Sub Navigation Links

webmaster's News

9.การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและอาหาร



9.การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและอาหาร



ความสำคัญของปัญหา

การเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทำให้ปริมาณการค้าสินค้าประเภทอาหารและสินค้าเกษตร ระหว่างสมาชิก 10 ประเทศขยายตัวสูงขึ้น แต่ปัญหาก็คือความแตกต่างเรื่องคุณภาพของสินค้าและมาตรฐานการตรวจวัดสารเคมีตกค้างในสินค้าเหล่านี้ ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก
ล่าสุดสมาชิกอาเซียนอยู่ระหว่างดำเนินการ จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมของมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางเทคนิคเพื่อตรวจสอบสินค้าข้ามแดนจากประเทศสมาชิก ทำให้ขณะนี้หลักเกณฑ์การดูแลยังขาดความสมบูรณ์ในทางปฏิบัติ มีความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะได้รับสารเคมีตกค้าง ปนเปื้อน หรือสินค้าอาหารที่ไม่ปลอดภัย ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพและชีวิตของผู้บริโภคชาวไทยได้

สถานการณ์และแนวโน้ม

มูลค่าการส่งออกกลุ่มสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและอาหารไปยังประเทศสมาชิกอา เซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2552 ประเทศไทยส่งออกทั้งสิ้น 53,395.1 ล้านบาท , ปี 2553 มูลค่า 73,789.5 ล้านบาท และปี 2554 มูลค่า 108,536 ล้านบาท ขณะที่ประเทศไทยนำเข้ากลุ่มสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและอาหารจากอาเซียนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยปี 2552 มีการนำเข้ามูลค่า 32,255 ล้านบาท ปี 2553 มูลค่า 37,225.5 ล้านบาท และปี 2554 มูลค่า 49,521 ล้านบาท
อาหารที่ไม่ปลอดภัยอาจทำให้ผู้บริโภคล้มป่วย เกิดพิษต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง (food-borne diseases) และคร่าชีวิตของผู้บริโภค ตัวอย่างกรณีล่าสุดที่สหรัฐเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2555ยอดผู้ป่วย 200 คน จากการติดเชื้อซาโมเนลลา (Salmonella) จากการรับประทานปลาทูน่าแช่แข็งนำเข้า/ผลิตโดยบริษัทแปรรูปในประเทศอินเดีย ก่อนหน้านั้นวันที่ 25 พ.ค. 2555 IHR National Focal Point ของประเทศเยอรมัน ยืนยันมีผู้ป่วย 214 คน และเสียชีวิต 2 คน จากอาการไตวาย  ซึ่งองค์การอนามัยโลกพบว่า ผู้ป่วยมีประวัติรับประทานมะเขือเทศสด แตงกวา และผักกาดหอม
อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบงานวิจัยในประเทศไทยที่แสดงถึงมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเรียกคืนสินค้านำเข้า และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียสุขภาวะของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอาหารที่ไม่ปลอดภัย

แนวทางการส่งเสริม

คณะกรรมการอาหารแห่งชาติและหน่วยงานที่กำกับดูแลสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและอาหาร ได้ แก่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ควรเพิ่มความเข้มแข็งในการตรวจสอบกำกับดูแลสินค้าที่ผลิตและนำเข้า เพิ่มศักยภาพด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ห้องปฏิบัติการและเครื่องมือเพื่อการตรวจสอบความปลอดภัยอาหารและการควบคุมโรคอย่างเพียงพอ
พร้อมจัดให้มีผู้แทนภาคประชาสังคม ร่วมทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร ในสัดส่วนที่เท่ากับผู้แทนจากภาคเอกชน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพและปฏิบัติตามหลักการเกษตรและการผลิตที่ดี (Good Agricultural Practice and Good Manufacturing Practice) เพื่อเป็นหลักประกันต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค สร้างกลไกการทวนสอบ และเรียกคืนสินค้า
         นอกจากนั้น ควรสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในระดับชุมชน โดยให้หน่วยงานระดับภูมิภาค เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับชุมชน พัฒนาแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค 

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  6th Dec 12

จำนวนผู้ชม:  37498

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง