webmaster's News
![]() |
![]() |
![]() |
กลุ่มแรงงานหญิง เสนอสปส.ทำงานเชิงรุก พร้อมแถลงเตรียมพร้อมรณรงค์ 8 มีนา![]() กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี และเครือข่ายถกประเด็นการเข้าถึงสิทธิประกันสังคม เสนอให้ทำงานเชิงรุกและป้องกันแทนการตั้งรับ พร้อมรวมตัวรณรงค์ 8 มีนานี้ พร้อมข้อเสนอ 3 ข้อต่อนายกหญิง 1. เพิ่มจำนวน ศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กในบริเวณย่านอุตสาหกรรม 2. ให้สัตยาบัน อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 183 เรื่อง การคุ้มครองความเป็นมารดา 3. เพิ่มมิติผู้หญิงในระบบประกันสังคม โดยขยายการประกันสังคมให้ครอบคลุมคนทำงานทุกกลุ่ม เพิ่มสิทธิประโยชน์ ในการเสวนา สะท้อนปัญหาแรงงานหญิงกับการเข้าถึงสิทธิประกันสังคม และสวัสดิการสังคม วันที่ 6 มีนาคม 2556 ณ.ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน กรุงเทพฯ กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนหญิง นางสาวอุบล ร่มโพทอง อดีตคนงานไทยเกรียง กล่าวว่า การเรียกร้องกฎหมายประกันสังคมเดิมเรียกร้องมาตั้งแต่ปี 2533 ได้สิทธิมา 3 กรณี เจ็บป่วย ทุพพลภาพ และตาย กว่าจะเรียกร้องได้สิทธิประโยชน์มาอีก 7 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ว่างงาน ชราภาพ และตาย ก็ต่อสู้กันมานาน ซึ่งหลังจากตกงานได้มาใช้มาตรา 39 เป็นการประกันตนเอง รับสิทธิประโยชน์ 6 กรณีโดยยกเว้นสิทธิกรณีว่างงาน ช่วงที่ออกจากงานมานั้นเดิมมีปัญหาเรื่องการใช้สิทธิประกันสังคม
คนงานไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมอ้างว่า
นายจ้างขาดการส่งเงินสมทบ
ส่งผลให้คนงานต้องรณรงค์ต่อสู้กว่าจะได้สิทธิกลับมาใช้เวลาถึง 2 ปีเต็ม
ปัจจุบันได้เข้าระบบประกันสังคมมาตรา 39 ซึ่งต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432
บาท ภายใต้ที่ไม่มีนายจ้าง และตกงาน และกลายเป็นผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม
โดยแพทย์โรงพยาบาลประกันสังคมได้สั่งตรวจครบจึงพบ กรณีการที่ตนเองป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ที่สามารถตรวจพบได้เร็วอาจเป็นเพราะมีการปรึกษากับเพื่อนๆที่มีความรู้ แต่หากตรวจตามขั้นตอนที่มีการตรวจสุขภาพปกติคงจะไม่ทราบว่าป่วยเป็นมะเร็ง เนื่องจากระบบประกันสังคมไม่มีระบบการเฝ้าระวังหรือตรวจสุขภาพประจำปีที่ครบ วงจรสำหรับผู้ประกันตน การตรวจสุขภาพของโรงงานก็จะตรวจเอ็กซเรย์ปอด ตรวจเลือดซึ่งไม่ตรวจอะไรมากมายทำให้ไม่พบอาการที่ป่วยภายในของผู้ประกันตน และหากต้องการที่จะตรวจไปเพิ่มเติมต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก ตนทำงานมาตั้งแต่อายุ 17-60 ปี ทางเจ้าหน้าสำนักงานประกันสังคมก็จะชวนให้ลาออกจากระบบ ซึ่งจะได้รับเงินบำเหน็จประมาณ 6 หมื่นบาท ซึ่งขณะนี้กองทุนประกันสังคมกำลังจะขยายการรับสิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพ ออกไปเป็นอายุ 60 ปี สิ่งที่อยากถามสำนักงานประกันสังคทม คือปัญหาที่พบหากผู้ประกันตนมาตรา 39 ไม่จ่ายสมทบติดต่อกัน 3 เดือนก็จะถูกตัดสิทธิแต่หากนายจ้างที่ละเลยการจ่ายเงินสมทบห้กับลูกจ้างทั้ง ที่เก็บเงินจากลูกจ้างแล้ว กลับไม่ถูกลงโทษใดๆ และการที่นายจ้างไม่นำเงินส่งสมทบนั้น กระทบกับสิทธิลูกจ้างในการเข้าถึงสิทธิ และขาดสิทธิอีกเช่นกัน นางสาวอารมย์ บุญสม อดีตคนงานตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ อายุ 55 ปี กล่าวว่า ขณะนี้เกษียณอายุแล้วกำลังจะไปใช้สิทธิประโยชน์ประกันสังคมกรณีบำเหน็จ ชราภาพหลังจากเกษียณอายุ และถูกเลิกจ้างเมื่อปี 2555 โดยที่นายจ้างไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่เมื่อไปรับเงินบำเหน็จชราภาพ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าได้สิทธิไม่ครบจะจ่ายเงินบำเหน็จให้เพียง 3 หมื่นกว่าบาทเท่านั้น หากได้เต็มตามสิทธิ์ก็จะได้รับราว 5 หมื่นกว่าบาท เจ้าหน้าที่อ้างว่า นายจ้างจ่ายสมทบไม่ครบ มีการเว้นวรรคการส่งสมทบเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่อง จึงทำให้ต้องเสียสิทธิ จึงยังไม่ขอรับสิทธิประโยชน์กรณีบำเหน็จชราภาพ สิ่งที่สงสัยคือ ทำไมนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบทั้งที่หักเงินจากลูกจ้างทุกเดือน แล้วทำไมประกันสังคมไม่ทำอะไรกับนายจ้าง ทางกฎหมาย และลูกจ้างทำผิดอะไรจึงต้องเสียสิทธิ นางอ้อยใจ คนทำงานบ้าน กล่าวว่า เป็นผู้ประกันตน ช่วงที่ทำงานเป็นแม่บ้านโรงงาน เมื่อท้องต้องลาออกจากงานเพราะทำงานไม่ไหว และเมื่อคลอดลูกจะได้ดูแลลูกได้ ขณะนี้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ซึ่งดีที่มีระบบประกันสังคมดูแลช่วงที่คลอดลูก หลังจากคลอดลูกเลี้ยงลูกเองมาโดยตลอด เพราะอยากอยู่ใกล้ลูก หากส่งลูกกลับไปบ้านก็จะได้รับผลกระทบทางจิตรใจแน่ ตอนนี้ค่าใช้จ่ายมาจากรายได้สามี และหากไปฝากลูกไว้กับศูนย์รับเลี้ยงเด็กคงลำบากเพราะค่าใช้จ่ายสูง ขณะนี้ได้เงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 400 บาทเท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอในการใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูก และจะได้รับสิทธินี้เพียง 6 ปีเท่านั้น ซึ่งตนคิดว่า จะสามารถหางานทำได้ในช่วงที่ลูกเข้าเรียนหนังสือ นายไพรัตน์ ลออเงิน พนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง กล่าวว่า ภรรยาต้องคลอดบุตรด้วยการผ่าตัด ตนจึงต้องลาไปดูแลภรรยาและลูก เพื่อทำหน้าที่ดูแลลูกซึ่งยังเป็นเด็กอ่อน ภรรยายังเจ็บแผลอยู่ การดูแลลูกต้องเป็นหน้าที่ของตนที่เป็นสามี แต่วันลาก็จะหมด ลาบ่อยมากก็ไม่ได้เมื่อต้องไปทำงานเลยต้องใช้วิธีการเตรียมอาหาร อุปกรณ์ปั้มนมไว้ให้กับภรรยาเพื่อไม่ให้เหนื่อยมาก และกลับบ้านก็ต้องรีบซักผ้าอ้อม เสื้อผ้าให้ภรรยา รู้สึกเป็นห่วงสงสารเพราะภรรยายังไม่แข็งแรงพอ ประเด็นที่อยากเสนอต่อรัฐคืออยากให้ผู้ชายที่เป็นพ่อมีสิทธิในการลาช่วย ดูแลลูกช่วยภรรยาด้วย เพราะปัจจุบันที่ได้รับสิทธิมีเฉพาะ่ข้าราชการ แม้ว่าพ่ออาจไม่สามารถที่จะดูแลลูกได้ดีเท่าแม่แต่เราต้องการที่จะช่วยดูแล ภรรยา ทำงานบ้านที่ภรรยาเคยทำหาอาหารให้ภรรยาทาน และผู้หญิงที่คลอดลูกใหม่ๆ หากต้องเดินขึ้นลงบันได หรือทำงานหนัก เช่นต้องทำอาหาร ซักผ้า จะเกิดผลกระทบร่างกาย มดลูกในอนาคต จึงอยากให้มีกฎหมายที่ให้ผู้ชายลาไปช่วยดูแลลูกได้ นายแพทย์พูลชัย จิตอนันต์วิทยา กล่าวว่า สิทธิของผู้หญิงไทยต้องไม่ตาย หรือป่วยจากมะเร็งปากมดลูก และเต้านม เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มีผู้หญิงจำนวนมากที่ต้องตายเพราะป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกและเต้านมเนื่องจาก ไม่ได้ตรวจเพื่อคัดกรอง ซึ่งปัจจุบันผู้หญิงไทยสามารถที่จะใช้สิทธิ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ได้ฟรีเป็นบริการป้องกันโรคมะเร็งที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ(สปสช.)จัดให้กับผู้หญิงไทยตั้งแต่อายุ 30-60 ปีทุกสิทธิการรักษาให้ตรวจฟรีมาตั้ง 8 ปีแล้ว และทุกวันนี้ผู้หญิงไทยตายเพราะป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกวันละ 14 คนหรือเทียบกับ 1 คันรถตู้ทั้งที่มะเร็งปากมดลูกตรวจพบระยะแรก รักษาหายขาดไม่ต้องให้คีโม ไม่ต้องตัดมดลูก กรณีมะเร็งเต้านม สปสช. และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เน้นให้ผู้หญิงมั่นตรวจได้ด้วยตัวเอง หาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ ข้อง่ายคือตรวจตัวเองได้ เมื่อตรวจพบก็จะส่งไปตรวจเมโมแกรม แต่ต้องจ่ายเงินเอง ซึ่งโชคร้ายของผู้ประกันตน คือโรงพยาบาลประกันสังคมไม่มีเครื่องตรวจนี้ หมอจะใช้มือในการตรวจมะเร็งเต้านมจึงไม่ค่อยพบอาการที่เริ่มแรกของผู้ป่วยจะ พบก็ระยะ 3 แล้ว เมื่อผู้หญิงมีอาการตกขาว คัน มีตกขาวเลือดติดออกมา เมื่อไปพบแพทย์จะได้ยาเหน็บมาใช้ก่อนเมื่อไปหายก็ไปหาใหม่ การตรวจมะเร็งปากมดลูกก็ไม่น่าอภิรมย์สำหรับผู้หญิง ต้องขึ้นขาหยั่ง ใช้ปากเป็ดถ่างทั้งอายทั้งเจ็บผู้หญิงจึงไม่อยากตรวจ ทำให้ผู้หญิงต้องตายเพราะโรคมะเร็งปากมดลูก สปสช.ได้มีการตรวจมะเร็งปากมดลูกฟรี แต่วันนี้ผู้หญิงยังเข้าไม่ถึง หากต้องเดินไปโรงพยาบาล สปสช. จึงมีการเข้าไปตรวจในสถานประกอบการ ตนเคยตรวจพบว่าป่วยเป็นมะเร็งระยะแรก เมื่อต้องไปโรงพยาบาลก็จะตรวจใหม่อีกครั้ง หากต้องรักษากับแพทย์ในโรงพยาบาล ซึ่งจะตรวจอีกหลายรายการ ตรวจซ้ำเดิมเสียเงินเพิ่ม ซึ่งขณะนี้ตรวจพบก็จะพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อให้เกิดการรักษา การปรับเปลี่ยนของประกันสังคมในการดูแลแรงงานหญิงที่ป่วยเป็นมะเร็ง จาก 5 หมื่นบาท เป็น1.3 แสนบาท วันนี้แม้โรงพยาบาลจะได้เงินจากประกันสังคมไปจำนวนมาก แต่ก้ยังไม่มีการซื้ออุปกรณ์ตรวจที่มีคุณภาพ ยังคงส่งตัวผู้ที่ส่งสัยว่าจะป่วยเป็นมะเร็งไปโรงพยาบาลของรัฐ สิทธิแรก ตรวจมะเร็งเต้านม สิทธิที่สอง สปสช.ตรวจมะเร็งปากมดลูกฟรี หากมีแรงงาน 50 คนขึ้นไปจะเดินทางไปตรวจฟรีถึงโรงงาน และอยากฝากบอกผู้ชายว่าการที่ผู้หญิงป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกนั้น ต้นเหตุมาจากผู้ชายที่มีเชื้อไวรัสHPV ที่สอดใส่และปล่อยทิ้งไว้ที่ปากมดลูกของผู้หญิง และตอนนี้มีบริษัท และโรงพยาบาลมาขายของเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งนั้นไม่ใช่ใช้ได้กับ ทุกคน เขาให้ฉีดกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ตอนนี้ได้ต่อรองให้ค่าใช้จ่าย 3 เข็ม 3,500 บาท ขณะนี้แพงเกิดไปในการที่จะจ่ายเพราะต้นทุนเพียง 1,800 บาทเท่านั้น นางสาวธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีกล่าวว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมอาเซี่ยน และมีผู้หญิงข้ามชาติที่มาทำงานในประเทศจำนวนมาก และต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม การทีดูแล และการป้องกันไม่ให้ผู้ประกันตนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ระบบประกันสังคมไม่มีการดูแลป้องกันมีเพียงการดูแลรักษา ซึ่งเป็นการดูแลที่ปลายเหตุ ขณะนี้ทางขบวนการได้มีการเสนอร่างกฎหมายประกันสังคม พ.ศ. . โดยการช่วยกันลงลายมือชื่อ14,000 กว่าชื่อรอเข้าสภาอยู่ วันนี้ต้องมีการพัฒนาและปฏิรูประบบประกันสังคมให้สอดคล้อง ทั้งต้องเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้มากขึ้น เวลาต่อมากลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีและเครือข่ายได้จัดแถลงข่าว และเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ ที่รัฐสภาเนื่องในโอกาสที่ วันสตรีสากล 8 มีนาคม ที่หมุนเวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่ง ทางกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ร่วมกับ องค์กรเครือข่าย จัดกิจกรรมวันสตรีสากลครั้งนี้ขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญสองประการ ได้แก่ เพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิแรงงานของคนงานหญิง และเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์แห่งการต่อสู้นั้นในยุคสมัยปัจจุบัน วันสตรีสากล มีกำเนิดมาจากการเคลื่อนไหวของคนงานหญิง ที่ทำงานในโรงงานสิ่งทอในสหรัฐอเมริกา จากสภาพการทำงานที่เลวร้าย จึงได้ลุกขึ้นมาต่อสู้ เรียกร้องให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และปรับปรุงสภาพการทำงาน รวมทั้งลดเวลาทำงานให้เหลือวันละ 8 ชั่วโมง การประท้วงหลายครั้งจบลงด้วยการใช้ความรุนแรงต่อคนงาน อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลก ดังนั้น ในเวทีการประชุมสมัชชานักสังคมนิยมหญิงนานาชาติ คลาร่า เซทกิ้น ซึ่งเป็นผู้นำในการต่อสู้และผู้นำคนหนึ่งของสมัชชา จึงได้เสนอให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล เพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ดังกล่าว และได้รับการสนับสนุนจากที่ประชุมอย่างเป็นเอกฉันท์ หลังจากนั้น ผู้หญิงจากแทบทุกประเทศทั่วโลก ต่างใช้วันสตรีสากลเป็นสัญลักษณ์ เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จในการต่อสู้ และแสดงความมุ่งมั่นที่จะขจัดอุปสรรคที่ยังมีอยู่ สำหรับการรณรงค์ในปี 2556 นี้ ทางกลุ่มฯ และเครือข่าย ให้ความสำคัญกับประเด็น ผู้หญิงทำงาน ความมั่นคงในชีวิตและครอบครัว โดยใช้คำขวัญว่า ผู้หญิงทำงาน ชีวิตมั่นคง ครอบครัวยั่งยืน การที่ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญสองด้าน คือ การมีส่วนร่วมเป็น กำลังแรงงาน และ การเจริญพันธุ์หรือการมีบุตร ปัญหาด้านการเจริญพันธุ์หรือการมีบุตร ปัจจุบัน อัตราเจริญพันธุ์รวมของผู้หญิงอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งน้อยเกินไป ทำให้สัดส่วนประชากรของประเทศเสียความสมดุล นั่นคือ ในอนาคต จะมีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากขึ้น และมีสัดส่วนคนวัยทำงานลดลง ปัญหานี้มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งมาจากการที่ ผู้หญิงทำงาน โดยเฉพาะคนทำงานโรงงานจำนวนมากเป็นโสด หรือมีลูกน้อย เนื่องจากรายได้น้อย และขาดแคลนสวัสดิการที่ช่วยคุ้มครองความเป็นมารดาและอุดหนุนการเลี้ยงดูเด็ก เช่น ศูนย์ให้นมลูก ศูนย์เลี้ยงเด็ก เงินค่าเลี้ยงดูบุตร สิทธิการลาเลี้ยงบุตรของบิดา เป็นต้น ปัญหาด้านความมั่นคงในชีวิตผู้หญิงทำงาน ปัจจุบันผู้ หญิงจำนวน 18 ล้านคน มีส่วนร่วมในการทำงานสร้างสรรค์การพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ ซึ่งควรได้รับการดูแลให้มีความมั่นคงในชีวิต ประเทศไทยมีกฎหมายประกันสังคมมานานกว่า 20 ปี แต่กฎหมายดังกล่าวยังมีข้อด้อยบางประการ ที่สำคัญ คือ - ความครอบคลุมที่ยังไม่ทั่วถึง ปัจจุบัน ประเทศไทยมีคนทำงานทั่วประเทศ 39 ล้านคน ระบบประกันสังคมครอบคลุมคนทำงานเพียง 10 ล้านคน ตัวอย่างคนทำงานที่ยังเข้าไม่ถึงประกันสังคม ได้แก่ ลูกจ้างทำงานบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง - สิทธิประโยชน์ที่ยังไม่เพียงพอ ปัจจุบัน ผู้หญิงทำงานจำนวนมากต้องเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยปัญหาสุขภาพอนามัยเจริญ พันธุ์ การตรวจสุขภาพประจำปีสามารถช่วยป้องกันได้ แต่ระบบประกันสังคมยังไม่ให้สิทธิดังกล่าว นอกจากนี้ สิทธิประโยชน์กรณีลาคลอดและเลี้ยงดูบุตรก็น้อยเกินไป ดังนั้น ในโอกาสวันสตรีสากล ปี 2556 กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสวัสดิการและการประกันสังคมให้สอดคล้องกับความ ต้องการของผู้หญิงทำงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. เพิ่มจำนวน ศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กในบริเวณย่านอุตสาหกรรม และปรับคุณภาพบริการให้ตรงกับความต้องการของคนงานหญิง 2. ให้สัตยาบัน อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 183 เรื่อง การคุ้มครองความเป็นมารดา และนำหลักการดังกล่าวมาดำเนินการโดยเร็ว 3. เพิ่มมิติผู้หญิงในระบบประกันสังคม โดยขยายการประกันสังคมให้ครอบคลุมคนทำงานทุกกลุ่ม เพิ่มสิทธิประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการด้านอนามัยเจริญ พันธุ์ และให้มีตัวแทนของผู้หญิงในกลไกการมีส่วนร่วม พร้อมกำหนดการรณรงค์ในวันที่ 8 วันสตรีสากลครั้งทางกลุ่มบูรณาการแรงงานและเครือข่าย จัดการเดินรณรงค์และยื่นหนังสือต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยจะเริ่มตั้งขบวนเวลา 09.00 น.ที่หน้าอาคารสหประชาชาติ (UN) แล้วเดินเท้าไปยังประตู4 ทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือตามลำดับ ที่มา : www.voicelabour.org |
||
|
เข้าสู่ระบบ to rate อันดับความนิยม:![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
อัพโหลดโดย: webmaster วันที่อัพโหลด: 8th Mar 13 จำนวนผู้ชม: 36172 ความคิดเห็น: 0 ข่าวที่ชื่นชอบ: 0 หมวด: ข่าวสารน่ารู้ |
๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง
|