Sub Navigation Links

webmaster's News

สช.เผย ๕๗ โครงการมาบตาพุดแห่ทำเอชไอเอคึกคัก!



สช.เผย ๕๗ โครงการมาบตาพุดแห่ทำเอชไอเอคึกคัก!




  สช.เผย ๕๗ โครงการมาบตาพุดแห่ทำเอชไอเอคึกคัก! อุตสาหกรรมพื้นที่อื่นขยับตาม-มั่นใจลดขัดแย้งพื้นที่ กลุ่มอุตสาหกรรมในมาบตาพุดและระยอง แห่ทำ “เอชไอเอ” มี ๕๗ โครงการเริ่มวางขอบเขตศึกษารายงานผลกระทบด้านสุขภาพ ขณะเดียวกันกลุ่มเหมืองแร่-ท่าเรือ-โรงปูนซิเมนต์ ในจังหวัดอื่นเริ่มขยับทำเอชไอเอแล้ว ด้านเลขาธิการ สช.ย้ำใช้เวลาบ้างแต่ลดความขัดแย้งได้ เล็งเสนออรัฐบาลพิจารณาผังเมืองมาบตาพุดเพิ่มบัพเฟอร์โซน จากการที่ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ หรือ เอชไอเอ. (HIA : Health Impact Assessment) ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ.๒๕๕๐ ตั้งแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒
  ซึ่งต่อมา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้นำส่วนหนึ่งของหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปประกาศให้เป็นกระบวนการทำเอชไอเอในการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ เพื่อให้เอกชนดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯพ.ศ.๒๕๕๐มาตรา๖๗วรรค๒นั้น จากข้อมูลจนถึงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ขณะนี้ภาคเอกชนได้แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ตามระเบียบ
  โดยกำลังเร่งเปิดเวทีรับฟังความเห็นประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน ๖๗โครงการ เป็นโครงการในพื้นที่จังหวัดระยอง ๕๗ โครงการ นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลเร่งดำเนินการเพื่อพยายามผ่าทางตันการดำเนินการตามมาตรา ๖๗ วรรค ๒ ของรัฐธรรมนูญฯพ.ศ.๒๕๕๐
   ในส่วนของโครงการที่เคยทำอีไอเอ.ไปแล้ว แต่ศาลปกครองได้พิพากษาให้ระงับโครงการไว้ก่อน เพราะยังไม่ได้ทำเอชไอเอ.และยังไม่ได้จัดให้มีการรับฟังความเห็นจากองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพนั้น หลังจากที่มีการประกาศใช้หลักเกณฑ์การทำเอชไอเอ.แล้ว จนถึงขณะนี้มีเอกชนจัดกระบวนการทำเอชไอเอในขั้นการรับฟังความเห็นของประชาชนเพื่อกำหนดขอบเขตการทำเอชไอเอ.(public scoping)จำนวน ๖๔ โครงการ เป็นโครงการที่อยู่ในจังหวัดระยองจำนวน ๕๗ โครงการ ในจำนวนนี้อยู่ในพื้นที่มาบตาพุตเป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นอยู่ในอำเภอเมืองและอำเภออื่นๆ ที่อยู่ในจังหวัดอื่น ได้แก่ โครงการปรับปรุงโรงงานปูนซิเมนต์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหลายพื้นที่ อาทิ จ.สระบุรี , จ.นครศรีธรรมราช , จ.ลำปาง, โครงการเหมืองแร่เกลือหิน จ.นครราชสีมา ,โครงการท่าเทียบเรือน้ำมันและก๊าซ จ.สงขลา ,โครงการก่อสร้างถนนรอบเกาะช้าง ช่วงบ้านบางเบ้า-บ้านสลักเพชร อ.เกาะช้าง จ.ตราด รวมทั้งโครงการจัดทำแผนแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย บริเวณท่าเรือกรุงเทพฯ ด้วย นายแพทย์อำพล กล่าวอีกว่า
   การเปิดเวทีรับฟังความเห็นประชาชนเช่นนี้เป็นกระบวนการใหม่ ในการทำอีไอเอที่ผ่านๆมาไม่เคยมีอย่างนี้ กระบวนการนี้เป็นการเปิดให้ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการได้มีโอกาสซักถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ แสดงข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นเมื่อทำโครงการ ซึ่งฝ่ายเจ้าของโครงการที่มีนักวิชาการหรือบริษัทที่ปรึกษาจัดทำเอชไอเอ.ให้ จะต้องนำข้อห่วงใยของประชาชนไปปรับปรุงกรอบการประเมินให้เหมาะสมยิ่งขึ้น แล้วจึงทำการเก็บข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์และประมวลผลทั้งหมด แล้วต้องกลับมานำเสนอผลให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อซักถามอีกครั้งหนึ่ง ขั้นตอนนี้เรียกว่า public review “ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้กระบวนการทำ เอชไอเอ.มีความโปร่งใสและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญคือจะทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างใกล้ชิด แม้ว่าอาจจะดูว่าใช้เวลามากสักหน่อย แต่ก็จะทำให้โครงการได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายก่อนที่จะลงมือดำเนินการ ไม่ต้องมาขัดแย้งกันภายหลัง และตนได้ไปสังเกตการณ์การเปิดเวทีรับฟังความเห็นมาบ้างแล้วพบว่าเป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายเกี่ยวข้องได้หันหน้าเข้ามาคุยกันอย่างสร้างสรรค์ แต่เมื่อการดำเนินการผ่านไปแล้วระยะหนึ่งคงต้องมีการประเมินผ ลเพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการทำเอชไอเอ.ให้ดียิ่งขึ้นต่อไปด้วย” เลขาธิการ สช.ระบุ สำหรับขั้นตอนการทำเอชไอเอ.ในส่วนโครงการที่อาจมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพอย่างรุนแรง สรุปได้ดังนี้ ๑. การกลั่นกรองโครงการ (Screening) ผู้ประกอบการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำรายงานฯ ทั้งนี้ให้พิจารณาว่า
   หากเป็นโครงการที่เข้าข่ายอาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงตาม ม.๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ให้ยึดตามแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่จัดทำโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติฯ ฉบับ ธันวาคม ๒๕๕๒ ๒. จัดเวทีการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบโดยสาธารณะ (Public Scoping) โดยต้องแจ้งให้ สผ. สช. และสาธารณชนทราบก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑ เดือน และต้องเปิดเผยเอกสารโครงการให้ทราบก่อน ๑๕ วัน โดยระบุถึงความเป็นมา ความจำเป็น แหล่งเงินทุน กระบวนการและแนวทางในการดำเนินโครงการ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และร่างข้อเสนอการกำหนดขอบเขตและแนวทางการทำ เอชไอเอ
   ทั้งนี้หลังจากจัดเวทีแล้วต้องเปิดช่องทางให้มีการเสนอความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย ๑๕ วัน ๓. ดำเนินการประเมินผลกระทบ (Assessment) ตามขอบเขตที่กำหนดไว้ ๔. เมื่อประเมินผลกระทบเสร็จแล้ว ให้จัดเวทีทบทวนร่างรายงานฯโดยสาธารณะ (Public Review) เพื่อให้ประชาชน ผุ้มีส่วนได้เสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนสมบูรณ์ของร่างรายงานฯ รวมถึงนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นเพ่มเติมต่อร่างรายงานดังกล่าว โดยมีวิธีการดำเนินการคล้ายกับการจัดเวทีกำหนดขอบเขตฯ ๕. ส่งให้คณะผุ้ชำนาญการ พิจารณารายงานและการตัดสินใจ (Reviewing and Decision making) ๖. ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบและการประเมินผล (Monitoring and Evaluation) นายแพทย์อำพล เปิดเผยด้วยว่า นอกจากนี้ การประชุมคณะกรรมการศึกษา สนับสนุน และติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพ : กรณีผลกระทบจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดและจังหวัดระยอง
   ซึ่งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้แต่งตั้งขึ้นตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี ๒๕๕๑ ได้ติดตามปัญหาในพื้นที่มาตลอด และล่าสุดในการประชุมมีมติว่าจะผลักดันแนวทางการแก้ไขผังเมืองให้มีแนวเขตกันชน หรือ Buffer zone โดยเตรียมเสนอเข้า คสช.และส่งให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  35047

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง