Sub Navigation Links

webmaster's News

เวทีเสวนาขอนแก่น-หนุนร่างพรบ.ผู้เสียหาย



เวทีเสวนาขอนแก่น-หนุนร่างพรบ.ผู้เสียหาย



  สมาคมผู้บริโภคขอนแก่น จับมือกลุ่มสื่อท้องถิ่น เปิดเวทีเสวนา “ทางออก” ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ หนุนให้เกิดผลบังคับใช้เพื่อสร้างความเป็นธรรม มั่นใจคดีฟ้องหมอไม่พุ่ง เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น , สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันจังหวัดขอนแก่น , สถานีโทรทัศน์โฮมเคเบิ้ลทีวี ขอนแก่น , หนังสือพิมพ์อีสานบิซวีค และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดงานเสวนา “หาทางออก”ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการใช้บริการด้านสาธารณสุข ที่โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น โดยมีวิทยากรและผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน
  โดยส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ น.พ.พิเชษฐ์ ลีละพันธ์เมธา ผอ.สปสช.เขต 7 (ขอนแก่น) ชี้แจงในเรื่อง มาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2547 พบว่าสถิติของผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุขยื่นขอรับค่าชดเชยมีอัตราเพิ่มขึ้น แต่พบว่าผู้ยื่นร้องเรียนที่ได้รับการพิจารณาหรืออยู่ระหว่างพิจารณาไปยื่นฟ้องร้องแพทย์หรือโรงพยาบาลมีจำนวนน้อย ดังเช่นในปี 2553 มีแค่ 0.44% หรือคิดเป็น 3-4 รายเท่านั้นจากผู้ยื่นเรื่องกว่า 80 ราย จึงเห็นว่าแนวโน้มการฟ้องร้องไม่ได้เพิ่มขึ้น
   อย่างไรก็ดี มีปัจจัยหลายด้านในการเยียวยา โดยเฉพาะขั้นตอนและเวลา หากมีความรวดเร็วจะช่วยได้อย่างมาก ทาง สปสช.ได้พัฒนาขั้นตอนต่างๆส่งผลให้ในเรื่องระยะเวลาได้สั้นลงกว่าในช่วงแรกๆมาก ปัจจุบันแต่ละกรณีจะใช้เวลาไม่เกิน 45 วัน ส่วนร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯก็จะขยายสิทธิครอบคลุมประชาชนมากขึ้น ทั้งในส่วนบุคคลที่อยู่ในระบบประกันสังคม กลุ่มข้าราชการ และคนทั่วไปที่ใช้สิทธิบัตรทอง น.พ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาในรายละเอียดและต้องมีการศึกษาถึงข้อดี และจุดที่เป็นปัญหา
  ซึ่งในฐานะที่ตนมีโอกาสไปศึกษางานที่ประเทศนอร์เวย์ก็พบว่ามีปัจจัยหลายด้านที่แต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน เช่น การเก็บภาษีของรัฐ ในส่วนของไทยนั้นอาจใช้การขยายมาตรา 41 ของ พรบ.ประกันสังคม ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม หรือร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯในส่วนกองทุนก็อาจให้มีการนำมาจากกองทุนสวัสดิการสังคม กรมบัญชีกลางที่ดูแลสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการมาเฉลี่ยรวมในกองทุนนี้ ด้าน น.ส.กรนุช แสงแถลง ผู้ประสานงานสนับสนุนเครือข่ายผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้แจงหลักการของร่างกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ได้รับความเสียหายทุกกลุ่ม ให้มีการเยียวยาและชดเชยที่สร้างความเป็นธรรม เพราะที่ผ่านมาผู้เสียหายได้รับความลำบากอย่างมาก และต้องใช้เวลานานในการต่อสู้ทางคดี
  เช่นกรณีที่แพทย์วินิจฉัยคนไข้หญิงรายหนึ่งว่ามีอาการเนื้องอกในช่องท้อง แต่เมื่อผ่าตัดกลับพบว่าเธอตั้งครรภ์ลูกแฝด ซึ่งคดีนี้กว่าจะจบลูกแฝดก็อายุ 7 ขวบ น.พ.เกรียงศักดิ์ วัชนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ผอ.โรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สนับสนุนร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ซึ่งในการศึกษาจากประเทศสวีเดนที่มีการตั้งกองทุนช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุข พบว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ทำให้อัตราการฟ้องร้องแพทย์ลดลง
  และที่ว่าจะทำให้ประเทศล้มละลายก็ไม่เป็นจริง ซึ่งร่างกฎหมายนี้จะช่วยคุ้มครองและขยายสิทธิของประชาชนทุกกลุ่ม ขณะที่ นายกิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ย้ำในเวทีว่า กฎหมายต้องดูหลักความเป็นธรรม ไม่ใช่ดูกระบวนการยุติธรรม และสนับสนุนร่างพรบ.ฉบับนี้ งานสื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) 02-590-2307

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  34785

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว