Sub Navigation Links

webmaster's News

3. มติสำหรับการขับเคลื่อน : การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย



3. มติสำหรับการขับเคลื่อน : การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย



การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย

 

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ห้า

ได้พิจารณารายงานเรื่องการปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพ ให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทของสังคมไทย

ตระหนักว่า ระบบการศึกษาของบุคลากรด้านสุขภาพของไทยในปัจจุบัน ยังขาดความเชื่อมโยงและสอดคล้อง กับพลวัตของระบบสุขภาพและสังคม ทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตบุคลากรที่มีความพร้อมทั้งความรู้ เจตคติ ทักษะที่จำเป็น และความสามารถ ในการให้บริการด้านสุขภาพเป็นอย่างดี มีคุณธรรม และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  มีทักษะ เจตคติที่ดีในการทำงานเป็นทีม รวมทั้งทักษะในการเรียนรู้จากการทำงานตลอดชีวิต และสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางพลวัต ของระบบสุขภาพและสังคมได้ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในสังคมโลกาภิวัตน์ในศตวรรษที่ ๒๑

ตระหนักว่า การพัฒนาหลักสูตรหรือปรับระบบการเรียนการสอนของบุคลากรด้านสุขภาพ ในสาขาใดสาขาหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งขาดความร่วมมือกับสาขาอื่นและภาคส่วนต่างๆ ในสังคมที่เกี่ยวข้อง ไม่เพียงพอที่จะทำให้การปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพประสบความสำเร็จ และก่อประโยชน์สูงสุดกับประชาชนได้ ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรหรือปรับระบบการเรียนการสอนของบุคลากรด้านสุขภาพสาขาใดสาขาหนึ่งเป็นการเฉพาะ ต้องเชื่อมโยงกับพลวัตของระบบสุขภาพ สังคม และความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน

ห่วงใย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อระบบสุขภาพ และระบบบริการสุขภาพ จากการดำเนินการผลิตบุคลากรสุขภาพในภาคเอกชน และภาครัฐ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพของภูมิภาค

ห่วงใย ความไม่เสมอภาคในการจัดการศึกษาบุคลากรสุขภาพ โดยนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่ยากจนและชนบท มีโอกาสน้อย ทั้งๆที่ค่าใช้จ่ายส่วนมากมาจากภาษีอากร

ชื่นชมารพัฒนากลไกในระดับชุมชนท้องถิ่นในการส่งเสริมให้บุคลากรสุขภาพสามารถทำงานในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การคัดเลือกนักศึกษา ระหว่างช่วงเวลาศึกษา จนถึงเมื่อสำเร็จการศึกษาและเข้าทำงานในระบบสุขภาพ 

ชื่นชม ความพยายามอย่างต่อเนื่อง ของสถาบันการศึกษา สภาวิชาชีพด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา ปรับปรุงและรับรองมาตรฐาน การศึกษาของบุคลากรสุขภาพมาอย่างยาวนาน การสร้างนวัตกรรมการจัดรูปแบบการศึกษา รวมทั้งกระบวนการศึกษาทางวิชาการเพื่อสนับสนุนเรื่องการปฏิรูประบบการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพ

ชื่นชม สถาบันการศึกษาในหลายพื้นที่ ที่พยายามพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการศึกษาใหม่ๆ โดยเรียนรู้จากประสบการณ์การจัดการศึกษา รวมถึงจากงานวิจัยการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ และ ด้วยความมุ่งหมายให้สามารถผลิตบุคลากรด้านสุขภาพให้มีความรู้ ความสามรถ และทักษะในการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชน ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับระบบบริการสุขภาพในพื้นที่

 

จึงมีมติดังต่อไปนี้

๑.        ขอให้คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ โดยมีองค์ประกอบและบทบาทหน้าที่ ดังนี้

๑.๑ คณะอนุกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากทุกภาคส่วน ได้แก่ สถาบันการศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ที่ผลิตบุคลากรด้านสุขภาพ ผู้ใช้บุคลากรด้านสุขภาพ ทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนนักศึกษา ผู้แทนสภาหรือองค์กรวิชาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิ ในสัดส่วนและจำนวนที่เหมาะสม 

๑.๒ คณะอนุกรรมการมีหน้าที่จัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับกระบวนการสรรหา การผลิต การวางแผนและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อนำไปสู่แนวทาปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายด้านคุณภาพของการบริการในทุกระดับ ด้วยกระบวนการระดมสรรพปัญญา ประสบการณ์ และนวัตกรรม การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง  และการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี และเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์เพื่อขอการรับรองในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติหรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ตามความเหมาะสม  ผนยุทธศาสตร์นั้นยึดหลักการสำคัญ ได้แก่  การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตบุคลากรและผู้ใช้บุคลากรในระบบบริการสุขภาพภายใต้บริบทของประชาคมอาเซียน การจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนตัวอย่างรวมถึงประสบการณ์ที่ดีระหว่างบุคลากรสุขภาพในสาขาต่างๆ การเพิ่มองค์ความรู้ด้านการบริหารงาน การบริหารความขัดแย้งและกฏหมายสำคัญที่เกี่ยวกับสุขภาพ การส่งเสริมนวัตกรรมในการจัดการศึกษา  การสร้างจิตสำนึกสาธารณะ การเคารพในศักดิ์ศรี และให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในการจัดการศึกษาและการกระจายบุคลากรสุขภาพ การสนับสนุนให้มีงานวิจัยและนำผลมาใช้แก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน เป็นต้น

๒.       ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้กระทรวงมหาดไทย สนับสนุนการคัดเลือก และให้ทุนบุคคลในพื้นที่เข้าศึกษาหลักสูตรด้านสุขภาพ ร่วมกับสถาบันการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และกำหนดกรอบอัตรากำลังและกลไกรองรับให้กลับไปปฎิบัติงานในพื้นที่ของตนเอง

๓.  ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  12th Jan 13

จำนวนผู้ชม:  35137

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง