Sub Navigation Links

webmaster's News

4. มติสำหรับการขับเคลื่อน : การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ



4. มติสำหรับการขับเคลื่อน : การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ



การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ญสมัชชาสุขภาพครั้งที่ห้า

ได้พิจารณารายงานเรื่อง การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ตระหนัก ว่าภาวะหมอกควันเป็นปัญหารุนแรง ที่มีผลต่อสุขภาพกับประชาชนเป็นบริเวณกว้าง มีแหล่งกำเนิดจากหลายแหล่งทั้งการเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรกรรม ภาคเมือง การขนส่ง และอุตสาหกรรม  การบริหารจัดการแก้ไขปัญหามีความสลับซับซ้อน  จำเป็นต้องอาศัยแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมระดับภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอและหมู่บ้าน จึงจะสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีทิศทางที่ชัดเจนและบรรลุเป้าประสงค์

กังวล ต่อปริมาณฝุ่นควันขนาดเล็กที่มีปริมาณเกินค่ามาตรฐานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ             ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพและการ ท่องเที่ยวแล้ว ยังพบปัญหาหมอกควันมีแนวโน้ม             ที่กลายเป็นความขัดแย้งทางสังคมระหว่างกลุ่มคนในเมืองกับคนชนบทหรือเกษตรกรมากขึ้น  

รับทราบ ว่าการป้องกันแก้ไขปัญหาหมอกควันมีความเกี่ยวโยงกับโครงสร้างทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และกฎหมาย การแก้ไขที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องแก้ไขในทุกระดับ ตั้งแต่สำนึกบุคคล  ชุมชน บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และต้องมีการปรับปรุงกลไกการทำงาน  การปรับปรุงโครงสร้างอำนาจ สิทธิ การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการได้โดยง่ายในระยะเวลาอันสั้น

ห่วงใย ว่าการขาดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและทุกระดับทำให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันไม่ได้รับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ชื่นชม การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชนที่ร่วมผลักดันให้มาตรการป้องกันปัญหาหมอกควันเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

เห็นว่า  การมีส่วนร่วมของประชาชนและการกระจายอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ            จะเป็นกุญแจส ำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ   แม้จะมีแหล่งกำเนิดจากหลายแหล่งแต่ควรมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาจากแหล่งกำเนิดหลักคือ การเผาในพื้นป่าและพื้นที่เกษตรเป็นกลยุทธ์หลัก

 

จึงมีมติดังต่อไปนี้

. ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และมอบหมายให้หน่วยงาน           ที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการดังนี้

๑.๑ สำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และภาคเอกชน เป็นภาคีร่วมดำเนินงาน สนับสนุนภาคประชาชนและองค์กรชุมชน ในการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน โดยจัดตั้งคณะทำงานความร่วมมือภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน เพื่อทำหน้าที่

๑.๑.๑ สนับสนุนให้องค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดทำแผนการบริหารจัดการ การสร้างสำนึก สร้างความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง สร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อขยายผล

๑.๑.๒ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควัน

๑.๑.๓ สนับสนุนให้มีงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนเรื่องลุ่มน้ำ สภาพป่า และประเภทป่า รวมทั้งนำข้อมูลและผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติ รวมถึงให้มีการพัฒนาระบบการ บูรณาการข้อมูลด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

๑.๑.๔ สนับสนุนงบประมาณให้องค์กรชุมชนในการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมมากขึ้น ทั้งนี้ให้คณะทำงานความร่วมมือภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรพัฒนาเอกชน สภาเกษตรกรแห่งชาติ  สภาองค์กรชุมชนและสถาบันทางการศึกษา    

๑.๑.๕ สนับสนุนการลดการเผาในพื้นที่เกษตร โดยสนับสนุนให้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษวัสดุพืช โดยกรมพัฒนาที่ดิน

๑.๑.๖ ส่งเสริมให้ความรู้และทักษะแก่ประชาชน และเยาวชนในโรงเรียนในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันในพื้นที่อย่างเหมาะสม

๑.๒ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลัก

๑.๒.๑ ปรับปรุงโครงสร้างและอำนาจของคณะกรรมการจัดการไฟป่าและหมอกควันแห่งชาติ ในประเด็นต่อไปนี้

(๑) ให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน โดยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานเลขานุการ

(๒) เพิ่มคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนของประชาชน และภาคเอกชน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในสัดส่วนที่เหมาะสมและให้มีตัวแทนครบทุกภาคของประเทศ

(๓) ให้มีอำนาจในการพิจารณา และให้ความเห็นต่อแผนงาน แผนงบประมาณที่องค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำขึ้น เพื่อประกอบการนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ

(๔) แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชุมชนจัดการไฟป่าและหมอกควันระดับหมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด และระดับภาค

ให้คณะกรรมการตามข้อ ๑.๒.๑ ดำเนินการจัดการปัญหาไฟป่า และหมอกควันในลักษณะเป็นการถาวรและประจำจนกว่าปัญหาจะคลี่คลาย

(๕) แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลและตรวจสอบปัญหาไฟป่าและหมอกควัน รวมทั้งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทุกระดับตั้งแต่ ระดับหมู่ บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และภูมิภาค

๑.๒.๒ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สนับสนุนให้คณะทำงานตาม ๑.๒.๑(๔) เป็นองค์กรหลักประสานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่าในทุกระดับโดยมีคณะทำงานตาม ๑.๑ ให้การช่วยเหลือและสนับสนุน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ทำหน้าที่รวบรวมแผนและงบประมาณ  เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการจัดการไฟป่าและหมอกควันแห่งชาติ

๑.๒.๓ การทำข้อตกลงร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันร่วมกัน

๑.๓ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เป็นกลไกหลักร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะทำงานตาม ๑.๑ ศึกษา ยกร่างและปรับปรุงแก้ไข ระเบียบกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและพัฒนาให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง รวมทั้งสาระการมีส่วนร่วมของภาคป ระชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่า  การจัดการทรัพยากรป่าไม้ การแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์จากที่ดินและการเกษตร รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ค่าชดเชยต่อระบบนิเวศน์ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบภายใน ๒ ปี

. ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๗

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  12th Jan 13

จำนวนผู้ชม:  34931

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง