Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ Wealth Planner:  แผนการดูแลล่วงหน้า โดย ธีระ ภู่ตระกูล CFP : นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย



คอลัมน์ Wealth Planner:  แผนการดูแลล่วงหน้า โดย ธีระ ภู่ตระกูล CFP :  นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย



กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ธีระ ภู่ตระกูล CFP : นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย

 

คุณยายของผมเสียไปเมื่อสองปีที่แล้วตอนที่ มีอายุครบ 101 ปี ท่านเป็นคนหนึ่งที่ทำบุญมามากในชาติก่อน เพราะสามารถ ผ่านชีวิตในช่วงสงครามโลกถึงสองครั้ง ท่านได้มีโอกาสเห็นมนุษย์คนแรกเดินบนดวงจันทร์ และที่สำคัญที่สุด ท่านได้มีโอกาสใช้เวลาอันมีค่ากับเหลนของท่านหลายคน เป็นโอกาสที่ไม่กี่คนจะได้รับ โดยรวม ท่านได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข นอกเหนือจากในช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายของชีวิตท่าน เมื่อท่านต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อจะมีชีวิตอยู่ต่อ


ในช่วงดังกล่าว ลูกหลานของท่านได้ถกเถียงกันหลายครั้งเกี่ยวกับการวางแผนหลังจากที่ท่านเสีย ชีวิตแล้ว (end of life planning) และการตัดสินใจที่ยากเย็นเกี่ยวกับการให้ท่าน ดับชีพตามธรรมชาติ หรือจะยืดชีวิตของท่านโดยการใช้เครื่อง ช่วยหายใจต่อไป ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก


ในช่วงดังกล่าว คุณยายของผมก็กลายเป็น ‘เจ้าหญิงนิทรา’ ไปแล้ว ไม่มีโอกาสที่ท่านจะบอกว่า ท่านอยากไปจากโลกนี้อย่างไร ในที่สุด คุณน้าของผมตัดสินใจที่จะใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อประทังชีวิตของท่าน โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น การตัดสินใจเช่นนี้ ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ทำให้รู้สึกผิดน้อยที่สุด เพราะครอบครัวของเรามีทรัพย์สินพอที่จะทำทุกอย่างเพื่อยืด ชีวิตของคุณยายต่อไป เราคงจะไม่มีวันรู้ว่า คุณยายของผมต้องการให้เราทำในสิ่งที่เราทำหรือไม่ แต่ลองคิดถึงครอบครัว ที่ไม่มีทรัพย์สินมาก พวกเขายังจะตัดสินใจแบบเดียวกับครอบครัวของผมหรือไม่

วิธีหนึ่งที่จะเตรียมการสำหรับกรณีดังกล่าว คือที่นักวางแผนการเงินจะเรียกว่า “แผนการดูแลล่วงหน้า (advance care planning)” ซึ่งเริ่มด้วยการแต่งตั้งใครสักคนที่คุณไว้ใจให้เป็นผู้ที่ตัดสินใจแทนคุณ และที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน คุณจะต้องพูดคุยกับบุคคลที่คนเจาะจงจะให้เป็นผู้ดูแลคุณ (health care agent) อาทิ คู่สมรส ญาติสนิท หรือเพื่อนสนิท ถึงสิ่งต่างๆ ที่คุณต้องการ


คุณต้องการใช้ชีวิตหรือให้ดูแลอย่างไรเมื่อ คุณไม่สบาย และภายใต้กรณีใดที่คนประสงค์จะตายเป็นต้น สุดท้าย อาจจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหากคุณยกร่างหนังสือแสดงความประสงค์ของคุณใน รูปแบบคล้ายกับหนังสือแสดงเจตนารมณ์ ใน การจัดการชีวิต (Living Will) คุณต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการยกร่างหนังสือแสดงเจตนารมณ์ในการจัดการ ชีวิต เพราะส่วนมากการเขียนคำสั่ง ที่ไม่ชัดเจนอาจไม่มีความหมายและค่าของกระดาษที่เขียนลง ไป หนังสือดังกล่าวมักจะมีการแสดงเจตนารมณ์ให้กับแพทย์ที่ดูแลรักษาคุณในกรณี ที่คุณป่วยแบบใกล้ตาย (terminal illness) แต่ความหมายของการป่วยดังกล่าวจะแตกต่างกันพอสมควร ซึ่งอาจหมายถึงคุณสามารถจะมีชีวิตอยู่ได้อีก 1 ชั่วโมง ถึง 6 เดือน


นอกจากนี้ หนังสือแสดงเจตนารมณ์มักจะถูกยกร่างขึ้นหลายปีก่อนที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหา เนื่องจาก เมื่อคนเรามีอายุสูงขึ้น เรามักจะเปลี่ยนใจ/เปลี่ยนความคิด เกี่ยวกับสิ่งที่เราสามารถยอมรับได้ โดยเฉพาะเมื่อเราต้อง เผชิญกับการป่วยหนัก ด้านล่างจะเป็นประเด็นต่างๆ ที่คุณอาจต้องพิจารณาสำหรับหนังสือแสดงเจตนารมณ์ในการจัดการชีวิตของคุณ


มีวิธีการรักษารูปแบบใดที่คุณต้องการรับหรือไม่รับ


หากหัวใจคุณหยุดเต้น ภายใต้กรณีใดที่คุณต้องการให้แพทย์ใช้ CPR (การปั๊มหัวใจ) ในการช่วยคุณฟื้นคืนชีพ


คุณต้องการได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วย ต่างๆ หรือไม่ อาทิ เครื่องช่วยหายใจ (ปอดเหล็ก) ยาปฏิชีวนะ หรือการสอดสายยางเพื่อให้อาหาร หรือต้องการใช้เป็นการชั่วคราว และ หยุดใช้หาก ไม่มีพัฒนาการใดๆ เกิดขึ้น คุณต้องการรับการรักษาเหล่านี้ไม่ว่าคุณมีสภาพร่างกายอย่างไร เป็นการชั่วคราว หรือไม่รับการรักษาเลย


ในปัจจุบัน นักวางแผนการลงทุนส่วนมากจะแนะนำให้คนที่มีอายุเกิน 18 ปี อย่างน้อยควรจะระบุคนที่ต้องการให้ดูแลและตัดสินใจแทนคุณ อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่า คุณจะอายุเท่าไร นอกจากนี้ พัฒนาการด้านการแพทย์ทำให้การเสียชีวิตจากหลอดเลือดอุดตันในสมอง (stroke) โรคเกี่ยวกับหัวใจ และมะเร็ง จะเริ่มลดน้อยลง


ซึ่งหมายความว่า คนเราอาจต้องเผชิญกับการเป็นโรค Alzheimer และโรคหลงลืมรูปแบบอื่น จากการศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ในสหรัฐ ที่มีอายุสูงกว่า 60 ปี ประมาณ 4,000 คน พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ไม่สามารถที่จะตัดสินใจใดๆ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ในปัจจุบันจะมีโอกาสสูงขึ้นที่ร่างกายของเราจะมีอายุยืนกว่าสมอง/สติปัญญา ของเรา ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เมื่อยกร่างหนังสือแสดงเจตนารมณ์ในการจัดการชีวิตของคุณ คุณจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณ สำหรับบางคน สิ่งนั้นเป็นเพียงแค่การมีชีวิตอยู่ สำหรับคนอื่น อาจเป็นการที่คุณสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ คุณอาจจำเป็นต้องยึดมั่นความเชื่อทางศาสนาบางอย่าง หรือคุณอาจจะไม่ชอบโรงพยาบาล และอยากนอนตายที่บ้าน ก็เป็นได้


Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  19th May 13

จำนวนผู้ชม:  36400

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง