Sub Navigation Links

webmaster's News

รายงานพิเศษ: กรมวิชาการเกษตรเตรียมทำประชาพิจารณ์4สารเคมีต้องสงสัยหาข้อสรุปให้ใช้หรือยกเลิก



รายงานพิเศษ: กรมวิชาการเกษตรเตรียมทำประชาพิจารณ์4สารเคมีต้องสงสัยหาข้อสรุปให้ใช้หรือยกเลิก



แนวหน้า ฉบับวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

จากกรณีที่ตัวแทนจากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกประเทศไทย ได้เรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการไม่ให้มีการผลิต นำเข้าและจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง 4 ชนิด ได้แก่ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น โดยทันที เพื่อคุ้มครองสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคที่ได้รับพิษภัยจากสารเคมีดังกล่าว

นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้จัด ประชุม รับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดวัตถุอันตรายเข้าอยู่ในรายการเฝ้าระวัง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ผู้ประกอบการผลิตและนำเข้าวัตถุอันตราย นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนหน่วยงานราชการอื่นๆ กลุ่มผู้ส่งออกสินค้าเกษตร กลุ่ม ผู้บริโภค และกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้และไม่ใช้วัตถุอันตราย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดวัตถุอันตรายเข้าอยู่ในรายการเฝ้าระวัง

ซึ่งเดิมมีหลักเกณฑ์ 12 ข้อ ได้แก่ สารที่มีพิษเรื้อรัง สารที่มีพิษตกค้างสะสมในสิ่งมีชีวิตและถ่ายทอดได้ในห่วงโซ่อาหาร สารที่สลายตัวยากมีความคงทนในสิ่งแวดล้อม สารที่มีพิษเฉียบพลันสูง สารที่พบพิษตกค้างในผลิตผลเกษตรสูงและบ่อยครั้งสารที่มีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษ สารที่เป็นอันตรายอย่างรุนแรงต่อพืชหรือสัตว์ที่มีประโยชน์ สารที่ถูกห้ามใช้ในต่างประเทศ สารที่ใช้แล้วทำให้เกิดการระบาดของศัตรูพืชเพิ่มขึ้น สารที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ ใช้ไม่ตรง ตามคำแนะนำ และมีสารอื่นทดแทน ทั้งนี้ จากความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เสนอให้มีการจัดกลุ่ม หลักเกณฑ์ที่มีความคล้ายกันให้อยู่รวมเป็นข้อเดียวกัน และจัดเรียงลำดับความสำคัญของหลักเกณฑ์การพิจารณาให้เป็นวัตถุอันตรายที่อยู่ในรายการเฝ้าระวัง ซึ่งผลจากการจัดกลุ่มได้รวมหลักเกณฑ์ในการพิจารณาวัตถุอันตรายเพื่อการ เฝ้าระวังเหลือ 7 ข้อ จากเดิมที่มี 12 ข้อ

อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่มีการเรียกร้องไม่ให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง 4 ชนิด คือ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น ขณะนี้ มีความเป็นไปได้ว่าวัตถุอันตราย 2 ชนิด ได้แก่ ไดโคโตรฟอส และอีพีเอ็น อาจถูกเปลี่ยนแปลงระดับการควบคุมเป็น วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง) เนื่องจากมีข้อมูลที่ค่อนข้างชัดเจนซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์เฝ้าระวัง โดยกรมวิชาการเกษตรอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลของ วัตถุอันตรายทั้ง 4 ชนิด เข้าสู่กระบวนการจัดทำประชาพิจารณ์เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในทุก ภาคส่วน คาดว่าน่าจะดำเนินการจัดประชาพิจารณ์ได้ภายในเดือนกันยายนนี้ เมื่อได้ข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วนแล้ว กรมวิชาการเกษตรจะสรุปผลการทำประชาพิจารณ์ดังกล่าว เสนอเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้พิจารณาต่อไปว่าจะอนุญาตให้มีการใช้วัตถุอันตรายชนิดนั้นต่อไปหรือไม่

“ขอยืนยันว่าปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรยังไม่มีการออ กใบสำคัญการขึ้นทะเบียนให้กับสารเคมีทั้ง 4 ชนิด ให้กับผู้ประกอบการรายใดทั้งนั้น โดยข้อมูลล่าสุดในขณะนี้มีวัตถุอันตรายที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วรวมจำนวนทั้งสิ้น 1,618 ทะเบียน แยกเป็น สารกำจัดวัชพืช 849 ทะเบียน สารกำจัดแมลง 419 ทะเบียน สารป้องกันกำจัดโรคพืช 286 ทะเบียน และสารชนิดอื่น 64 ทะเบียน” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  8th Sep 12

จำนวนผู้ชม:  36256

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง