไปอย่างสอดคล้องกับระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ และรัฐควรสนับสนุนระบบบริการสาธารณสุขที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่มุ่งเน้นประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก โดยไม่สนับสนุนระบบบริการสาธารณสุขที่มุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ” นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษาคณะกรรมการฯกล่าวว่า ภาครัฐไม่ควรแสดงบทบาทเป็นผู้สนับสนุนหลักในการดำเนินการดังกล่าวเพราะเป็นหน้าที่ของภาคเอกชน ที่ผ่านมานับแต่มีการประกาศนโยบายนี้มาตั้งแต่รัฐบาลก่อนๆ ภาคเอกชนก็มีศักยภาพในการดำเนินการได้เองจนเป็นที่ยอมรับในความสามารถของนานาประเทศอยู่แล้ว รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ กรรมก ารท่านหนึ่ง กล่าวว่า ยุทธศาสตร์เมดฮับที่ร่างโดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นยุทธศาสตร์เชิงพาณิชย์ทั้งสิ้น ขาดมุมมองถึงผลกระทบหรือผลที่จะเกิดขึ้นต่อบริการสุขภาพ ทั้งที่ภาระหน้าที่หลักของกระทรวงสาธารณสุขคือการป้องกันผลกระทบด้านสุขภาพที่จะเกิดแก่คนในประเทศ ซึ่งผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพก็รายงานเองว่า จากการนำแผนไปหารือกับผู้บริหารในเบื้องต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์)ก็ได้ย้ำนโยบายว่า
   “แผนฯต้องมีความชัดเจนในเรื่องมาตรการลดผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพพื้นฐานต่อคนไทย” แต่หากพลิกดูร่างแผนฯแล้วการเฝ้าระวังผลกระทบและกำหนดมาตรการเยียวยาผลกระทบ ปรากฏเพียงระดับกิจกรรมหลักโดยไม่มีรายละเอียดใดๆที่ทำให้เชื่อมั่นได้ถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ขณะที่วิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ จนถึงกิจกรรมล้วนเป็นรายละเอียดทางปฏิบัติของการด ำเนินงานสนับสนุนธุรกิจสุขภาพทั้งสิ้น ทั้งการตั้งสำนักงานบริหารแผนฯ จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรองรับการดำเนินงานด้านเมดฮับ ปรับปรุงกฎหมายเพื่อสนับสนุนธุรกิจสุขภาพและส่งเสริมช่องทางการตลาด จนถึงขั้นจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพครบวงจรของประเทศไทยที่สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นการใช้ภาษีประชาชนเพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจเอกชนอย่างชัดเจน
   และการบริการสุขภาพที่ใช้เรื่องสินค้าทั่วไปที่รัฐบาลควรสนับสนุน หรือให้โรงพยาบาลของรัฐทำแข่งกับเอกชนด้วย นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา โชควัฒนา ประธานกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศฯสรุปว่า ในฐานะที่คณะกรรมการฯชุดนี้แต่งตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน นโยบายใดๆที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและขัดต่อธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ จึงไม่ควรสนับสนุนอย่างยิ่ง ทั้งนี้คณะกรรมการจะมีหนังสือเพื่อยืนยันมติ ท่าทีและความเห็นถึงกระทรวงสาธารณ สุข และคณะกรรมการเฉพาะกิจที่มีที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี(นายกนก วงษ์ตระหง่าน)เป็นประธาน และมีภารกิจในการพัฒนาแนวทางตามนโยบายเมดฮับเช่นกัน โดยมีข้อเสนอให้เปิดเผยร่าง แผนยุทธศาสตร์ฯต่อสาธารณะ เร่งจัดกระบวนการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ตลอดจนให้รอมติในประเด็นนโยบายการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ซึ่งเป็นระเบียบวาระการประชุมหนึ่งในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 ที่จะจัดปลายเดือนธันวาคมนี้ ไปประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯด้วย โดยการพัฒนาร่างมติมีการแต่งตั้งคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็นมี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(นายแพทย์พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข) เป็นประธาน มีผู้ทำงานที่มาจากผู้แทนทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ประชาสังคม องค์กรผู้บริโภคและนักวิชาการ และยังเป็นระเบียบวาระแรกที่ภาคธุรกิจเอกชนเสนอเข้าสู่สมัชชาสุขภาพด้วย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจัดเวทีรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพทั่วประเทศ ///////////////////////////////////////////////////////
  ประสานงาน : งานสื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ท พลินี เสริมสินสิริ (แตงโม) 02-590-2307 / 089-7759281 ท เขมวดี ขนาบแก้ว (ปูน) 02-590-2301 /081-8686613 ท ธนิษฐ์ สุคนธนิกร (ต๊ะ) 02-590-2483 / 081-6160771

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  34933

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว