Sub Navigation Links

webmaster's News

สพม ศึกษาดูงานพื้นที่เหมืองโปแตช จ.หนองคาย



สพม ศึกษาดูงานพื้นที่เหมืองโปแตช จ.หนองคาย




เมื่อวันที่ ๒๗ พ.ค. ที่ผ่านมา สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองกว่า ๔๐ ชีวิต ลงพื้นที่บ้านโนนสมบูรณ์ อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดหนองคาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหากรณีผลกระทบจากการทำเหมืองแร่โปแตช การขออนุญาตประทานบัตรทำเหมืองแร่ใต้ดินโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ของบริษัทเอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์บอเรชั่น จำกัดหรือ เอพีพีซี เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา  การต่อสู้คัดค้านของชาวบ้านในนามกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จังหวัดอุดรธานี จึงเกิดขึ้นโดยการรวมตัวของชาวบ้านพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

กลางศาลาการเปรียญ วัดอรุณธรรมรังสีหรือวัดโนนสมบูรณ์ ภาษาถิ่นของแม่มณี บุญรอดแกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี กล่าวต้อนรับคณะสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง พร้อมเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของการคัดค้าน ที่ยาวนานกว่า ๑๒ ปี

         ตั้งแต่เหตุการณ์ปักหมุดรังวัดเขตสัมปทาน ที่แม่มณี เล่าว่าตอนที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯมาทำการปักหมุดในพื้นที่ ชาวบ้านไม่เคยรู้เลยว่าเขามาทำอะไร แต่แม่มณีเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของที่ดิน” จากนั้นชาวบ้านจึงร่วมกันหาข้อมูลเชิงลึกเพื่อใช้ในการคัดค้าน พร้อมทั้งพยายามหาแนวทางที่จะให้บริษัทฯได้นำเสนอข้อมูลที่แท้จริง ของการทำเหมืองแร่ใต้ดิน  แม่มณีเล่าต่อว่า “พอโครงการเหมืองแร่โปแตชเข้ามา บ้านโนนสมบูรณ์ ก็เกิดความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย คนที่อยากได้เหมืองก็เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้นลูกหลานจะได้มีงานทำ คนที่คัดค้านก็บอกว่าขนาดดินที่ขุดขึ้นมากองอยู่ที่ลานวัดหญ้ายังไม่ขึ้นเลยแล้วถ้าดินมันเค็มขึ้นมา ทำนาไม่ได้แล้วจะทำอะไรกิน”นั่นเป็นเพียงบางส่วนของการบอกเล่าของแม่มณี ที่พรั่งพรูออกมาด้วยความคับข้องใจแต่วิกฤติก็เปลี่ยนเป็นโอกาส กระบวนการการมีส่วนร่วมที่คนโนนสมบูรณ์ร่วมกันสร้างให้เห็นเป็นรูปธรรมก็เกิดขึ้น พ่อสมยศ นิคำ หนึ่งแกนนำของกลุ่มฯเล่าให้ฟังว่า “ชาวบ้านมองเห็นว่าการต่อสู้คัดค้าน

         การสร้างเหมืองแร่โปแตช ครั้งนี้ยาวนานแน่ เงินที่ใช้ในการเคลื่อนไหว การศึกษาข้อมูล การจัดทำสื่อต่างๆคงต้องใช้อีกมากมาย กลุ่มฯจึงร่วมกันหารือกันว่า น่าจะหาทุนร่วมกันด้วยอาชีพที่ถนัดนั่นคือทำนา พ่ออุเทน บุญรอด จึงได้ยกที่นา จำนวน ๒๐ ไร่ให้กับกลุ่มฯ ใช้ทำนารวม ในปีแรก โดยชาวบ้านลงแขก ลงแรงทำนาร่วมกัน กระทั่งได้ข้าวมาขาย เพื่อใช้เป็นทุนในการเคลื่อนไหว นารวมบ้านนาสมบูรณ์ปีถัดๆมา ก็พี่น้องชาวบ้านได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันยกพื้นที่ให้กับกลุ่มฯทุกๆปี” พ่อสมยศเล่าต่ออีกว่า “นอกจากนารวมแล้ว ชาวบ้านยังรวมกันตั้ง กลุ่มออมทรัพย์ โดยสมาชิกสามารถถือหุ้นๆละ ๑๐ บาทไม่เกิน ๒๐ หุ้นต่อคน ปัจจุบันมีเงินออมรวมราว สองแสนบาท

โรงเรียนฮักถิ่นคือโรงเรียนที่บรรดาพ่อ แม่ ลุง ป้า ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาสอนลูกหลาน บอกเล่าถึงรากเหง้าของคนบ้านโนนสมบูรณ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชน รักถิ่นฐานบ้านเกิดของเขาเอง” วิทยุชุมชนบ้านโนนสมบูรณ์คือกระบอกเสียงและแหล่งข้อมูลของชุมชน ซึ่งอาศัยพื้นที่ของวัดอรุณธรรมรังสีหรือวัดบ้านโนนสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งสถานี และที่สำคัญที่สุด กลุ่มฯมีการประชุมปรึกษาหารือกันทุกอาทิตย์เพื่อให้ทุกคนรับรู้ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน”

ในช่วงท้ายของการศึกษาดูงานนายกษิดิ์เดชธนธัต เสกขุนทด รองประธานสภาพัฒนการเมืองคนที่ ๑ กล่าวขอบคุณชาวบ้านที่ให้โอกาส สพม มาศึกษาเรียนรู้ ซึ่งทำให้เห็นว่าชาวบ้านสามารถจัดการตนเองได้ กระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านที่เกิดขึ้น เพื่อปกป้องสิทธิชุมชน นั้นมีรูปธรรมที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้จะนำข้อมูลที่ได้รับในครั้งนี้เสนอต่อที่ประชุมสภาพัฒนาการเมือง ที่จะจัดขึ้นที่จังหวัดหนองคาย ในวันที่ ๒๘ พ.ค.นี้ ต่อไป

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  12th Jun 13

จำนวนผู้ชม:  35105

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง