Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ กระจก8หน้า: ตรวจสุขภาพ…บนความไร้มาตรฐาน.. โดย คนขายขอบ



คอลัมน์ กระจก8หน้า: ตรวจสุขภาพ…บนความไร้มาตรฐาน.. โดย คนขายขอบ





วันก่อนในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี “พงศ์เทพ เทพกาญจนา” รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้หยิบยกเรื่องนโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชนมาหารือ ซึ่งพบข้อมูลที่น่าสนใจว่าปัจจุบันคนไทยนิยมตรวจสุขภาพ เป็นประจำทุกปีแต่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ สำหรับการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม

ขณะเดียวกัน กระแสการโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์มุ่งหวังประโยชน์ทางธุรกิจได้กระตุ้นให้ผู้บริโภครู้สึกวิตกกังวล และหันมาตรวจสุขภาพแบบครอบคลุมในทุกแพกเก็จบริการให้มากที่สุด ส่งผลให้ต้อง

เสียค่าใช้จ่ายตรวจสุขภาพแก่โรงพยาบาลสูงกว่าความเป็นจริง

อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญและไม่รับการตรวจสุขภาพที่จำเป็นอย่างเพียงพ อ ทั้งจากปัญหาความยากจน การเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุข ซึ่งมีโรคหลายชนิดที่หากตรวจพบแต่เนิ่นๆจะช่วยให้มีประสิทธิภาพในการรักษา และรักษาชีวิตผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

ด้านหนึ่งก็ตรวจสุขภาพเกินความจำเป็น อีกด้านก็ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพเลย!!!

ลองมาดูสิทธิ์การตรวจสุขภาพในระบบประกันสุขภาพกันบ้าง แยกเป็น 3 ระบบ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ จะได้รับบริการตรวจตามชุดสิทธิประโยชน์ วึ่งเป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการถึง 16 รายการ ขณะที่ระบบประกันหลักสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทองรักษาฟรีตามกฎหมายสนับสนุนให้สถานพยาบาล ตรวจค้นหา 4 โรค คือ มะเร็งปากมดลูก ภาวะซึมเศร้า กลุ่มโรคทางเมตาบอริก และการติดเชื้อเอชไอวี

ส่วนระบบประกันสังคมก็เป็น “ลูกเมียน้อย” ตามเคย เพราะผู้ประกันตนไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ชัดเจน มีเพียงการกำหนดกว้างๆให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง พร้อมจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวลุกจ้างเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติพบว่า สิทธิประกันสังคมยังขาดคุณภาพในการตรวจกรองหาความผิดปกติในร่างกายผู้ประกันตนจำนวนมากจึงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพเอง

ทั้งนี้จากข้อมูล ในปี 2554 พบว่า คนไทยต้องเสียเงินเพื่อตรวจสุขภาพเฉลี่ยรายละ 4,153 บาท โดยที่ไม่สามารถเบิกคืนได้ ซึ่งเงินที่เสียไปก็ใช่ว่าจะสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้ชีวิตได้อย่างสบายใจ เพราะมีกรณีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อยๆ

ทั้งกรณีที่ผู้ถูกตรวจสุขภาพ มีผลออกมาว่าเป็นโรคทั้งที่จริงๆแล้วไม่ได้เป็น ในทางวิชาการเรียกว่า “ผลบวกลวง” ทำให้สิ้นเปลืองและเสี่ยงที่จะได้รับการรักษาที่ไม่จำเป็น เจ็บตัวโดยใช่เหตุบางรายการกระทบจิตใตทำให้สุขภาพทรุดไปเลยก็มี

อีกกรณีคือ ผู้ตรวจสุขภาพเป็นโรคแต่ประสิทธิภาพการตรวจต่ำ ไม่มีมาตรฐาน ทำให้ไม่พบว่าเป็นโรคหรือที่เรียกว่า “ผลลบลวง” ผลเสียกลุ่มนี้อาจจะทำให้ผู้ถูกตรวจเกิดความประมาท ไม่ควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น น้ำหนักเกิน กินเหล้า สูบบุหรี่ ทำให้ดรคลุกลาม ซึ่งทั้งสองกรณียังไม่มีการกำหนดความรับผิดชอบในความผิดพลาดที่ชัดเจน

ครับ…ระบบการตรวจสุขภาพของคนไทย คงยังต้องเดินหน้าปรับแก้ สร้างมาตรฐานการควบคุม ความรับผิดชอบ การเข้าถึงอย่างถ้วนทั่วกันอีกหลายยก แค่เริ่มจัดระบบก็ปวดหัวจะแย่อยู่แล้ว แค่กๆ…ขอไปตรวจสุขภาพก่อนนะครับ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  29th Oct 13

จำนวนผู้ชม:  35869

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง