Sub Navigation Links

webmaster's News

แพทย์มีหน้าที่ช่วยเหลือจับกุมผู้ป่วยที่ต้องโทษหรือไม่? โดย นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ(กรรมการแพทยสมาคม ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา)



แพทย์มีหน้าที่ช่วยเหลือจับกุมผู้ป่วยที่ต้องโทษหรือไม่? โดย นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ(กรรมการแพทยสมาคม ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา)



กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ(กรรมการแพทยสมาคม ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา) :

ข่าวเรื่องการจับกุมผู้ต้องโทษตามคำพิพากษา ตามที่เราส่วนใหญ่ทราบดีจากหน้าข่าวสื่อมวลชนนั้น สร้างรอยด่างเล็ก ๆ ให้กับวงการแพทย์ ในทำนองว่า “แพทย์ไม่มีจรรยาบรรณ เพราะไปช่วยเหลือผู้ต้องโทษ” หรือถูกตำหนิในทำนองว่า ไม่ได้ปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองดี เป็นต้น แต่บ้างก็ว่า แพทย์ทำถูกแล้ว เพราะมีหน้าที่รักษาก็รักษาไป หน้าที่ตามจับก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของตำรวจไป ลองมาดูว่า กฎหมายบ้านเรากำหนดว่าให้แพทย์ทำอะไรไม่ทำอะไรเกี่ยวกับประเด็นนี้บ้าง

ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม

มาตรา ๑๘๙ ผู้ใดช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้อง หาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้นหรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๙๑ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดให้ผู้ที่ถูกคุมขังตามอำนาจ ของศาล ของพนักงานอัยการ ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หลุดพ้นจากการคุมขังไป ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๙๒ ผู้ใดให้พำนัก ซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใดให้ ผู้ที่หลบหนีจากการคุมขังตามอำนาจของศาลของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๙๓ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวมาใน มาตรา ๑๘๔ มาตรา ๑๘๙ หรือ มาตรา ๑๙๒ เป็นการกระทำเพื่อช่วยบิดา มารดา บุตร สามี หรือภริยาของผู้กระทำ ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

มาตรา ๒๐๓ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็น ไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๐๔ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีตำแหน่งหน้าที่ควบคุม ดูแลผู้ที่ต้องคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา กระทำด้วยประการ ใด ๆ ให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขังไป ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึง หนึ่งหมื่นสี่พันบาทความผิดฐานเปิดเผยความลับ

มาตรา ๓๒๓ ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่น โดยเหตุ ที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบ อาชีพนั้น แล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ๒๕๕๐มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคล นั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่าในกรณีใดๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือ กฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตน ไม่ได้

ปุจฉา – แพทย์ หรือผู้อำนวยการสถานพยาบาลผิดตามมาตรา ปอ. ๑๘๙ หรือ ปอ. ๑๙๒ หรือไม่

วิสัชนา – ความผิดตาม ปอ. ๑๘๙ หรือ ๑๙๒ ต้องมีองค์ประกอบพิเศษ คือ การกระทำนั้นต้องมีเจตนา + เจตนาที่จะให้ที่พัก เพื่อซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือเพื่อมิให้ถูกจับกุม ดังนั้นถ้าแพทย์หรือผู้อำนวยการสถานพยาบาล มีเจตนา ให้ที่พัก หรือ ซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือมิให้ถูกจับกุม จะถือว่าผิด แต่หากเป็นการรับไว้เพื่อตรวจรักษาผู้ป่วยตามจรรยาบรรณแพทย์ จะถือว่าผิดตาม ปอ. ๑๘๙ ไม่ได้ เพราะมิได้มีเจตนาซ่อนเร้นหรือให้ที่พัก

ปุจฉา – แพทย์ หรือ ผู้อำนวยการสถานพยาบาลผิดตาม ปอ. ๑๙๑ หรือไม่ ?

วิสัชนา – ความผิดตาม ปอ. ๑๙๑ ต้องมีองค์ประกอบสำคัญคือ มีการปล่อยตัวหรือทำให้หลุดพ้นไป (มีการกระทำ ตามมาตรา ๕๙ ซึ่งอาจเจตนา หรือ โดยประมาท ก็ได้) + หลุดพ้นไปจากการคุมขัง

ดังนั้น แพทย์ หรือผู้อำนวยการสถานพยาบาล มิได้กระทำผิดกฎหมายมาตรานี้ เพราะ หากบุคคลดังกล่าวยังถือมิได้ว่าถูกคุมขังตามกฎหมาย ย่อมไม่สามารถเอาบทบังคับตามมาตรานี้มาบังคับใช้ได้

ปุจฉา – คนอื่น ๆ ที่เป็นผู้ให้การช่วยเหลือผิดตาม ปอ. ๑๘๙หรือ๑๙๒ หรือไม่ ?

วิสัชนา – กรณีมีองค์ประกอบครบ(มีเจตนากระทำ ในการให้ที่พักหรือซ่อนเร้น)จะถือว่าผิดแน่นอน หากผู้อื่นนั้นมีฐานะเป็นญาติสายตรง (พ่อแม่ ลูก สามี ภรรยา) ก็ยังถือว่าผิดอยู่ดี แต่ศาลอาจลงโทษหรือไม่ก็ได้ (เป็นบทยกเว้นโทษ เพราะกฎหมายมองเรื่องความกตัญญูต่อบุพการีหรือผู้สืบสันดานด้วย)ปุจฉา – แพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ไม่แจ้งเจ้าพนักงาน มีความผิดทางอาญาหรือไม่ ?วิสัชนา – แยกเป็น ๒ กรณี

(๑) แพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ตรวจรักษา

๑.๑ มิได้มีสถานะเป็นเจ้าพนักงานตาม หมวด ๒ (มาตรา ๒๐๓ ๒๐๔) ของประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้นจะไม่สามารถนำสองมาตรานี้มาบังคับใช้ได้ (พูดง่าย ๆ คือ จะแจ้งหรือไม่แจ้งก็ได้)

(๒) แพทย์ ที่มิได้ตรวจรักษา (รวมถึงประชาชนคนเดินถนนทั่วไปด้วย) … กรณีนี้ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าต้องแจ้งเจ้าพนักงาน จึงไม่มีความผิด (พูดง่าย ๆ ไม่แจ้งก็ไม่ผิดกฎหมาย แจ้งก็ถือว่าเป็นพลเมืองดีแต่อาจได้ของแถม!)

ปุจฉา – ตำรวจขอข้อมูลมายังสถานพยาบาลเกี่ยวกับประวัติการรักษาคนไข้ โรงพยาบาลจะเอาไงดี ?

วิสัชนา – ปอ. มาตรา ๓๒๓ บัญญัติว่า “หากแพทย์ (รวมทั้ง พยาบาล นักบัญชี ทนายความ พระสงฆ์องค์เจ้า บาทหลวง) เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอันเป็นความลับ(อันได้มาจากการปฏิบัติงาน)” แล้วการเปิดเผยนั้น “อาจ” ทำให้ผู้ป่วยเสียหาย จะถือว่าผู้เปิดเผยมีความผิด ….ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่หากไม่แน่ใจว่าข้อมูลนั้นเป็น “ความลับ” หรือไม่ เปิดเผยแล้วจะ “เสียหาย” หรือไม่ ผู้ดำเนินการที่เกี่ยวข้องจึงมักไม่เปิดเผยสุ่มสี่สุ่มห้า ซึ่งในทางปฏิบัติ จะเปิดเผยก็ต่อเมื่อ มีคำสั่งที่มีสถานะสูงกว่า มาสั่งให้เปิดเผย เช่น”คำสั่งศาล” ในรูปของหมายเรียกพยานเอกสาร พยานบุคคล หรือคำสั่งแพทยสภาในการขอข้อมูลเพื่อดำเนินการทางจริยธรรมเป็นต้น

นอกจากนี้ในมาตรา ๗ ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ก็ยังระบุไว้คล้าย ๆ กับ มาตรา ๓๒๓ ของ ประมวลกฎหมายอาญา เพียงแต่เพิ่มบทยกเว้นว่า “เปิดเผยได้หากเจ้าตัวยินยอม” (อาศัย หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด) รวมทั้งขยายความของผู้เปิดเผยว่า ไม่จำเป็นต้องมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย (แพทย์ พยาบาล) แต่เป็นใครก็ได้ที่ได้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยมา (จะว่าไปแล้วก็ไม่รู้จะมีมาตรา ๗ นี้ไปทำไม เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๓ ก็มีเนื้อหาที่ครบถ้วนดีแล้ว)

จะเห็นว่าคำวิจารณ์ที่ว่าแพทย์ไม่ร่วมมือ กับเจ้าพนักงานนั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะใช้อารมณ์ความรู้สึก มากกว่าตัวบทกฎหมายมาเป็นเกณฑ์ แพทย์มีหน้าที่รักษาผู้ป่วยโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เพราะแม้แต่ในสงคราม หรือสงครามสีเสื้อ แพทย์ก็ต้องช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์อยู่ดี

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  12th Feb 13

จำนวนผู้ชม:  36346

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง