Sub Navigation Links

webmaster's News

โรงไฟฟ้าถ่านหิน ทางเลือกที่ต้องคิดให้รอบด้าน



โรงไฟฟ้าถ่านหิน ทางเลือกที่ต้องคิดให้รอบด้าน



 รัฐเปรัค ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียเป็นเมืองที่ค่อนข้างสงบ อยู่ท่ามกลางอ้อมกอดขุนเขา อากาศ และธรรมชาติยังคงมีอย่างเต็มเปี่ยมท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสะอาด กลับมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งใครๆ ก็กลัวผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตลอดจน ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และระบบนิเวศน์ในธรรมชาติ

เมื่อเร็วๆ นี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)ได้นำสื่อมวลชนสายสิ่งแวดล้อมบินลัดฟ้าไปดู โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน “จานามันจอง” รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย เป็นโรงงานที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงเป็นถ่านหินประเภทซับบิทูมินัส และบิทูมินัส ที่นำเข้าจากประเทศอินโดนีเชีย ออสเตรเลีย และแอฟริกา มีกำลังการผลิต 2,1000 เมกะวัตต์ ด้วยระบบการทำงานที่ทันสมัย ปฏิบัติตามกฎของธนาคารโลกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้กำหนดค่ามาตรฐานในการตรวจจับฝุ่นไม่เกิน 50% ตั้งอยู่บนพื้นที่เกาะ 2,000 ไร่ จากการถมทะเล

นายชัมซุล ฮาหมัด (Shamsul Ahmal) ผู้จัดการโรงไฟฟ้าถ่านหินมันจอง กล่าวว่า การเลือกสร้างโรงานไฟฟ้าถ่านหินที่เมืองนี้เพราะอยู่ใกล้ทะเล เนื่องจากการขนถ่ายถ่านหินต้องใช้เรือขนาดใหญ่จุดขนถ่ายเป็นทะเลน้ำลึก ห่างไกลชุมชน 10-15 กิโลเมตร อีกทั้งน้ำทะเลมีคุณสมบัติช่วยลดซัลเฟอร์ได้ดี อย่างไรก็ตาม การผลิตถ่านหินนั้นเราให้ความสำคัญกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยทำตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด สำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมทางโรงไฟฟ้าเองได้มีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัด อากาศ ซึ่งจะเป็นตัววัดมวลสารที่เกิดจากการเผาไหม้มีทั้งหมด 3 จุด โดยจุดที่ 1 ห่างจากโรงงาน 3 กิโลเมตร จุดที่ 2 ห่าง 5 กิโลเมตร และจุดที่ 3 ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงงาน รวมทั้งมีการตรวจวัดน้ำเสียโดยการสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเพื่อดักจับน้ำมัน ก่อนปล่อยลงทะเล และตรวจวัดคุณภาพเสียงอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่ทำให้สามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อาศัยความใกล้ชิด และการให้ความรู้ที่เป็นจริงอย่างรอบด้านกับชาวบ้าน จึงจะทำให้ไว้ใจรวมถึงให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์ ดูแล และแก้ไขปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญทั้งในเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลชุมชนและลูกหลานของเขาควบคู่กันไปด้วย

ความสำเร็จของโรงไฟฟ้าถ่านหินจานามันจอง ประเทศมาเลยเซีย ไม่ว่าจะใช้วิธีใดเกลี้ยกล่อมชุมชนและแกนนำแต่ก็ทำให้เขามีโรงไฟฟ้าถ่านหิน เกิดขึ้นแล้ว และจะด้วยเหตุผล หรือวัตถุประสงค์ใดก็ตามของ กฟผ.ที่พาไปดูโรงงานไฟฟ้าถ่านหินถึงมาเลเซียสิ่งที่เห็นจากการสร้างโรงไฟฟ้า ถ่านหินจานามันจอง รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย ทั้งผู้บริหารโรงไฟฟ้าและการพูดคุยกับชาวบ้านที่อยู่บริเวณโดยรอบซึ่งส่วน ใหญ่ยัง ประกอบอาชีพทำการประมงทำให้รู้ว่า นอกจากเกิดการสร้างงานให้กับชุมชนแล้ว ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังคงวิถีชีวิตเหมือนเดิม

กลับมาที่ประเทศไทยแนวคิดการสร้างโรงไฟฟ้า ถ่านหินของ กฟผ.ที่พยายามมายาวนานหลังสร้างโรงไฟฟ้าที่แม่เมาะ จ.ลำปาง โดยมอง จ.กระบี่ ซึ่งให้เหตุผลว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวมีความจำเป็นต้องใช้กระแสไฟค่อนข้างมาก ที่มีอยู่ในอนาคตอาจจะไม่เพียงพอ ประกอบกับทำเลในการขนถ่ายถ่านหินสะดวก

นายรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.มีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ โดยจะปรับปรุงจากโรงไฟฟ้าเดิมผลิตไฟฟ้า 700-800 เมกะวัตต์ และจะมีโครงการศึกษาท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายถ่านหิน โดยใช้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงเกาะปอ ในระหว่างนี้กำลังทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ไปกว่า 80% แล้ว ซึ่งการสร้างโรงไฟฟ้าฯ ครั้งนี้จะนำเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยขึ้นมาใช้กับโรงไฟฟ้า ซึ่งเรียกว่าระบบอัลตราซูเปอร์ซับเทค นิคอล เมื่อเผาไหม้แล้วถ่านหินจะกลายเป็นสะสารบริสุทธิ์ รวมทั้งจะมีระบบควบคุมการขนถ่ายถ่านหินไม่ให้ร่วงลงทะเล โดยใช้ตัวดูดคล้ายสว่านซึ่งจะทำให้มีการฟุ้งกระจายน้อยลด หรือแทบไม่มีเลย ส่วนการก่อสร้างคาดว่าประมาณ 5 ปี จะสามารถดำเนินการได้ ในเบื้องต้นต้องเข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจกับชาวบ้าน เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องผลกระทบและ ประโยชน์จากการมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน

เมื่อถามถึงโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่นพลังงานหมุนเวียน ได้คำตอบว่า พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานสะอาดจริงแต่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้น้อย เมื่อเทียบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ผู้เกี่ยวข้องต้องทำการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งระยะสั้นและระยะ ยาวอย่างรอบด้าน สิ่งสำคัญควรให้ความรู้กับชาวบ้านทุกด้านเช่นกัน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  9th Dec 13

จำนวนผู้ชม:  35935

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง