Sub Navigation Links

webmaster's News

คณะกรรมการกำลังคนฯ เปิดเวทีทุกฝ่ายถกหลักสูตรแพทย์นานาชาติ



คณะกรรมการกำลังคนฯ เปิดเวทีทุกฝ่ายถกหลักสูตรแพทย์นานาชาติ




  ผลโพลล์ชี้ประชาชนต้องการรู้ข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจ จากกรณีที่จะมีการเปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติใมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง ได้ก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและคัดค้าน คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ จึงเปิดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก่อนการตัดสินใจพิจารณาอนุมัติเปิดหลักสูตรในปีการศึกษานี้ ในขณะนี้ที่เอแบคโพลล์สำรวจความเห็นประชาชนบอกว่าเห็นด้วยกับการมีหลักสูตรเพิ่ม แต่ต้องเปิดรับฟังความเห็นผลดีผลเสียก่อนเปิด เมื่อวันที่9 กุมภาพันธ์ 2553) ที่ ร.ร.ริชมอนด์ คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ
  โดยมีองค์กรเลขานุการร่วม 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข , สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดเวทีสาธารณะ “การผลิตแพทย์นานาชาติ สังคมได้อะไร” มีนายแพทย์มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งที่เห็นด้วยและคัดค้านการเปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติเข้าร่วมกว่า 50 คน นพ.มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรมการกำลังคนแห่งชาติ กล่าวว่า จากการหารือกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มาให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งข้อดีข้อเสียก่อนในครั้งนี้
   ได้ข้อสรุปอยู่ในตัวเองแล้วว่าสังคมจะได้อะไรหรือเสียอะไร การที่มหาวิทยาลัยแพทย์มีการเตรียมการหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ สามารถดำเนินการได้ ไม่เสียหาย แต่ในขณะนี้ถือว่า ยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมที่จะเปิดหลักสูตรนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังมีปัญหาด้านกำลังคนซึ่งสั่งสมมายาวนาน โดยเฉพาะการขาดแคลนวิชาชีพแพทย์และการกระจายตัวของแพทย์ให้สอดคล้องและเพียงพอกับความต้องการของประชาชน อย่างไรก็ตามจะนำข้อสรุปเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ที่มีนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 19 กุมภาพันธ์นี้ “การเปิดหลักสูตรแพทย์นานชาติไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ดังนั้นการจะเริ่มลงมือปฏิบัติ ควรจะรอให้การแก้ปัญหาวิกฤตการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ทุเลาลง สามารถคลี่คลายปัญหาได้ในระดับหนึ่งก่อน ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะใช้เวลากี่ปี แต่มีการประเมินว่า น่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี”นพ.มงคลกล่าว ด้าน ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า 4 ปีที่ผ่านมาประเทศไทย ผลิตแพทย์หลักสูตรปกติได้ปีละ 1,000 กว่าคน แต่ปัจจุบันตั้งเป้าที่ประมาณ 2,800 คน ซึ่งเชื่อว่าอีกไม่กี่ปีจะเพิ่มเป็น 3,000 คน ซึ่งสอดรับกับตัวเลขที่ สธ.ประเมินว่า อีก 10 ปีข้างหน้าจะต้องมีแพทย์ในอัตราส่วน 1 คนต่อผู้ป่วย 1,600 คน ซึ่งคิดว่าเพียงพอ เพราะขณะนี้จุฬาฯ สามารถผลิตแพทย์ได้ปีละ 300 คน ซึ่งในการผลิตแพทย์เพื่อแก้ปัญหาการคาดแคลนจุฬาฯ รับผิดชอบดำเนินการต่อไปอยู่แล้ว แต่ในส่วนของการผลิตแพทย์หลักสูตรแพทย์นานาชาตินั้น ถือว่าจำเป็นเช่นกัน ต้องมีการดำเนินการควบคู่กันไป เนื่องจากการจะพัฒนาด้านการแพทย์ให้ทั่วโลกยอมรับก็ต้องมีความเป็นนานาชาติด้วย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียง ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่ได้ต้องการเปิดหลักสูตรดังกล่าวเพียงเพราะหวังเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูงอย่างแน่นอน ศ.นพ.อดิศร กล่าวต่อว่า
  ในส่วนของคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ ได้หารือเกี่ยวกับหลักสูตรแพทย์นานาชาติมานานกว่า 5 ปี เนื่องจากเรามีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าจะเป็นโรงเรียนแพทย์ระดับโลก ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรแพทย์นานาชาติถือเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งขณะนี้จุฬาฯ พร้อมแล้วทุกด้านแต่หากนโยบายในระดับชาติไม่เห็นด้วยหรือยังมีกระแสสังคมยังคงคัดค้านก็จะยังไม่เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย แต่เห็นว่าควรจะเปิดโอกาสให้มหาวิทยาแพทย์ที่มีศักยภาพไปสู่ระดับโลก โดยเปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติ ซึ่งหากอีก10 ปี มานั่งหารือกัน อีกไม่กี่ปีไทยอาจจะล้าหลังกว่าเวียดนาม “เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ มศว จุฬาฯ เท่านั้นแต่คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็สนใจเรื่องนี้เช่นกัน เพียงแต่การจะเปิดหลักสูตรดังกล่าวจะต้องมีความพร้อมจริงๆ ส่วนกรณี มศว น่าจะมาจากประชาคมใน มศว เองยังไม่พร้อมเต็มร้อย
  เรื่องนี้ต้องมีการจัดการภายในก่อน หากสภามหาวิทยาลัยไม่เห็นด้วยก็ไม่ควรเปิดหรือดึงดัน” ศ.นพ.อดิศร กล่าว ขณะที่ นพ.สุวัฒน์ เลิศสุขประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กล่าวว่า การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์ นานาชาติ จะส่งผลกระทบต่อการผลิตแพทย์เพื่อคนไทยอย่างแน่นอน เพราะจะทำให้แพทย์ไหลออกไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น
   ทั้งที่ภายในประเทศยังมีความต้องการแพทย์จำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีแพทย์ไทยไปทำงานต่างประเทศเพียงประมาณ 100 คนจากแพทย์ทั้งหมดกว่า 3 หมื่นคน แต่หากเปิดหลักสูตรนี้เชื่อว่าจำนวนแพทย์ที่ไหลไปทำงานในต่างประเทศไม่ต่างจากประเทศฟิลิปปินส์ที่สอนหลักสูตรแพทย์เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีอัตราแพทย์ไปทำงานต่างประเทศถึง 80 % นายเทวินทร์ อินทรจำนง ผู้ช่วยผู้อำนวยการเอแบคโพลล์ เผยผลสำรวจความเห็นต่อหสักสูตรแพทย์นานาชาติ โดยสำรวจจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ผลปรากฎว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 77.1 สนับสนุนให้เปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติในสถาบันการศึกษาของรัฐในขณะนี้ โดยร้อยละ89.2 ระบุ ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนที่จะเปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติในสถาบันการศึกษาของรัฐ ทั้งนี้เนื่องจากส่วนใหญ่ (ร้อยละ 91.7) ไม่เคยทราบข่าวเรื่องนี้มาก่อน และถึงแม้จะมีกลุ่มตัวอย่างบางส่วนทราบว่านักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องนี้ แต่ก็ยังเห็นว่าข้อมูลไม่เพียงพอจะตัดสินว่าเรื่องดังกล่าวควรสนับสนุนหรือคัดค้าน สำหรับข้อดีของการเปิดหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ทำให้ไม่ต้องออกไปเรียนเมืองนอก ประหยัดงบประมาณของรัฐ นักเรียนโรงเรียนนานาชาติมีโอกาสเรียนแพทย์มากขึ้น ทำให้เด็กไทยเรียนรู้ด้านการแพทย์ในระดับนานาชาติมากขึ้น ได้นักเรียนแพทย์ที่เก่งภาษาอังกฤษ และทำให้ไทยมีโอกาสแข่งขันทางการค้าเมื่อเปิดเสรีอาเซี่ยน
  ส่วนข้อเสียนั้น เห็นว่า การเปิดหลักสูตรเป็นไปเพื่อหารายได้ให้กับสถานบัน จะเป็นการดึงดูดอาจารย์แพทย์ไปสอนหลักสูตรนี้ทำให้ขาดแคลนอาจารย์ การมุ่งผลิตแพทย์ตามหลักสูตรนี้จะกระทบต่อการผลิตแพทย์ในระบบปกติ แพทย์ที่จบมาจะมุ่งหารายได้โดยการทำงานที่โรงพยาบาลเอกชน การผลิตแพทย์ในหลักสูตรนี้เป็นการส่งเสริมการแพทย์เชิงพานิช ทำให้คนยากจนเข้าถึงการรักษาได้ยากขึ้น และประชาชนต้องการแพทย์ที่รักษาเก่ง มากกว่าเก่งภาษาอังกฤษ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  36084

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง