Sub Navigation Links

webmaster's News

เร่งผลิต 'แพทย์เฉพาะทาง'เน้นกระจายและตรงความต้องการ เตือนอีก10ปีขาดแคลนหนัก



เร่งผลิต 'แพทย์เฉพาะทาง'เน้นกระจายและตรงความต้องการ  เตือนอีก10ปีขาดแคลนหนัก



คณะกรรมการกำลังคนฯ ประเมินสภาพสังคมเปลี่ยน ทำปัญหาสุขภาพคนไทยพุ่งพรวด เสนอแนะเร่งสนับสนุนเพิ่มจำนวนแพทย์เฉพาะทางที่จำเป็นกับระบบบริการสุขภาพ ทั้ง อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และประสาทศัลยแพทย์ ที่ยังขาดแคลนมาก พร้อมเร่งเพิ่มปริมาณแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ช่วยคัดกรองผู้ป่วย พร้อมเร่งกระทรวงสาธารณสุขสางปัญหาจากนโยบายP4Pโดยเร็ว


การประชุมคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2556 เมื่อเร็วๆนี้ ที่มีนพ.มงคล ณ สงขลา เป็นประธาน ได้พิจารณารายงาน "การวิจัยเพื่อคาดการณ์กำลังคนด้านสุขภาพกรณีความต้องการแพทย์เฉพาะทางของการให้บริการสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิในประเทศไทย" ของ ศ.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย และดร.พุตตาน พันธุเณร จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนที่เพียงพอ ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ตามแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพ เนื่องจากมีข้อมูลของแพทยสภาในปี 2554  พบว่าในประเทศไทยมีแพทย์ทั้งสิ้42,890 คน เป็นแพทย์เฉพาะทาง 25,185 คนคิดเป็นร้อยละ 59 เท่านั้น ขณะที่แนวโน้มของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และการเกิดโรคใหม่สูงขึ้น จึงคาดว่าแพทย์เฉพาะทางที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอ นอกจากนั้นยังพบปัญหาด้านการกระจายและการผลิตแพทย์เฉพาะทางไม่สอดคล้องกับความต้องการของระบบบริการด ้วย  ขณะที่มีแพทย์สมัครเข้ารับทุนการศึกษาต่อเฉพาะทางต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของโควตาที่กระทรวงสาธารณสุขจัดสรรในแต่ละปี  และมีแพทย์ทั่วไปที่ย้ายออ กจากชนบทจำนวนมากเพื่อศึกษาต่อเฉพาะทาง แต่ส่วนใหญ่ก็เลือกจะอยู่ในโควตาอิสระ เพื่อไม่ต้องมีภาระผูกพันชดใช้ทุนเมื่อสำเร็จการศึกษา ยังไม่รวมสาขาที่เลือกไม่ตอบสนองระบบบริการสุขภาพด้วย

              

         ผลงานวิจัยคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือปี พ..2562 แพทย์เฉพาะทางจะขาดแคลนไม่เพียงพอในเกือบทุกสาขา ได้แก่ อายุรแพทย์ คาดว่าขาดแคลน 4,044 คน ,  ศัลยแพทย์ ขาดแคลน 1,855 คน , วิสัญญีแพทย์ ขาดแคลน 1,348 คน และประสาทศัลยแพทย์ ขาดแคลน 340 คน ที่สำคัญคือ ต้องเพิ่มจำนวนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งจะมีบทบาทในการคัดกรองโรคของผู้ป่วยก่อนส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทาง เนื่องจากพบปัญหาผู้ป่วยส่วนใหญ่เรียกร้องพบแพทย์เฉพาะทางทันที ทั้งที่บางกรณีไม่ได้ป่วยรุนแรงหรือเร่งด่วน กลายเป็นภาระของแพทย์เฉพาะทางโดยไม่จำเป็น ดังนั้น การเพิ่มแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ยังขาดแคลน 5,600 คน จะช่วยเสริมศักยภาพของโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ลดภาระงานของสถานพยาบาลระดับตติยภูมิได้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการฯเห็นว่า รัฐต้องกล้าปรับระบบบริการสุขภาพให้ผู้ป่วยทุกคนต้องผ่านการรักษาและคัดกรองจากแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวก่อน จึงจะส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางที่เหมาะสมและจำเป็นเท่านั้น ไม่ใช่ระบบปัจจุบันที่ใครอยากไปหาแพทย์เฉพาะทางก็ตรงเข้าไปขอรับบริการได้ ระบบบริการสุขภาพที่มีแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวเป็นด่านหน้า คือการสร้างระบบ “หมอประจำครอบครัว” นี้สอดคล้องกับเป้าหมายระบบสุขภาพของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 จะเป็นการสร้างคุณค่าและดึงดูดให้เรียนแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวมากขึ้นได้


ที่ประชุมคณะกรรมการกำลังคนได้มีมติให้ส่งผลการศึกษาและข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อสนับสนุนการเพิ่มแพทย์เฉพาะทางที่จำเป็นและจะขาดแคลนในอนาคต ได้แก่ อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ประสาทศัลยแพทย์ สูตินรีแพทย์และเวชปฏิบัติครอบครัวไปให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ แพทยสภา ราชวิทยาลัยแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อร่วมกันวางแนวทางในการผลิตและสร้างแรงจูงใจให้มีการศึกษาแพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้น ซึ่งข้อเสนอแนะดังกล่าว ประกอบด้วย ข้อเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขในการเพิ่มจำนวนทุนแพทย์เฉพาะทาง การจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการผลิต รวมถึงการทบทวนและเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษแก่แพทย์เฉพาะทางที่ขาดแคลนบางสาขาเพื่อเพิ่มแรงจูงใจด้วย


สำหรับเรื่องการปรับค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข หรือ P4P นั้น ภายหลังรับฟังการชี้แจงของนพ.สุพรรณ  ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หนึ่งในกรรมการแล้ว ที่ประชุมได้มีมติร่วมแสดงความวิตกกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายที่อาจทำให้กำลังคนด้านสุขภาพที่ทำงานในชนบทที่ปัจจุบันมีปัญหาความขาดแคลนอยู่บ้าง จะวิกฤติยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกำลังคนทางด้านการแพทย์ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการดูแลสุขภาพของประชาชนในชนบท จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขรีบพิจารณาและแก้ปัญหาให้เสร็จสิ้นโดยเร็วด้วยการรับฟังความเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วย  

 

ที่ประชุมฯ ยังได้พิจารณาข้อเสนอ "การจัดทำแผนพัฒนากำลังคนเพื่อการดูแลสุขภาพในชุมชน" เนื่องจากอัตราส่วนผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเรื้อรังต่อประชากรเพิ่มขึ้น แต่กำลังคนของผู้ช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านหรือในชุมชนไม่เพียงพอ เนื่องจากการผลิตยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย บางรายศึกษาจบแล้วเมื่อไปทำงานก็ลาออก เนื่องจากงานดูแลผู้ป่วยประจำบ้านเป็นงานหนักและมีความเครียดสูง จึงเห็นควรให้มีการถอดบทเรียนจากท้องถิ่นและชุมชนที่ประสบความสำเร็จเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป

              
ปัจจุบันกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ผลิตอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการมีหลักสูตรผลิตผู้ช่วยดูแลผู้ป่วยใช้เวลาเรียน 420 ชั่วโมง ขณะนี้ พม.อยู่ระหว่างการพิจารณาโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบ ซึ่งควรมีระบบการคลังที่รองรับและให้วิทยาลัยพยาบาลในท้องถิ่นหรือภาคเอกชนเข้ามาร่วมรับผิดชอบดูแลชุมชนต่อไปด้วย

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  8th May 13

จำนวนผู้ชม:  36567

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง