webmaster's News
![]() |
![]() |
![]() |
คปก.เผยผลศึกษาปฏิรูปกระบวนการชันสูตรพลิกศพ ระบุเหตุไม่เชื่อมั่นตำรวจ![]() คปก.เผยผลศึกษาปฏิรูปกระบวนการชันสูตรพลิกศพ ขยายคุ้มครองสิทธิ-ประโยชน์สาธารณะ ญาติเหยื่อ คดีฆ่าตัดตอน ระบุไม่เชื่อมั่นตำรวจ 22 กุมภาพันธ์ 2556 คณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้ นายสมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานอนุกรรมการปฏิรู นอกจากนี้ยังปัญหาเรื่องการไต่สวนการตายที่ยังมีปัญหาทั้ นางสาวฐิตารีย์ เอื้ออำนวย คณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ด้านนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวนำเสนอผลการศึกษา เรื่อง การปฏิรูปกฎหมายกระบวนการชันสูตรพลิกศพว่า จากการศึกษาของคณะอนุกรรมการฯ พบว่า วัตถุประสงค์ของการชันสูตรพลิกศพ การตายอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกเหนือป.วิอาญามาตรา 148 จะไม่ได้รับการชันสูตรพลิกศพ เพื่อตรวจสอบค้นหาความจริงอย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสอบสวนเท่านั้น มิได้กระทำไปทั้งกระบวนการ ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น การคุ้มครองความปลอดภัยสาธารณะ การสร้างมาตรการป้องกันความเสียหายในอนาคต เป็นต้น และกระทบถึงประสิทธิภาพ มาตรฐาน ความเป็นธรรมและความโปร่งใส ส่วนมาตรฐานในการชันสูตรพลิกศพยังมีปัญหาขาด เอกภาพและการบูรณาการร่วมกัน มีมาตรฐานต่างกัน เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน นอกจากนั้น การเข้าถึงข้อมูลยังอยู่ในวงจำกัด เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวน จึงไม่สามารถนำข้อมูลไปดำเนินการที่เป็นประโยชน์อื่นๆได้ นางสาวฐิตารีย์ กล่าวว่า กฎหมาย เกี่ยวกับชันสูตรพลิกศพมีวัตถุประสงค์ที่แคบ ควรขยายกรอบวัตถุประสงค์ให้ครอบคลุมถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและคุ้มครอง ประโยชน์สาธารณะ ควรปรับปรุงเดิมหรือออกกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ใหม่อย่างมี ประสิ ทธิภาพ เป็นธรรมและโปร่งใน นอกจากนั้น ยังควรพัฒนาหน่วยงานและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ และโดยผลักดันให้การชันสูตรพลิกศพได้มาตรฐาน เข้าถึงได้ ตรวจสอบได้ และมีสภาพบังคับ เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการดำเนินการได้
ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปกระบวนการชันสูตรพลิกศพ ต้องตระหนักว่า การตายไม่ใช่สิทธิของผู้ตายเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของส่วนรวม และกระบวนการนี้ เป็นการค้นหาความจริงเกี่ยวกับการตายเป็นการใช้อำนาจของรัฐรูปแบบหนึ่ง ย่อมก่อให้เกิดการกระทบสิทธิได้ ดังนั้น กฎหมายต้องกำหนดขอบเขตและการตรวจสอบเอาไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน บนหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นธรรม และโปร่งใสนางสาวฐิตารีย์ กล่าว
รศ.ณรงค์ ใจหาญ อนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้ ประเด็นเรื่องญาติของผู้ นางพิกุล พรหมจันทร์ ผู้ได้รับผลกระทบจากคดีเยาวชนอายุ
17 ปี เสียชีวิตระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์
ควบคุมตัวในช่วงสงครามยาเสพติดเมื่อปี 2547 ซึ่งศาลตัดสินให้ประหารชีวิต
จำเลยที่ 1-3 กล่าวว่าคดีนี้มีความยุ่งยาก และยืดเยื้อพอสมควร
มีการปิดบังอำพรางคดี มีการคุกคาม ข่มขู่พยาน
และแม้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาประหารชีวิต แต่พบว่ายังไม่มีการสั่งพักราชการ
เป็นที่น่ากังวลมากของประชาชนที ศ.เกียรติคุณ น.พ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษาคณะ อนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง กรณีเด็กอายุประมาณสิบปี มีอาการชักและเสียชีวิตขอให้รับรองสาเหตุการตาย โดยบิดาเด็กไม่ยินยอมให้ตรวจพิสูจน์ศพ จนในที่สุดบิดาเด็กยินยอมจึงพบว่า เด็กกะโหลกร้าว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ชักและเสียชีวิต บิดาของเด็กก็มิได้ดำเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและแพทย์เองก็ไม่มี สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ จะเห็นว่า การตรวจหาสาเหตุการตายควรเป็นประโยชน์สาธารณะหรือไม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องนอกจากญาติผู้ตายควรมีสิทธิร้องขอให้มีการชันสูตรพลิกศพ หรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ(Coroner) จะเป็นแกนหลักในการสอบสวนสาเหตุการตายโดยตรง อีกกรณีหนึ่ง คือ หากเป็นชิ้นส่วนของศพเกิดความยุ่งยากว่า ในการพิจารณาว่าถือว่าเป็นศพหรือไม่ ต้องชันสูตรหรือไม่ เป็นต้น จากตัวอย่างดังกล่าว เห็นว่า กฎหมายเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพยังมีปัญหาและคลุมเครือ อีกทั้ง การรวมกระบวนการชันสูตรพลิกศพเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับการสอบสวน ทำเกิดช่องโหว่มากมาย ซึ่งอาจทำให้เกิดความล้มเหลวในกระบวนการชันสูตรพลิกศพได้
นายอนุกูล อาแวปูเตะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ประจำ จ.ปัตตานี กล่าวว่า สถานการณ์ทางภาคใต้จะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงอยู่ด้วย ประกอบกับลักษณะพื้นที่มีความแตกต่างด้านศาสนาและความเชื่อ ซึ่งเป็นอุปสรรคของเจ้าหน้าที่และประชาชนในการเข้าถึงความยุติธรรม กรณีการวิสามัญฆาตกรรม เห็นว่า ในเบื้องต้นควร พิจารณาว่าเป็นการฆาตกรรมหรือไม่ บางครั้งข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลสองด้านสารวัตรป้องกันและปราบปรามจึงแก้ไข ปัญหาโดยการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง แต่ก็ไม่ใช่กระบวนการทางกฎหมาย เป็นเพียงการสอบข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายเท่านั้นและไม่แน่ใจว่ามีผลในชั้นศาล หรือไม่ จากประสบการณ์ที่เคยเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบปัญหา คือ ชาวบ้านเองเข้าถึงพื้นที่ที่เกิดเหตุได้ยาก ทำให้เข้าถึงศพหรือหลักฐานต่างๆได้ยาก และก็มีกรณีที่ชาวบ้านเองขัดขวางพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่เข้าเก็บพยานหลักฐานเพราะไม่ไว้วางใจ เป็นต้น นอกจากนี้ การขอข้อมูลหรือเอกสารจากเจ้าหน้าที่ยังเป็นอุปสรรค แม้จะขอข้อมูลในฐานะที่เป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเองก็ตาม ดังนั้น ควรมีกระบวนการที่จะทำให้เข้าถึงข้อมูลข้อเท็จจริงได้ในทันทีโดยกลไก กระบวนการเอง ไม่ใช่โดยแรงกดดันของสังคม
นายภัคพงษ์ วงศ์คำ นักวิชาการด้านกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ทางสำนักงานได้ร่างแผนยุทธศาสตร์ มีส่วนเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของ ชีวิต ซึ่งในทางปฏิบัติ ยังมีปัญหาการแจ้งการตายกรณีที่ผู้ป่วยเข้าขอกลับมาเสียชีวิตที่บ้าน โดยมักระบุสาเหตุการเสียชีวิตในใบมรณะบัตรว่า เสียชีวิตไม่ปรากฏเหตุ ทำให้หลายกรณีต้องเข้าสู่กระบวนการชันสูตรพลิกศพโดยไม่จำเป็น ประกอบกับการที่ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็ มรูปแบบ ทำให้ปัญหาลักษณะนี้ก็จะมีมากขึ้นในอนาคต ที่มา http://www.lrct.go.th/?p=5726 |
||
|
เข้าสู่ระบบ to rate อันดับความนิยม:![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
อัพโหลดโดย: webmaster วันที่อัพโหลด: 1st Mar 13 จำนวนผู้ชม: 36136 ความคิดเห็น: 0 ข่าวที่ชื่นชอบ: 0 หมวด: ข่าวสารน่ารู้ |
๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง
|