Sub Navigation Links

webmaster's News

8. มติสำหรับการขับเคลื่อน : การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพ จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร



8. มติสำหรับการขับเคลื่อน : การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพ  จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร



การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพ

จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร

 

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ห้า

ได้พิจารณารายงานเรื่องการพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร

รับทราบว่า ประชาคมอาเซียนจะช่วยขยายโอกาสด้านการค้า การสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชน เพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้การค้าสินค้าซึ่งรวมถึงอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารมีความหลากหลาย และมีการกระจายสินค้าระหว่างประเทศมากขึ้น

กังวลว่า เมื่อการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารร่วมกันของสมาชิกอาเซียนกระทำได้ช้ากว่าการเคลื่อนย้ายสินค้าเหล่านั้น ความแตกต่างด้านมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าของแต่ละประ เทศจึงยังคงอยู่ และเมื่อปริมาณสินค้าฯที่ค้าขายมีมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะได้รับอาหารที่ไม่ปลอดภัยย่อมมีมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการลักลอบนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานอีกด้วย

กังวลว่า ระบบการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ  จะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากการเรียกคืนสินค้า และจะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพและชีวิตของผู้บริโภค ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสุขภาพและระบบบริการสุขภาพ

ตระหนักว่า มาตรฐานและคุณภาพความปลอดภัยด้านอาหารเป็นเรื่องสำคัญและเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทยและของหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ ที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อเตรียมความพร้อมรองรั บการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ตระหนักว่า การดูแลปกป้องคุ้มครองตนเองและครอบครัว ด้วยพลังชุมชนในพื้นที่ซึ่งเข้าใจ รู้เท่าทันปัญหาเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน และการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ โดยให้ชุมชนร่วมกำหนดนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านั้นจะทำให้ระบบการจัดการและเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

จึงมีมติดังต่อไปนี้

๑.        ขอให้คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ หน่วยงานที่กำกับดูแล และหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร กำหนดให้มีนโยบายและแผนดำเนินงานที่ชัดเจน เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้

๑.๑ เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการในการตรวจสอบกำกับดูแล โดยการพัฒนาระบบการตรวจสอบกำกับดูแล เพิ่มจุดตรวจสอบอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารที่ผลิตและนำเข้า และเพิ่มความถี่และความครอบคลุมใน การตรวจสอบให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงตลอดห่วงโซ่อาหารในสินค้านั้น

๑.๒ เพิ่มการลงทุนและสนับสนุนขีดความสามารถของบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญร่วมถึงการพัฒนาทักษะทางภาษา เพิ่มสมรรถนะห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัยอย่างเพียงพอและกระจายทั่วถึง

๑.๓ ในการตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานต่าง ๆ ทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร ให้คำนึงถึงการจัดให้มีผู้แทนภาคประชาสังคมที่เป็นองค์กรผู้บริโภค ผู้แทนชุมชน  นักวิชาการ และ ผู้แทนจากภาคเอกชน ร่วมเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่เท่ากัน ทั้งนี้การคัดเลือกทุกภาคส่วน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

๑.๔ พัฒนาระบบการวิเคราะห์ความเสี่ยง ด้านความปลอดภัยอาหาร คุณภาพและมาตรฐานของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับสากล

๒.       ขอให้หน่วยงานที่ตรวจสอบ กำกับดูแลการผลิต นำเข้าอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร รวมถึงผู้ผลิตอาหารและสินค้าฯดังกล่าวให้ความสำคัญกับระบบการประกันคุณภาพตามมาตรฐานที่เหมาะสม ได้แก่ หลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หลักการปฏิบัติทางการผลิตที่ดี ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม เพื่อรับประกันความปลอดภัยของผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รวมถึง ระบบการตรวจสอบสินค้าหรือใบรับรองจากแหล่งผลิตต้นทางในประเทศที่ผลิต และกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล

๓.       ขอให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พัฒนากลไกเพื่อบูรณาการข้อมูลความปลอดภัยด้านอาหาร ให้เป็นเอกภาพ ทันต่อสถานการณ์ เข้าถึงได้ง่าย และต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลความปลอดภัยของอาหารในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อการเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่อสาธารณะ อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เช่น ความรู้เกี่ยวกับฉลากอาหาร เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และบริโภคได้อย่างปลอดภัย

๔.       ขอให้กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการอาหารปลอดภัยในระดับพื้นที่ หรือทบทวน หรือจัดให้มีระบบ กลไกการพัฒนากระบวนการ รวมทั้งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร โดยคำนึงถึงบริบทด้านวัฒนธรรม ศาสนา ในพื้นที่ เช่น อาหารฮาลาล จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยให้มีส่วนร่วมจากผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้การคัดเลือกต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม รวมทั้งมีการกำกับติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำงานระหว่างจังหวัด  ขอให้มีกลไกการทำงานในรูปแบบกลุ่มจังหวัดตามความเหมาะสม

๕.       ขอให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย และหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชนในท้องถิ่น ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความปลอด ภัยด้านอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร ทั้งทางด้าน สุขภาพ วิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ศาสนา และวัฒนธรรม รวมถึงการเผยแพร่ไปยังหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป  

๖.        ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มขีดความสามารถ และพัฒนาให้เกษตรกรผู้ผลิตอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร สามารถตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน ความปลอดภัยได้ด้วยตนเอง

ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  12th Jan 13

จำนวนผู้ชม:  35351

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง