Sub Navigation Links

webmaster's News

กรณีศึกษา สมัชชาสุขภาพล้านนา... เครื่องมือพัฒนาธรรมนูญลุ่มน้ำ? โดย ศาสตราจารย์ นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล



กรณีศึกษา สมัชชาสุขภาพล้านนา... เครื่องมือพัฒนาธรรมนูญลุ่มน้ำ? โดย ศาสตราจารย์ นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล



ที่มา

จากเอกสารว่าด้วยแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(road map) 5เวทีสมัชชาสุขภาพล้านนา ประเด็นลุ่มน้ำ1 การขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพล้านนาตั้งต้นเมื่อมิย-สค 2553ในนามเวทีสมัชชา 6 ลุ่มน้ำล้านนา(กก/โขง สาละวิน ปิง วัง ยม น่าน)  สาระจากเวทีนี้ได้นำเข้าสู่เวทีวิชาการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ธค 2553 แล้วตามมาด้วยเวทีสมัชชาลุ่มน้ำนานาชาติร่วมกับ Mekhong River Commissionและสสวท.ในเดือนมค 2554  3เดือนหลังจากนั้นได้มีความเชื่อมโยงสู่เวทีวิชาการ”วันน้ำโลก”ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำ(มีค 2554) ก่อนที่จะเปิดประเด็นในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4(ธค 2554)อันนำไปสู่มติสมัชชาสุขภาพที่เกี่ยวข้องในสาระสำคัญสองประการ ได้แก่ ก) การจัดทำธรรมนูญลุ่มน้ำ, จัดตั้งกองทุนลุ่มน้ำ, กระจายอำนาจจัดการลุ่มน้ำ, ทบทวน/พัฒนานโยบายและกฎหมาย,จัดการความรู้, ประชาสัมพันธ์ โดยระบุให้ ข) ภาคีต่อไปนี้มีส่วนร่วมผลักดันกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ  กระทรวงเกษตรฯ  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  เครือข่ายวิจัย สถาบันการศึกษา อปท,และ ชุมชน

7 กย 2555 สมัชชาลุ่มน้ำภาคเหนือได้จัดการประชุมเสวนาและจัดนิทรรศการหัวข้อ “ดิน น้ำ ป่า:วิถีชีวิตและการจัดการโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” ที่โรงแรมริมกกรีสอร์ท จ.เชียงราย

1. เพื่อการนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2554 ไปสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบต่างๆ โดยการบูรณาการกับแนวนโยบาย ของชุมชน อปท. และภาครัฐ

2. เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางการจัดทำ “ธรรมนูญลุ่มน้ำ” ในการขับเคลื่อนต่อไปในปี 2556 เป็นต้นไป

3. เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย ในประเด็น “ดิน น้ำ ป่า : วิถีชีวิต และการจัดการโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน”พื้นที่รูปธรรม ของเครือข่ายสมัชชาลุ่มน้ำเชียงราย


ข้อค้นพบจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการวิเคราะห์สาระจากถอดเทปสื่อและถ้อยค ำของผู้แสดงในเวทีตลอดจนเอกสารที่สืบค้นได้




1).นอกจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 สาระที่ป้อนเข้าสู่การประชุมยังได้แก่

ก)วิดีทัศน์ในพิธีเปิด โดยสรุปสาระเกี่ยวกับ กิจกรรมเรียนรู้ร่วมกับชุมชนในการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์ เพื่อให้มีฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ และใช้เป็นข้อมูลวางแผนการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพ  โดยยึดโยงกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 66 และยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของจ.เชียงราย ประจำปีงบประมาณ 2555 

 ข) ตัวอย่างกรณีศึกษาการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วม โดย นายกอบต.เชียงเคี่ยน อ.เทิง จ.เชียงราย,  ตัวแทนป่าชุมชนขุนห้วยเลาหลวง ต.ป่าแดด อำเภอแม่สรวย จ.เชียงราย, ประธานคณะกรรมการป่าชุมชนโป่งไฮ ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เป็นต้น2   จึงเห็นได้ว่า กรอบใหญ่ที่กล่าวถึงชัดเจนในเวทีนี้คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 66 และยุทธศาสตร์ฯ ไม่ใช่ธรรมนูญลุ่มน้ำหรือมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4  ชวนให้น่าถามว่า ในเมื่อกรอบอ้างอิงเป็นดังสองประการนี้จนนำไปสู่กิจกรรมข้างต้น แล้วยังมีความจำเป็นต้องยกร่างธรรมนูญลุ่มน้ำอีกกระนั้นหรือ  ถ้าคำตอบคือใช่   อะไรคือช่องว่างสำคัญในกรอบอ้างอิงสองประการนั้นที่ธรรมนูญลุ่มน้ำต้องการเติมเต็ม ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์สาระของกรอบอ้างอิงสองประการนั้นโดยเฉพาะ ยุทธศาสตร์ฯ


2)สาระสองประการดังกล่าวในข้อ 1 สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย(2553-56)3 ตามยุทธศาสตร์ที่
3(ซึ่งวิดีทัศน์ได้กล่าวไว้) ว่าด้วย การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมปีงบประมาณ 2555  อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฎผลการวิเคราะห์สาระของยุทธศาสตร์ที่ 3ในแผนพัฒนาฯให้ได้ยินแต่ประการใดตลอดการประชุมแม้ว่า ส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์สำหรับการจัดประชุมคือ “การบูรณาการกับแนวนโยบาย ของชุมชน อปท. และภาครัฐ”ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่เป็นที่แน่ชัดว่า จะบูรณาการอย่างไรให้เกิดการเสริมพลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงพลังผลักดันการเปลี่ยนแปลงในลุ่มน้ำโดยภาครัฐที่มีงบประมาณรองรับชัดเจนปีละอย่างน้อย 236 ล้านบาท3

3) องค์ประกอบของที่ประชุม ประกอบด้วย ชุมชน อปท. นักวิชาการ ประชาสังคม สื่อมวลชน เป็นสำคัญแต่ไม่ปรากฎหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ”ดิน น้ำ ป่า” ยกเว้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายมาร่วมเฉพาะในช่วงพิธีเปิดการประชุม  ส่วนผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงรายก็ไม่ได้มากล่าวรายงานตามกำหนดการประชุม2   อย่างไรก็ตาม คำพูดบางตอนในเนื้อหาการบรรยายระหว่างพิธีเปิดของรองผู้ว่าฯ บ่งชี้ว่า การประชุมในวันนั้นได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงราย “วันนี้ก็เป็นผลพวงมาจากความสามารถของหลายๆฝ่ายที่ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าภาพใหญ่เป็นผู้ประสานงานร่วมกับม.ราชภัฏเชียงราย”

4) เมื่อเทียบกับสาระเท่าที่สืบค้นได้ในการจัดทำธรรมนูญพื้นที่หลายแห่ง4,5,6,7,8 อาจกล่าวได้ว่า งานวิชาการในการประชุมครั้งนี้มีความชัดเจนอย่างเป็นระบบและน่าเชื่อถือกว่ามาก เช่น มีหลักฐานภาพถ่าย(ดูรูปที่ 1)ที่ตอนหนึ่งของวิดีทัศน์ก็นำมากล่าวว่า “...ป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พบพืชหลากหลายชนิดที่ใช้ประโยชน์เป็นอาหาร สมุนไพร ใช้สอย ทันตกรรม ประเพณีและวัฒนธรรม นอกจากนั้นยังพบพืชที่น่าสนใจ เช่น น่อแน่ดง มะกิ้ง มะขม มะเมื่อย และไผ่ปู ผลการศึกษาด้านสัตว์สำรวจพบอย่างน้อย 222 ชนิดแบ่งเป็นนก 140 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 30 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 14 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 20 ชนิด และปลา 18 ชนิด”  ความเป็นระบบยังหมายถึงการมีหนังสือชื่อสุนทรียภาพพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย9 แสดงพันธุ์ไม้ 99จาก 915 ชนิดที่รวบรวมไว้ในฐานข้อมูลอย่างงดงามด้วยภาพถ่ายและภาพวาด  

5) นอกจากการอภิปรายหมู่ในภาคเช้าหัวข้อกรณีศึกษาที่กล่าวในข้อ 1 จำนวนชาวบ้านและเวลาที่พวกเขาร่วมอภิปรายเป็นไปอย่างจำกัดมาก(2คน จาก ประมาณ 40-50 คน) ในการประชุมกลุ่มย่อยภาคบ่าย(ไม่เกิน 15 นาทีจาก 120 นาที) ซึ่งผู้อภิปรายเกือบทั้งหมดคือวิทยากรที่เตรียมตัวมาล่วงหน้าและใช้เวลาเกือบทั้งหมดของการอภิปรายเช่นกัน บ่งชี้ ข้อจำกัดของกระบวนการส่งเสริมการร่วมแสดงความคิดเห็นของชาวบ้าน ซึ่งน่าจะมาจาก  
ก) เนื้อหาการอภิปรายค่อนข้างเป็นวิชาการ เช่น การใช้แผนที่ Google Earth จึงน่าจะเข้าใจยากสำหรับชาวบ้านและอาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว
 ข) วิทยากรกลุ่มไม่ได้แปลภาษาวิชาการให้เข้าใจง่ายและยังกระตุ้นให้ชาวบ้านพูดได้ไม่มากเท่าที่ควร

6)  ประการสุดท้าย เมื่อย้อนกลับไปวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างขั้นตอนต่างๆในแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(กล่าวไว้ในหัวข้อ ที่มา) ไม่แน่ใจว่า ผลผลิตจากขั้นตอนหนึ่งที่เข้าไปสู่ขั้นตอนถัดไปคืออะไร สอดคล้องกันเพียงใด หากพิจารณาจากเอกสารเท่าที่สืบค้นได้10 เอกสารชิ้นนี้กล่าวถึง ก) สภาพปัญหาเป็นประเด็นโดยไม่ได้ให้รายละเอียดและเอกสารอ้างอิงประกอบ   ข) ลำดับขั้นของสิ่งที่คาดว่าจะให้เกิดขึ้น ในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการจัดการลุ่มน้ำภาคเหนือตอนบน  ค)ภาคีต่างๆได้แก่ ภาครัฐ วิชาการ ประชาสังคม อปท. ง)กระบวนการจัดสมัชชาล้านนา จ) ประเด็นความสำเร็จ6ด้าน เป็นต้น  


สรุป
 การประชุมเสวนาและจัดนิทรรศการหัวข้อ “ดิน น้ำ ป่า:วิถีชีวิตและการจัดการโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” ที่โรงแรมริมกกรีสอร์ท จ.เชียงราย 7 กย 2555 เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ ระดับภูมิภาค(ล้านนา)ประเด็น การจัดการทรัพยากรพื้นที่ลุ่มนํ้า ที่มีการวางแผนและดำเนินอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อเตรียมการในขั้นถัดไปคือ ประกาศใช้ธรรมนูญลุ่มน้ำ ในปีพ.ศ.2556 

 การประชุมนี้บ่งชี้จุดเด่นและข้อจำกัด ได้แก่ การมีภาคีร่วมหลากหลายยกเว้นภาครัฐและเอกชน  กระบวนการมีส่วนร่วมอาศัยความรู้ที่ชัดเจนหนักแน่นมากกว่ากระบวนการจัดทำธรรมนูญพื้นที่ในหลายแห่ง แม้ว่ายังขาดความรู้อย่างรอบด้าน  ที่ชัดเจนคือ ไม่ปรากฎหลักฐานการนำเสนอผลการวิเคราะห์(ถ้ามี)ยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย(อาจอนุมานต่อว่า ของจังหวัดอื่นก็คงเป็นลักษณะเดียวกัน)  ทั้งๆที่เป็นปัจจัยที่จะมีอิทธิพลไม่น้อยต่อการเปลี่ยนแปลงในลุ่มน้ำด้วยพลังงบประมาณของภาครัฐ  กระบวนการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นยังไม่อาจระดมส่วนที่พึงได้จากชาวบ้านด้วยอุปสรรคทางภาษาและการกระตุ้นส่งเสริมอย่างจริงจัง

1 ชุดแผ่นภาพประกอบการประชุมสมัชชาเสวนาลุ่มน้ำภาคเหนือ 6 กันยายน 55 โรงแรม นาคนครา จ.เชียงราย

2 กำหนดจัดการประชุมเสวนาและจัดนิทรรศการหัวข้อ “ดิน น้ำ ป่า:วิถีชีวิตและการจัดการโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” ที่โรงแรมริมกกรีสอร์ท จ.เชียงราย 7 กย 2555 ณ ห้องประชุมหิรัญนคร รร.ริมกกรีสอร์ท จ.เชียงราย

3  คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดเชียงราย สำนักงานจังหวัดเชียงราย  แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย
พ.ศ. 2553 - 2556  http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/newpage/business/strategycr2553_2556.pdf อ่านเมื่อ 17 กย 2555

4 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ อรพรรณ ศรีสุขวัฒนา นิติธร ธนธัญญา เขมวดี ขนาบแก้ว บรรณาธิการ  ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ บทเรียนการจัดทำและขับเคลื่อน มิย 2555  บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) กทม.

5 ธรรมนูญเครือข่ายป่าชุมชน ๔ ตำบล จำป่าหวาย แม่กา บ้านปิน คือเวียง ว่าด้วยการจัดการป่าชุมชน ป่าแม่ร่องขุย พ.ศ. 2553

6 พรวิไล คารร์ร่วมสร้างอนาคต กำหนดปัจจุบัน พลิกฝันในอดีต  สมัชชาสุขภาพและธรรมนูญสุขภาพอำเภอสารภี เครือข่ายสมัชชาสุขภาพอำเภอสารภี 2 สิงหาคม 2554

7 สำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้  เรื่องเล่าจากบ้านชะแล้ 

8 เทศบาลตำบลริมปิง อำเภอเมืองลำพูน กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพตำบล เส้นทางสู่ “อายุมั่นขวัญยืน” ตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน  ฉบับที่ 1 พ.ศ.2553

9 ศรีวรรณ ไชยสุข สุนทรียภาพพรรณไม้ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พย 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  บริษัทเชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารีดีไซน์ จำกัด  

10 นิรันดร์ คำแปง  กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ ระดับภูมิภาค(ล้านนา)ประเด็น การจัดการทรัพยากรพื้นที่ลุ่มนํ้า
(เป็นประเด็นใหม่ ปี ๒๕๕๔)  ผู้ประสานงานสมัชชาสุขภาพล้านนา ประเด็นลุ่มนํ้า ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ภาคประชาสังคมเชียงราย(สรปส.)


Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  18th Sep 12

จำนวนผู้ชม:  37076

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง