Sub Navigation Links

webmaster's News

6. มติสำหรับการขับเคลื่อน : การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA)



6. มติสำหรับการขับเคลื่อน : การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA)



การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA)

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ห้า

          ได้พิจารณารายงานเรื่องการปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EIA/EHIA)

ตระหนัก ว่าระบบและโครงสร้างของระบบวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาหลายด้าน และมีข้อจำกัดหลายประการต่อการใช้เป็นเครื่องมือและกลไกที่มีประสิท ธิภาพต่อการจัดการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และลดความขัดแย้งระหว่างภาคส่วนต่างๆ ได้ตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของระบบวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

ห่วงใย ว่าหากยังคงไม่มีการแก้ไขปรับปรุงการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน จนขยายสู่ความขัดแย้งระหว่างภาค เอกชนหรือหน่วยงานภาครัฐที่เป็นเจ้าของโครงการกับภาคประชาชน/ชุมชน และการสูญเสียทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ

รับทราบ ว่าได้มีความพยายามแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงระบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ผ่านการตรวจแก้ไขจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และอยู่ในระหว่างขั้นตอนการรอเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่ยังคงพบว่ามีประเด็ นเรื่องมาตรการควบคุม กฎหมาย/กฎระเบียบสำหรับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไม่ครอบคลุมรอบด้านต่อสถานการณ์ปัญหาที่พบในปัจจุบัน

          เห็นว่า ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน (ในฐานะเจ้าของโครงการ) บริษัทที่ปรึกษา/มหาวิทยาลัย (ในฐานะผู้จัดทำรายงาน) และภาคประชาชน (ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ) ควรมีส่วนร่วมแก้ไขและผลักดันแนวทางปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

จึงมีมติดังต่อไปนี้

๑.        รับรอง(ร่าง)แนวทางการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามเอกสารภาคผนวก ท้ายมตินี้ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติข้อ๒ และข้อ ๓

๒.       ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เสนอต่อประธานรัฐสภา คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาใช้แนวทางในข้อ ๑ เพื่อผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และเป็นแนวทางในการปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรัก ษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕  

๓.        ขอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาจัดตั้ง คณะอนุกรรมการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน เช่น สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน เช่น องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคประชาชน ร่วมอยู่ในคณะอนุกรรมการฯ เพื่อนำแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในข้อ ๑ ไปดำเนินการแปลงสู่การปฏิบัติ

๔.        ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำแนวทางการปฏิรูปฯ ตามข้อ ๑ ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประช าสังคม

๕.        ขอให้เครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ องค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง หรือประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามแนวทางในข้อ ๑ โดยอาจผ่านช่องทางการดำเนินงานของแต่ละเครือข่าย/องค ์กร และขอให้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงาน

๖.        ขอให้รัฐบาลเร่งรัดผลักดันให้มีการตรากฎหมายองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. ๒๕๕๐) อย่างเร่งด่วน เพื่อปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน

๗.        ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  12th Jan 13

จำนวนผู้ชม:  35389

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง