Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ COOL BIZ: ตัดวงจรน้ำมันทอดซ้ำ



คอลัมน์ COOL BIZ: ตัดวงจรน้ำมันทอดซ้ำ



โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

ปลายปี 2551 กระแสสังคมเริ่มหันมามองปัญหาอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นตัวการก่อโรคร้ายให้แก่ผู้บริโภค มีการคิดค้นชุดตรวจสอบปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำที่มีผลให้อัตราตายของเซลล์เพิ่มขึ้น ตามมาด้วยการรณรงค์ปฏิวัติน้ำมันทอดซ้ำ เป็นผลงานส่วนหนึ่งของศูนย์พัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หรือ คคส. ที่ประกอบด้วยผู้รู้ในด้านเภสัชศาสตร์และสุขภาพหลายท่าน เป้าหมายก็เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องยอมรับว่าปัจจุบันภาพของกระทะทอดที่ใช้น้ำมันซ้ำซากจนมีสภาพข้นดำยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในแทบทุกตรอกซอกซอย เด็กและผู้ใหญ่ทั่วทุกหัวระแหงยังคงบริโภคอาหารที่ทอดจากกระทะเหล่านี้อย่างเอร็ดอร่อย แม้ความดำของน้ำมันจะทำให้ลังเลใจอยู่บ้างก็ตาม เชื่อว่าผู้บริโภคคงเกิดคำถามในทำนองเดียวกันถึงแหล่งที่มาของน้ำมันในกระทะเหล่านี้ว่ามาจากไหน บ้างก็อาจคิดว่าแม่ค้าคงซื้อน้ำมันใหม่มาทอดแล้วทอดอีกจนกลายเป็นน้ำมันสีดำ แต่อีกหลายคนก็มองว่า แม่ค้าเหล่านี้น่าจะมีแหล่งซื้อน้ำมันมือสองจากที่ใดที่หนึ่ง ในกรณีหลังนี่เอง…ที่อุตสาหกรรมอาหารกลายเป็นเป้าสงสัยไม่ว่าจะเป็นร้านขายไก่ทอดชื่อดังหรือแม้แต่โรงงานแปรรูปอาหารต่างๆ

นั่นเป็นเพราะโรงงานขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารมักมีการ ใช้น้ำมันสำหรับทอดในปริมาณที่สูง ขณะเดียวกัน…ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร ทำให้โรงงานขนาดใหญ่ที่มีมาตรฐานสูงจะใช้น้ำมันทอดเพียงครั้งเดียวแล้วนำมาบริหารจัดการ หรือขายให้กับหน่วยงานที่ผลิตพลังงานทดแทน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญในความปลอดภัยของผู้บริโภค ประกอบกับเป็นองค์กรที่มีการค้นคิดและจัดการด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ซีพีเอฟสามารถตัดตอนน้ำมันทอดซ้ำไม่ให้กระจายสู่ชุมชนและผู้บริโภคคนไทย

ยกตัวอย่างเช่น ที่โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ จ.สระบุรีของซีพีเอฟ ที่มีการผลิตสินค้าประเภททอดเดือนละกว่า 600 ตัน ทำให้มีน้ำมันพืชที่ใช้ในกระบวนการทอดเหลือออกมาประมาณ 8 หมื่นลิตรต่อเดือนโรงงานจึงนำน้ำมันเหล่านี้มาผลิตเป็นไบโอดีเซลหรือ B100 ที่สามารถทดแทนการใช้น้ำมันปิโตรเลียมดีเซลได้ 100% โดยจัดตั้งโรงผลิตน้ำมันไบโอดีเซลสามารถผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้ร่วม 7.6 หมื่นลิตรต่อเดือน นำมาใช้กับรถยนต์ภายในโรงงาน ซึ่งจะมีการตรวจสอบเครื่องยนต์และชิ้นส่วนหลังการใช้งานอยู่เป็นประจำ พบว่าสามารถนำน้ำมันมาใช้ได้โดยไม่มีผลกระทบกับเครื่องยนต์

การตัดวงจรน้ำมันทอดซ้ำที่ซีพีเอฟทำอยู่นี้ นับเป็นบทบ าทสำคัญอีกบทบาทหนึ่งที่ภาคธุรกิจจะสามารถช่วยเหลือดูแลสุขภาพของคนในชุมชนใกล้เคียงโรงงานได้ เพราะในน้ำมันใช้แล้วมีสารพิษที่ก่อมะเร็ง ประเภทอนุมูลอิสระและไดออกซิน รวมทั้งสารเคมีอื่นๆอีกมากมายที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการประกอบอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและเป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้บริโภค

นอกจากจะดีต่อผู้บริโภคแล้ว ยังดีต่อสิ่งแวดล้อม ด้วย เพราะไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนที่ส่งผลถึงการช่วยลดภาวะโลกร้อน จากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในปริมาณมากถึง 1,847 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ขณะเดียวกันโรงงานยังได้รับผลพลอยได้ในด้านการลดต้นทุนพลังงาน เพราะจากไบโอดีเซลร่วม 7.6 หมื่นลิตรที่ผลิตได้ในแต่ละเดือนนี้ ทำให้โรงงานสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดีเซลปริมาณ 9 แสนลิตรต่อปี ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงคิดเป็นมูลค่า 27 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นผลพลอยได้ในการลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่คุ้มค่า ซึ่งบริษัทได้ขยายผลในเรื่องการตัดวงจรน้ำมันทอดซ้ำนี้ไปยังโรงงานอื่นๆเช่น โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ จ.นครราชสีมา ด้วย

นี่เป็นตัวอย่างของความตั้งใจของภาคธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นว่า หากทุกองค์กรช่วยกันอย่างจริงจังคนละไม้คนละมือ ย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมกันดูแลรักษาสุขภาพของผู้บริโภคได้ตั้ง แต่ต้นทาง ผลทางอ้อมที่ได้ตามมานั้นคุ้มค่ามากมาย และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือคุณค่าทางจิตใจที่คนในองค์กรได้ช่วยเหลือดูแลคนไทยด้วยกัน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  21st Jan 13

จำนวนผู้ชม:  36246

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง