Sub Navigation Links

webmaster's News

3.พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ



3.พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ



ความสำคัญของปัญหา

พระสงฆ์ มีบทบาทในการขับเคลื่อนคุณธรรมในสังคม และผูกพันกับคนไทยมาอย่างยาวนาน แต่ผลพวงของวิถีการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นสังคมแห่งการบริโภคและวัตถุนิยม ทำให้พระสงฆ์ต้องเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย จากพฤติกรรมบริโภคที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่ทำบุญใส่บาตรของประชาชน เป็นอาหารที่มีไขมันสูง แกงกะทิและขนมหวานต่างๆ  
อีกทั้งพระสงฆ์บางส่วนยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่ประชาชนนำมาถวายให้ นิยมดื่มกาแฟ ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเกินกว่า 2 ขวดต่อวัน และดื่มน้ำสะอาดไม่ถึงวันละ 6 แก้ว ฉันอาหารสุกๆ ดิบๆ  และออกกำลังกายไม่เพียงพอ ล้วนแล้วแต่มีผลต่อสุขภาวะของพระสงฆ์ นำไปสู่โรคร้ายและการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างคาดไ่ม่ถึง

สถานการณ์และแนวโน้ม
ในปี 2550 มีพระสงฆ์ทั่วประเทศ 250,437 รูป ส่วนใหญ่เจ็บป่วยอาพาธด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด ไตวายเรื้อรัง และพระสงฆ์ยังมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ถึง 45% ทำให้รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวน 56 ล้านบาทต่อปี ขณะที่พระสงฆ์บางส่วน มีปัญหาในการเดินทางมารับการรักษาพยาบาล บางส่วนติดขัดเรื่องข้อปฏิบัติของสงฆ์ และไม่ได้รับการดูแล ฟื้นฟู บำบัด จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างดีพอ
การสำรวจยังพบว่ามีพระสงฆ์ส่วนน้อยเท่านั้นที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่ใช้เวลาเดินบิณฑบาตรตอนเช้าไม่ถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น  ขณะที่พื้นที่ภายในวัดไม่ได้เอื้อต่อการออกกำลังกาย กลายเป็นพื้นที่ทำธุรกิจเช่าที่จอดรถยนต์ และสภาพแวดล้อมในวัด ไม่มีการรักษาความสะอาดทั้งภายในกุฎิพักอาศัย ห้องครัวและห้องน้ำ นำมาซึ่งความเสี่ยงจากโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต   

แนวทางการส่งเสริม
ขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นองค์กรหลักในการประสานกับมหาเถรสมาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันวิชาการ เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติด้านสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดวัดส่งเสริมสุขภาพ
สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา
ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนถวายอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เป็นโทษต่อสุขภาพพระสงฆ์ และหลีกเลี่ยงหรืองวดเว้นสิ่งที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ
ส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อพัฒนาวัดทุกแห่ง ให้ผ่านหลักเกณฑ์การเป็น “วัดส่งเสริมสุขภาพ” ภายในปี 2560

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  6th Dec 12

จำนวนผู้ชม:  35847

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง