Sub Navigation Links

webmaster's News

กมธ.สธ.จี้เลิกใช้แร่ใยหินกระทบสุขภาพ



กมธ.สธ.จี้เลิกใช้แร่ใยหินกระทบสุขภาพ



 ในภาพ : ภาคเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย รวมตัวหน้ากรมควบคุมโรค สธ. ยื่นหนังสือคัดค้านการใช้แร่ใยหิน และขอให้แบนการนำเข้าแร่ใยหิน ต่อนพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดสธ. ในฐานะ ประธานคณะกก.ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน เช้าวันนี้

 มาตรการขับเคลื่อน “สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 ที่เห็นชอบตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงการปฏิบัติตามมติครม.ดังกล่าว ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ศึกษาแผนการยกเลิก นำเข้าและผลิตแร่ใยหินไครโซไทล์ให้กระทรวงอุตสาหกรรม

 รายงานการประชุมของกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ระบุว่า ปัจจุบันมีผลศึกษาในระดับโลกที่ชี้ถึงอันตรายจากแร่ใยหินว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับปอด จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ยกเลิกการนำเข้า ผลิตและใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ซึ่งผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขและ สช.ได้นำเสนอข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศ ที่เอกสารทางการชี้ชัดถึงอันตรายของแร่ใยหิน อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (International Agency for Research on Cancer: IARC) ระบุชัดว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง และวิธีการป้องกันอันตรายดีที่สุดคือการยกเลิกการใช้ ขณะที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ก็ได้แสดงจุดยืนเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในการใช้แร่ใยหินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

 นายแพทย์สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประชุมอาชีพและสิ่งแวดล้อมผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเยื่อหุ้มปอด มะเร็งปอด หรือโรคปอดอักเสบจากแร่ใยหินที่เกิดจากการทำงาน ถึง 90,000 คน และมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวจากการสัมผัสแร่ใยหินโดยไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงอีกหลายพันคน ซึ่งร้อยละ 54 ของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งจากการทำงานป่วยเป็นมะเร็งจากแร่ใยหิน หรือใยหินถือเป็นอันดับหนึ่งของสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งจากการทำงาน นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้ที่มีโอกาสรับฝุ่นแร่ใยหินและสูบบุหรี่ร่วมด้วยจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดจากแร่ใยหินขึ้นได้สูงถึง 80 เท่า โดยมีการคาดการณ์ในภาพรวมของประเทศไทยว่า หากประเทศไทยยังไม่มีการดําเนินการใดๆ ในอนาคตจะมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดสูงถึงประมาณ 1,100 ราย ต่อปี

 นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ให้ข้อคิดเห็นว่า หากผลการศึกษาวิจัยระดับนานาชาติปรากฏชัดเจนมาเป็นระยะเวลาถึง 70-80 ปีแล้วว่า แร่ใยหินเป็นสารก่อมะเร็งที่อันตรายต่อสุขภาพ ประเทศไทยก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเสียเวลาศึกษาวิจัยเรื่องเดียวกันซ้ำอีกเนื่องจากจะยิ่งทำให้การดำเนินงานล่าช้าออกไป โดยเห็นว่า การอ้างเหตุผลว่าจะต้องรอผลการพิสูจน์ว่าคนไทยเป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหินและเสี ยชีวิตจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้นเท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้คนไทยสัมผัสแร่ใยหินมากยิ่งขึ้น เพราะโรคดังกล่าวมีระยะเวลาฟักตัวนาน และยังมีข้อจำกัดสำคัญของระบบเก็บข้อมูล ติดตามผู้ป่วย และเทคโนโลยีการตรวจที่ซับซ้อน ราคาสูงทำให้วินิจฉัยได้ยาก

 พลอากาศตรี นายแพทย์เฉลิมชัย เครืองาม โฆษกคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตต่อแผนการยกเลิกการนำเข้าและการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอในประเด็นที่มาของตัวเลขจำนวน 5 ปีที่มีการเสนอขอให้ยกเลิกการใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เนื่องจากเห็นว่าการยกเลิกการใช้แร่ใยหินเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมควรพิจารณาให้รอบคอบ

 คณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้พิจารณาแล้วต่างมีความเห็นพ้องกัน ซึ่งได้ข้อสรุปว่าประเทศไทยควรยกเลิกการใช้แร่ใยหิน โดยเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่คณะกรรมาธิการฯ จะทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้เร่งการดำเนินงาน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการเห็นว่าการยกเลิกสามารถใช้เหตุผลของต่างประเทศประกอบการพิจารณาได้โดยไม่ควรต้องรอให้มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดเพิ่มขึ้นในประเทศไทยก่อน เนื่องจากโรคดังกล่าวมีระยะเวลาฟักตัวนานและตรวจวินิจฉัยได้ยาก ประกอบกับประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถนำวัสดุทดแทนที่ปลอดภัยกว่าแร่ใยหินมาใช้ได้แล้ว

ที่มา : http://www.posttoday.com

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  17th Apr 13

จำนวนผู้ชม:  37018

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง