Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ เวทีสาธารณะ: การมีส่วนร่วมในอีเอชไอเอ ของโครงการเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย โดย สมพร เพ็งค่ำ : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ



คอลัมน์ เวทีสาธารณะ:  การมีส่วนร่วมในอีเอชไอเอ ของโครงการเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย  โดย สมพร เพ็งค่ำ : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ



ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

สมพร เพ็งค่ำ : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

การทำเหมืองแร่ทองคำ จัดเป็นโครง การที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามมาตรา 67 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ซึ่งต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า อีเอชไอเอ รวมถึงจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย และให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้ความเห็นประกอบก่อนการดำเนิน การ ทั้งนี้ ในกระบวนการทำอีเอชไอเอได้กำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น อย่างน้อยใน 3 ขั้นตอน คือ ในขั้นตอนการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบ (public scoping) ในขั้นตอนประเมินผลกระ ทบ (appraisal) และขั้นตอนการทบทวนร่างราย งานอีเอชไอเอ (public review)


การทำเหมืองแร่ทองคำ ที่ อ.วังสะพุง จ.เลย เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2549 หลังจากที่บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ได้รับประทานบัตรจำนวน 6 แปลง บนเนื้อที่ประมาณ 1,291 ไร่ และได้รับอนุญาตให้เปิดการทำเหมืองเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2549 จำนวน 5 แปลง บริเวณภูทับฟ้า และเปิดการประกอบโลหกรรมทองคำ (โรงแต่งแร่) ในบริเวณดังกล่าว ส่วนอีกแปลงหนึ่งอยู่บริเวณภูซำป่าบอน ได้รับอนุญาตให้เปิดการทำเหมือง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ยื่นขอขยายพื้นที่การทำเหมืองแร่ไปยังภูเขาลูกถัดไปที่ชื่อว่า ภูเหล็ก ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A อนึ่ง หลังจากที่เหมืองแห่งนี้เปิดดำเนินการได้ไม่นาน ก็มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปนเปื้อนสารพิษในสิ่งแวดล้อม รวมถึงในเลือดของชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบเหมือง จนชาวบ้านบางส่วนแสดงอาการเจ็บป่วยทางร่างกายอย่างชัดเจน


จนกระทั่งวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติให้กระทรวงอุตสาหกรรมชะลอการขยายพื้นที่ใหม่ จนกว่าจะได้ข้อสรุปสาเหตุการปนเปื้อนสารพิษ ผลการประเมินความคุ้มค่าของฐานทรัพยากรธรรมชาติและค่าภาคหลวงแร่กับวิถี ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และผลการประเมินผลด้านสุขภาพ หรือ HIA นอกจากนี้ยังให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และ อุตสาหกรรม สั่งการหน่วยงานในสังกัดให้ความร่วมมือกับจังหวัดเลย ในการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบ และวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริเวณเหมืองดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ และให้มีความถี่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการตรวจและกำกับการทำเหมืองของบริษัทฯ ให้ครอบคลุมถึงเสียง และกลิ่นที่รบกวนในช่วงเวลากลางคืน การตรวจกระบวนการทำเหมืองให้สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อป้องกันการซึมของสารไซยาไนต์ รวมทั้งการเพิ่มความถี่ในการเฝ้าระวังคุณภาพของน้ำให้มากยิ่งขึ้น และควรเปลี่ยนจุดตรวจคุณภาพของน้ำอยู่เสมอ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ราษฎร ตลอดจนให้จังหวัดเลยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรึกษาหารือกัน เพื่อหาแนวทางในการชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถึงขั้นตอนในการเกิดสารปนเปื้อนใน พื้นที่ดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งจัดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น


ทั้งนี้ เนื่องจากการเปิดทำเหมืองของบริษัทฯ เมื่อปี พ.ศ.2549 นั้น ประชาชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว ในขณะที่ปัญหาผลกระทบต่างๆ ยังไม่ได้มีการดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบตามมติของ ครม. ทางบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ก็ได้ส่งจดหมายมาถึง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 แจ้งว่า จะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขต และแนวทางการประเมินผลกระ ทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โครงการเหมืองแร่ทองคำ ในคำขอประทานบัตร 104/2538 ในวันที่ 30 มิถุนายน 2555 และต่อมาได้มีการแจ้งเลื่อนการประชุมออกไปรวมทั้งหมด 8 ครั้ง จนกระทั่งได้จัดในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2555 เวลา 8.00 – 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย


ในวันเสาร์ก่อนการจัดงาน สช. ได้รับการประสานงานว่า ให้เดินทางไปพบคณะผู้จัดงานที่บริเวณสถานีบริการน้ำมันแห่งหนึ่งเวลา 7.00 น. เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางเข้าไปในพื้นที่จัดงาน ซึ่งหากไปเองอาจจะไม่สามารถเข้าไปยังพื้นที่จัดเวทีได้ และในวันเดียวกันนั้น ทาง สช. ก็ได้รับแจ้งจากประชาชนในจังหวัดเลยว่า มีการปิดพื้นที่และมีกำลังทหาร ตำรวจ มาควบคุมพื้นที่บริเวณหน้าศาลากลาง ซึ่งใกล้กับสถานที่จัดการประชุม เช้าวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันจัดงาน ทีมงานของ สช. ได้เดินทางไปตามที่ได้นัดหมายกันไว้ จากนั้นได้ถูกร้องขอให้เปลี่ยนมาใช้รถตู้ที่ทางคณะผู้จัดงานเตรียมไว้ซึ่งจะ เดินทางไปพร้อมกับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ โดยมีรถของทางหน่วยอาวุธและกลยุทธ์พิเศษ เป็นผู้นำเข้าพื้นที่ ในระหว่างเดินทางพบว่า บริเวณโดยรอบจะมีการนำรั้วเหล็กมากั้น และมีกำลังทหารตำรวจจำนวนมากควบคุมพื้นที่จัดงาน ซึ่งจะอนุญาตเฉพาะรถที่ทางคณะผู้จัดได้จัดเตรียมไว้ผ่านเข้า-ออก เมื่อเข้าไปถึงบริเวณห้องประชุมพบว่า มีคนจำนวนมากนั่งอยู่ภายในห้องประชุม และมีทหารตำรวจจำนวนมากควบคุมพื้นที่อยู่ โดยปราศจากกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านการขยายพื้นที่สัมปทานเหมืองแร่ เนื่องจากปัญหาเดิมที่พวกเขาต้องแบกรับอยู่ยังไม่ได้รับการแก้ไข


สิ่งที่เห็น มันเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จริงหรือ? หรือเป็นเพียงเวทีจัดตั้งที่จะเป็นตรายางประทับรับรองว่า ทางบริษัทได้ทำตามขั้นตอนครบถ้วนตามกฎเกณฑ์ที่ทางหน่วยงานภาครัฐกำหนดไว้ แล้ว โดยไม่ใส่ใจในคุณภาพของกระบวนการว่ าจะทำให้ได้ข้อมูลข้อห่วงกังวลจากทุกฝ่าย อย่างครบถ้วนและรอบด้านมากพอที่จะนำไปกำหนดเป็นโจทย์การศึกษาผลกระทบได้หรือ ไม่ ซึ่งขั้นตอนการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากใน กระบวนการทำอีเอชไอเอ เพราะถ้ากำหนดขอบเขตผิด กำหนดโจทย์ในการศึกษาผิด ผลการศึกษาก็ย่อมผิดพลาดตามไปด้วย.

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  28th Jan 13

จำนวนผู้ชม:  36103

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง