Sub Navigation Links

webmaster's News

คสช.หนุน (ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์



คสช.หนุน (ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์



วันนี้ (23 สิงหาคม 2553) คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้รับทราบหลักการและการดำเนินงานในเรื่อง ร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....ซึ่งกำลังเกิดกระแสความคิดที่แตกต่างกันของภาคประชาชนและภาควิชาชีพอย่างมากต่อผลดี ผลเสียของร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่๑ พ.ศ.๒๕๕๑ ตามที่ คสช.เสนอ ซึ่งในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและญาติกับบุคลากรทางการแพทย์นี้ มีมติที่ขอให้รัฐบาลและรัฐสภา พิจารณา ผลักดันให้นโยบาย “การสร้างความสมานฉันท์ในระบบการดูแลสุขภาพ” เป็นวาระสำคัญระดับชาติ โดยเร่งผลักดันการออกกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขที่อยู่ในขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้มีความเป็นธรรมกับผู้ ป่วย ญาติและบุคลากรทางการแพทย์และมีผลบังคับใช้โดยเร็ว ทั้งนี้ สช.ได้สนับสนุนให้มีการถอดบทเรียนจาก กรณีผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นจากการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลขอนแก่น หรือ “ขอนแก่นโมเดล”ซึ่งมีผู้ป่วยติดเชื้อ 11 ราย ตาบอดถาวร 7 ราย มองเห็นได้เลือนราง 3 รายหลังเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก แต่ไม่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้นเลย นับเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ โดยใช้ฐานคิดดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การขอโทษ แสดงความรับผิดชอบ และการแก้ไขสถานการณ์โดยเน้นสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งสอดค้องกับหลักการตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552ที่มุ่งส่งเสริมให้ระบบบริการทางการแพทย์เป็นระบบที่มีหัวใจของควา มเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ สช. ยังทำหนังสือเรียนประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาทราบ เพื่อพิจารณาให้การสนับสนุนการดำเนินการในขั้นตอนนิติบัญญัติเพื่อให้พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้โดยเร็วต่อไป นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงต่อที่ประชุมว่าขณะนี้มีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนทั้งฉบับ ในขณะที่อีกฝ่ายอยากให้แก้ไขบางส่วน ซึ่งได้แจ้งต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้ดำเนินการแต่งตั้งผู้แทนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 24 องค์กร แต่ละองค์กรขอเวลา 1-2 สัปดาห์ ในการหารือกันเอง จากนั้นจะมานำเสนอต่อที่ประชุมประมาณต้นเดือนกันยายน หลังจากนั้นจะนำเสนอผลสรุปการประชุมต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้กรรมาธิการนำไปประกอบการพิจารณา นอกจากนี้จะส่งไปยังประธานวุฒิสภา วิปฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลด้วย นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ยังคงอยู่ในวาระการประชุมสภาฯ วาระเร่งด่วนที่ 10 ซึ่งยังใช้ระยะเวลาตามสมควรกว่าสภา ฯ พิจารณา ซึ่งกระบวนการในการรับฟังความเห็นจะไม่กระทบต่อการเลื่อนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ด้านรศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้แทนสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาเห็นความสำคัญกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยมีการทำงานร่วมกับฝ่ายต่างๆ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2551 และมีแนวทางในการทำงานสื่อสารเพื่อให้สังคมเข้าใจเรื่องนี้ให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกล่าวว่า การผลักดันกฎหมายนี้เป็นเพียงหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ปรากฏในข้อเสนอทั้งสิ้น 11 มาตรการ เช่น การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและการเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ในสถานบริการทุกระดับ การพัฒนาศูนย์สันติวิธีของกระทรวงสาธารณสุขให้เข้มแข็งสามารถเป็นกลไกกลางแก้ไขข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี รัฐบาลร่วมกับกลไกวิชาชีพและกลไกอื่นพัฒนาระบบให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางด้านการแพท ย์ทั้งด้านจิตใจ ให้ข้อมูลและความช่วยเหลือในกรณีถูกฟ้องร้อง รวมถึงเร่งรัดให้มีระบบพี่เลี้ยงแก่บุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะบุคลากรจบใหม่ เป็นต้น สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จะร่วมขับเคลื่อนผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขต่อไป ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและญาติกับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสำคัญในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่มุ่งส่งเสริมให้ระบบบริการทางการแพทย์เป็นระบบที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ โดยจะสื่อสารข้อมูลกับผู้มีส่วนได้เสีย ให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนและถูกต้องต่อไป ประสานงาน : งานสื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ท พลินี เสริมสินสิริ (แตงโม) 02-590-2307 / 089-7759281 เขมวดี ขนาบแก้ว (ปูน) 02-590-2307 / 081-868-6613

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  35135

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว