Sub Navigation Links

webmaster's News

สกู๊ปแนวหน้า: จับตาแรงต้าน พรบ.ควบคุมยาสูบ การดิ้นรนครั้งใหญ่ของธุรกิจบุหรี่ข้ามชาติ



สกู๊ปแนวหน้า: จับตาแรงต้าน พรบ.ควบคุมยาสูบ การดิ้นรนครั้งใหญ่ของธุรกิจบุหรี่ข้ามชาติ




แนวหน้า ฉบับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

 SCOOP@NAEWNA.COM

ปัจจุบันเราทราบกันดีว่า “บุหรี่” เป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพและมีการรณรงค์ต่อต้านในหลากหลายรูปแบบทั่วโลก เช่น การห้ามโฆษณาบุหรี่บนสื่อหลัก ซองบุหรี่ต้องมีภาพและคำเตือนที่ดูแล้วน่ากลัวสยดสยองเพื่อยับยั้งผู้ที่คิด จะสูบ รวมไปถึงร้านค้าปลีก ต้องไม่โชว์บุหรี่บนชั้นวาง สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นมาตรการ เชิงสัญลักษณ์ที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริง เราพบว่า จำนวนผู้สูบบุหรี่ยังไม่ลดลงอย่างที่หลายฝ่ายตั้งเป้าไว้ ขณะที่บริษัทผู้ผลิตและค้าบุหรี่ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบุหรี่ ข้ามชาติต่างใช้ทุกวิถีทางเพื่อเลี่ยงกฎหมาย หรือยับยั้งกฎหมายควบคุมยาสูบที่จะออกมาใหม่


เพื่อมุ่งหวังที่จะขยายตลาดให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่สังคมยังไม่ค่อยตระหนักถึงพิษภัยของ บุหรี่เท่าไรนัก ยิ่งในยุคที่อาเซียนกำลังจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจร่วมกัน กลุ่มธุรกิจยาสูบกำลังผลักดันทุกวิถีทางเพื่อให้ยาสูบอยู่ในสินค้าปลอดภาษี ด้วย วันนี้สกู๊ปหน้า 5 จะพาไปฟังเสียงของผู้ที่ทำงานด้านการเฝ้าระวังธุรกิจยาสูบมาเป็นเวลานาน ถึงความพยายามในการยับยั้ง พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบฉบับใหม่ว่ากลุ่มธุรกิจดังกล่าวมีใคร และกำลังทำอะไรบ้าง


เหตุที่ต้องมีกฎหมายใหม่

แม้ว่าเราจะมี พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบ พ.ศ.2535 ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมธุรกิจยาสูบ และลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลง แน่นอนว่ามันได้ผลอย่างต่อเนื่อง หากแต่ด้วยความที่กฎหมายนี้ ออกมากว่า 20 ปีแล้ว วันนี้เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าทำให้ผู้ผลิตบุหรี่มีช่องทาง หรือกลยุทธ์ในการ นำเสนอสินค้าเพิ่มมากขึ้นโดยกฎหมายตามไม่ทัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์บนอินเตอร์เนต หรือสื่อบุคคลที่ให้พนักงานโปรโมทสินค้าสวมเสื้อผ้าที่ปรากฏยี่ห้อหรือตรา สัญลักษณ์บุหรี่ สิ่งเหล่านี้ กฎหมายที่มีอยู่ล้วนยังไม่ครอบคลุมทั้งสิ้น


“กฎหมายปัจจุบันทำอะไรสื่อบุคคล หรือพริตตี้ไม่ได้ คือใช้พริตตี้ใส่เสื้อผ้าที่ติดยี่ห้อบุหรี่” เป็นคำบอกเล่าจาก นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ถึงกลยุทธ์ใหม่ที่กฎหมายเดิมตามไม่ทัน ซึ่งยังไม่นับเรื่องของการโฆษณาบนสื่ออินเตอร์เนต หรือแม้แต่กลยุทธ์ทางอ้อม เช่น การที่กลุ่มธุรกิจยาสูบพยายามจัดกิจกรรมเพื่อสังคม รวมไปถึงให้เงินสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ของราชการ และที่น่าสนใจซึ่งหลายประเทศทำแล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่มีคือ “การให้ผู้ผลิตบุหรี่ต้องแจ้งรายรับรายจ่ายอย่างละเอียดกับทางราชการ”


“กฎหมายใหม่ บริษัทบุหรี่ต้องแจ้งบัญชีประจำปีให้กับคณะกรรมการค วบคุมยาสูบ อย่างที่สหรัฐอเมริกา หรือสหภาพยุโรปเขาทำแล้ว อย่างที่อเมริกานี่แจ้งกันอย่างละเอียดเป็นรัฐๆ เลยด้วยซ้ำ ถามว่าประเทศไทยเรามีอธิปไตยน้อยกว่าประเทศเหล่านั้นหรือ” นพ.ประกิต กล่าว


เปิดโปง “กลุ่ม-องค์กร” จ่อคัดค้าน

“บริษัทต่างชาติพวกนี้กำลังพยายาม Block กฎหมายควบคุมยาสูบ และหลายองค์กรในประเทศไทย ชัดเจนเลยว่า รับเงินสนับสนุนจาก บริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่ระดับโลก”

นพ.ประกิตยังกล่าวต่อไปอีกว่า ปัจจุบันมีความพยายามที่จะล้มกฎหมายดังกล่าว โดยหลักๆ มีอยู่ 3 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้ชื่อว่า “สมาคมการค้ายาสูบไทย” (TTTA) ซึ่งสมาชิกหลักคือผู้ค้าปลีกยาสูบ กลุ่มที่สองคือ “สมาคมผู้บ่ม และ ผู้ค้ายาสูบไทย” (สยท.) ซึ่งมีสมาชิกที่สำคัญคือ ชาวไร่ยาสูบ และกลุ่มสุดท้ายคือโรงงานยาสูบของประเทศไทย


โดยกลุ่มที่น่าสนใจและต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ 2 กลุ่มแรก เพราะเบื้องหลังของทั้ง 2 กลุ่ม ล้วนปรากฏ ผู้สนับสนุนรายใหญ่ คือ บริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่วันนี้ในประเทศแม่อย่างสหรัฐอเมริกา ก็กำลังถูกควบคุมอย่างเข้มงวด จึงต้องออกมาขยายตลาดในประเทศกำลังพัฒนาแทน ซึ่งกรณีบริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่ระดับโลกแห่งหนึ่ง เคยมีปัญหาสำแดง ราคาถูกกว่าต้นทุนจริงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร เพื่อให้สามารถเข้ามาจำหน่ายในไทยได้ในราคาถูก


“ผู้ค้าปลีก-ชาวไร่ยาสูบ” ทัพหน้าสำคัญ

นอกจากนี้ ในการทำประชาพิจารณ์ร่างฯ ดังกล่าว พบว่ามี 2 กลุ่มหลัก ที่พร้อมจะช่วยบริษัทบุหรี่คัดค้าน กลุ่มแรกคือกลุ่มผู้ปลูกใบยาสูบที่กลัวว่าการออกกฎหมายฉบับใหม่จะทำให้ บุหรี่จำหน่ายได้ยากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นทอดๆ มาสู่กลุ่มเกษตรกรดังกล่าว ส่วนอีกกลุ่มคือร้านค้าปลีกที่ถึงแม้วันนี้จะมีการห้ามจำหน่ายบุหรี่แบบแบ่ง ขาย แต่ในความเป็นจริงก็ยังพบการแบ่งขายดังกล่าวเป็นเรื่องปกติ กฎหมายใหม่ที่จะทำให้การบังคับใช้ จับปรับผู้แบ่งขายบุหรี่ทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น


ซึ่งเรื่องนี้ นพ.ประกิตกล่าวว่า สำหรับกรณีของชาวไร่ยาสูบนั้น การที่กลัวกันว่ากฎหมายดังกล่าว จะทำให้ใบยาสูบขายได้น้อยลงเป็นเรื่องที่กลัวกันจนเกินความจริง ทั้งนี้เพราะจากสถิติที่ผ่านมา แม้จะมีการควบคุมอย่างเข้มงวดเพียงใด แต่จำนวนผู้สูบบุหรี่กลับลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า เร็วๆ นี้จำนวนผู้สูบบุหรี่น่าจะเพิ่มจาก 1,300 ล้านคน เป็น 1,600 ล้านคน ซึ่งถือว่าสูงมากทีเดียว ดังนั้นต่อให้มีกฎหมายฉบับใหม่เกิดขึ้น รายได้ของเกษตรกรไร่ยาสูบคงไม่ลดลงมากนัก


เช่นเดียวกับผู้ค้าปลีก นพ.ประกิตกล่าวว่า กลุ่มคนที่ ซื้อบุหรี่แบ่งขายมักจะเป็นเยาวชน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น การห้ามแบ่งซองขาย จะเป็นการปกป้องสุขภาพของประชาชน ซึ่งไม่เพียงแค่เยาวชนเท่านั้น แต่ยังรวมถึง ผู้มีรายได้น้อยด้วย เพราะนอกจากเยาวชนแล้ว กลุ่มคนวัยทำงานที่ซื้อบุหรี่แบ่งขายก็มีมากพอสมควร ที่สำคัญกลุ่มคนดังกล่าว มักเป็นชนชั้นรากหญ้าที่ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนอีกด้วย


ถ้าคุณทำตามกฎหมาย คือห้ามขายเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ตรงนี้รายได้แค่หายไป 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ส่วนเรื่องผู้ใหญ่ที่ชอบซื้อบุหรี่แบ่งขาย อย่าลืมว่า นั่นมันยาเสพติด ไม่มีประโยชน์เลย รู้ไหมครับว่าคนจนกว่า 1 ล้านคน เฉลี่ย รายได้ 2,094 บาทต่อเดือน แต่ต้องเสียเงินเดือนละพันกว่าบาท ไปซื้อบุหรี่ ถามว่าเราจะปล่อยให้เป็นแบบนี้หรือ” เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าว


การตระหนักในระดับสังคมโลก

ปัญหาบุหรี่ทำลายสุขภาพของประชาชน ทำให้รัฐต้องใช้จ่าย เงินมหาศาลไปกับการรักษาพยาบาล ขณะที่ประชาชนก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่เพราะต้องทนทุกข์กับอาการเจ็บป่วย ที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง โรคปอด โรคหัวใจ ทำให้หลายประเทศมีมาตรการหลายอย่างที่มุ่งเน้นควบคุมธุรกิจยาสูบ โดยประเทศที่เอาจริงเอาจังเป็นพิเศษ เช่น ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ และอีกหลายประเทศ ถึงกับตั้งเป้าไว้ว่าประเทศของตน ต้องปลอดบุหรี่ร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือ End Game เลยทีเดียว


หากมีเด็ก 10 คน ติดบุหรี่ จะมีเพียง 3 คน ที่เลิกได้ และต้องรอให้ 3 คนนี้อายุ 40 ปีขึ้นไป จึงจะเลิก ส่วนอีก 7 คน จะสูบบุหรี่ไปจนตาย และกว่า 5 หมื่นคน ของผู้ป่วยจากยาสูบเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี ถ้าเราไม่ป้องกัน มุ่งจะไปรักษาอย่างเดียว สปสช. จะรับภาระหนักมาก ซึ่งกฎหมายนี้ ยังมีการระบุโทษของผู้ดูแลหรือเจ้าของสถานที่ที่ห้ามสูบบุหรี่ แต่ยังปล่อยให้มีผู้สูบบุหรี่โดยไม่มีการเตือนอีกด้วย” นพ.ประกิต กล่าวทิ้งท้ายปัญหาพิษภัยจากยาสูบเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่คร่าชีวิตประชากร โลก รวมถึงผู้ที่ยังไม่เสียชีวิต ส่วนใหญ่แล้วมักจะประสบปัญหาโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรัง เป็นการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลเนื่องจากรัฐต้องใช้จ่ายงบ ประมาณจำนวนมากเพื่อรักษาและดูแลผู้ป่วยดังกล่าว ดังนั้นหากประเทศใดปล่อยให้ธุรกิจยาสูบแพร่ขยายได้ง่ายและเสรีแล้ว ประชากรของ ประเทศนั้นๆ คงมีแต่คนป่วยเป็นจำนวนมาก ทั้งตัวผู้สูบเอง และผู้คนรอบข้างที่ต้องรับควันมือสองไปด้วยทั้งๆ ที่ไม่ได้สูบ


ท้ายที่สุด ประเทศนั้นคงมีแต่ ขี้โรค  จนยากจะเอางบประมาณไปพัฒนาด้านอื่นๆ ให้ดีขึ้นต่อไป

ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบฉบับใหม่ มีทั้งหมด 9 หมวด 80 มาตรา มีเน้น 5 เรื่อง คือ 1. เพิ่มอายุขั้นต่ำในการซื้อบุหรี่จาก 18 ปี เป็น 20 ปี 2.ห้ามขายลักษณะต่างๆ ที่เยาวชนจะเข้าถึงได้ง่าย เช่น การขายในเครื่องอัตโนมัติ ขายทางอินเตอร์เนต การเร่ขาย ลดแลกแจกแถม 3.ห้ามแบ่งขาย 4.ห้ามขายในสถานที่ที่กำหนด เช่น สถานศึกษา ศาสนสถาน สถานบริการของรัฐ และ 5.ห้ามแสดงชื่อ เครื่องหมาย และทำกิจกรรม CSR และที่สำคัญ มีการเพิ่มโทษ เช่น การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะจาก 2,000 บาท เป็น 5,000 บาท และหากมีการทำกิจกรรม CSR จะมีโทษสถานหนักจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและมีโทษรายวันปรับวันละไม่เกิน 50,000 บาทด้วย

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  17th Sep 12

จำนวนผู้ชม:  37159

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง