Sub Navigation Links

webmaster's News

เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดสุโขทัย เสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยมุ่ง พัฒนาสู่ยุทธศาสตร์จังหวัด



เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดสุโขทัย  เสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยมุ่ง พัฒนาสู่ยุทธศาสตร์จังหวัด



ภาคประชาสังคมสุโขทัย หวังดึงทุกภาคส่วนเข้าสู่กระบวนสมัชชาสุขภาพ เร่งแก้ปัญหาการใช้สารเคมีภาคเกษตร มุ่งสู่ยุทธศาสตร์จังหวัด เกษตรปลอดสารพิษ ในขณะที่สถานการณ์เด็กและสิ่งแวดล้อมยังน่าเป็นห่วง
ดร.พรรณสิริ   กุลนาถศิริ   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย  ได้กล่าวในการประชุมว่า  จังหวัดสุโขทัยมีการพัฒนาหลายเรื่องพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญของการพัฒนา หากมีการทำงานที่เชื่อมโยงกันก็จะเกิดรูปธรรมมากขึ้น  การพัฒนากระบวนการสมัชชาสุขภาพของจังหวัดสุโขทัยครั้งนี้  นับเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ปัญหาต่างๆ ในสุโขทัยได้รับการแก้ไขได้อย่างเป็นระบบขึ้น    ทั้งนี้ต้องมีการทำอย่างเนื่อง  


นพ.ชิโนรส ลี้สวัสดิ์  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย กล่าวในเวทีการปรึกษาหารือ “ต่อยอดสมัชชาสุขภาพจังหวัดสุโขทัย ในทศวรรษที่ 2 เมื่อเร็วๆ นี้  ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ถึงปัญหาสุขภาวะของชาวสุโขทัย ในขณะนี้ ว่ามีประเด็นที่น่าเป็นห่วงซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพ และเชื่อมโยงไปสู่สุขภาวะของคนสุโขทัยคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิตหรือสัญญาณที่บ่งบอกว่าจะเป็นปัญหาในอนาคต เช่น การใช้สารเคมี  โรคเรื้อรังต่างๆ  ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และการใช้ ระเบียบ กฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภคที่ยังไม่เข้มแข็งในการปฏิบัติ และยังมีภาวะพึ่งพิงของ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นด้วย

ผลการเฝ้าระวังจากการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดประชาชน  ยังน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการสารเคมี เนื่องจากจังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดเกษตรกรรม และยุทธศาสตร์ของจังหวัด กำหนดให้จังหวัดเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ แต่การเกษตรส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีในรูปแบบต่างๆ ซึ่งข้อมูลทางด้านการเฝ้าระวังด้านการเกษตร ปี 2552 พบว่าผลการตรวจเลือดเกษตรกรอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงถึงร้อยละ 43.18 และโยงไปถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจและหนี้สินเพิ่มขึ้น ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขที่มาจากกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดคือ  นโยบายการเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพ เศรษฐกิจและความปลอดภัยทางด้านอาหารในระยะยาว  นพ.ชิโนรส กล่าว
    
อย่างไรก็ตาม สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดสุโขทัย นายสนอง ปั้นทิม ได้สะท้อนว่า นโยบาย   สาธารณะที่กำหนดขึ้นจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นเรื่องที่มีประโยชน์กับชาวสุโขทัยมาก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการสื่อสารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ประชาชนในพื้นที่ บางพื้นที่ชาวบ้านไม่รับรู้เลย ในขณะที่บางพื้นที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมมาก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของ อปท.แต่ละพื้นที่ที่จะสื่อสารกับประชาชน

ทางด้าน  นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมาจะเห็นว่าทุนมีอำนาจมาก แต่วันนี้จะเห็นได้ว่าอำนาจของสังคมเติบโตขึ้นมาก และภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารนโยบาย โดยเข้ามาในรูปแบบขององค์กรเล็ก อย่างเช่นองค์กรสุขภาพตำบลต่างๆ ไปจนถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น
กระบวนการสมัชชาสุขภาพจึงเป็นระบบของการคิดด้วยกัน วางแผนแก้ไขปัญหา แบ่งงานไปทำ ตามบทบาท ภาระหน้าที่ขององค์กรนั้นๆ เช่น ปัญหาเรื่องการใช้สารเคมี สาธารณสุขอาจจะเฝ้าระวังด้านสุขภาพ ในขณะที่หน่วยงานด้านการเกษตร ดำเนินการเรื่องการลดใช้สารเคมีเปลี่ยนเป็นเกษตรยั่งยืน เป็นต้น
วันนี้เราไม่ได้มองเรื่องสุขภาพเป็นปัญหาสุขภาพและจบแค่ หมอ โรงพยาบาล แต่ทุกภาคส่วนต้องมาร่วมมือกันเพื่อให้คนสุโขทัยมีสุขภาวะที่ดี
   
สำหรับกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดสุโขทัยเมื่อปี  2553 ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดประเด็นปัญหาร่วมกัน ประกอบด้วย สถานการณ์ทางด้านเกษตรกรรม เรื่องการใช้สารเคมีในการเกษตร  สถานการณ์ทางด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว ส่วนสถานการณ์ทางด้านสาธารณสุขนั้น ยังพบสถานการณ์ของโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่อยู่ในระดับที่มีแนวโน้มเสี่ยงสูง โดยเฉพาะโรคที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวันทั้งการประกอบอาชีพ และพฤติกรรมการบริโภค  และประเด็นสุดท้ายคือสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ที่พบว่าแต่ละวันจังหวัดสุโขทัยมีปริมาณขยะ 370 ตัน/วัน เฉลี่ย 0.73 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  26th Oct 12

จำนวนผู้ชม:  38440

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพจังหวัด

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง