Sub Navigation Links

webmaster's News

สช.หนุนรัฐบาลสร้างหลักประกันสุขภาพคนไทยไร้สถานะ



สช.หนุนรัฐบาลสร้างหลักประกันสุขภาพคนไทยไร้สถานะ



  สช.เปิดเวที หนุนจัดระบบหลักประกันสุขภาพให้กลุ่มคนไทยไร้สถานะ ระบุต้องทำตาม “ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ”และ “มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี51” ที่มีมติให้หน่วยงานรัฐจัดบริการสาธารณสุขรวมทั้งงบประมาณให้ครอบคลุมทุกกลุ่มคนในประเทศ เตือน รพ.ชายแดนรับภาระหนัก และต้องเสี วันนี้ (31 มกราคม 2553)
  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดกิจกรรมราชดำเนินเสวนาเรื่อง “ถามหาความเป็นธรรมด้านสุขภาพให้คนไทยไร้สถานะ” โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพ นายแพทย์วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.โรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก นายสุรพงษ์ กองจันทึก กรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการแก้ไขการไร้สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภา นางสาวชวิดา วาทินชัย สื่อมวลชน นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณด้านรักษาพยาบาลให้แก่คนไทยไร้สถานะ หรือผู้ที่เกิดบนแผ่นดินไทยแต่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มคนไทยไร้สถานะกว่า 5 แสนคนที่ยังไม่มีหลักประกันด้านสุขภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต อีกทั้งทำให้เกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการงบประมาณของโรงพยาบาลชายแดน “ ปัญหาดังกล่าวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความชอบธรรมที่จะดำเนินการให้สิทธิด้านสุขภาพแก่กลุ่มคนเหล่านี้ เพราะในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2552 ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ผ่านคณะรัฐมนตรี และเสนอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบแล้ว ระบุชัดในข้อ 16 ว่า “ประชาชนคนไทยทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยต้องมีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ โดยไม่มีการแบ่งแยกตามฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพทางกาย ความพิการ เพศ อายุ ถิ่นที่อยู่ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อและอุดมการณ์ทางการเมือง”
  นอกจากนี้ สอดคล้องกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2551 เรื่องความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับบริการสาธารณสุขที่จำเป็น เสนอโดยกระทรวงยุติธรรม มีมติ “ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานประกันสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ เช่น สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จัดให้มีบริการสาธารณสุขที่หลากหลาย มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนทั่วไป และกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์และ/หรือชาวไทยภูเขา ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศ” ทั้งนี้มติจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวได้เสนอให้ ครม.รับทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ปีที่แล้ว”
  นายแพทย์อำพล กล่าวโดยกล่าวเสริมอีกว่า “ผมมองว่าหากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเพิ่งมาดำรงตำแหน่งใหม่ ผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นผลสำเร็จ จะเป็นงานชิ้นโบว์แดงชิ้นหนึ่งของท่าน และจะช่วยสร้างความเป็นธรรมทางด้านสุขภาพให้แก่คนไทยทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทยไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด และจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ รวมทั้งการควบคุมป้องกันโรคระบาดและการดำเนินงานสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” เลขาธิการ สช. กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้มีการติดขัดเพราะสำนักงบประมาณ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เห็นว่าอาจมีปัญหาด้านความมั่นคง แต่รัฐบาลสามารถจัดงบประมาณปีละ 1 พันล้านให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ เป็นเงินไม่มากเลย เมื่อเทียบกับการซื้อเครื่องบินกริฟฟิธที่ใช้งบมโหฬาร และไม่เห็นจะเป็นเรื่องความมั่นคงแต่อย่างใด ถ้าคนเหล่านี้ได้รับหลักประกันสุขภาพ จะเกิดความมั่นคงต่อไทยทันที เราต้องมองมิติใหม่ เรื่องนี้เป็นปัญหาความมั่นคงถ้าให้สิทธิ์จะยิ่งสร้างความมั่นคง และใช้หัวใจพูดกันจะแก้ปัญหาได้ ส่วนการพิสูจน์สถานะก็ว่ากันไป ปัจจุบัน คนไทยไร้สถานะ ที่อยู่ในประเทศ คาดว่ามีประมาณ 5 แสนราย ประกอบด้วย กลุ่มประชาชนที่มีใบประจำตัวคนต่างด้าว 79,585 คน ชนกลุ่มน้อย 236,681 คน บุตรของชนกลุ่มน้อย 81,752 คน กลุ่มเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย 27,912 คน และกลุ่มนักเรียนที่ได้รับสิทธิในการศึกษา / กลุ่มผู้พิการ / กลุ่มคนไร้รากเหง้าในสถานสงเคราะห์ ประมาณ 80,000 คน
  ซึ่งคนเหล่านี้ยังขาดความเป็นธรรมในการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ ด้าน นายแพทย์วรวิทย์ กล่าวว่า ปัญหามีมาตลอด เริ่มชัดขึ้นใน 4-5 ปีที่ผ่านมา คนไทยไม่มีบัตรประชาชนไม่มีเจ้าภาพจัดการเรื่องการบริการสาธารณสุข ทางโรงพยาบาลอุ้งผางก็ไม่ได้เก็บเงินเพราะประชาชนกลุ่มนี้ไม่มีเงินจ่าย ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปโรงพยาบาลเจ๊งแน่ และข้อมูลที่รวบรวมใน จ.ตาก มี 5 อำเภอที่ติดชายแดนพม่าจะมีผลกระทบเรื่องงบประมาณในการบริการสาธารณสุขกับกลุ่มคนไทยไร้สถานะในพื้นที่มีประมาณ 3 แสนกว่าคน ซึ่งในบริเวณพื้นที่มี 5 โรงพยาบาลใช้จ่ายงบไปแล้วในปี 52 กว่า 111 ล้านบาท “ถ้ามีการให้หลักประกันด้านสุขภาพก็จะเข้าสู่การป้องกันมากกว่าการซ่อมหรือรักษาพยาบาล และการระบาดของโรคในพื้นที่ มีหลายโรคเกิดขึ้นแล้ว เช่น อหิวาตกโรค ไข้มาลาเรีย โรคกาฬหลังแอ่น และวัณโรค
  โดยเฉพาะวัณโรคนี่สำคัญมากเพราะมีอาการดื้อยา ตรวจสอบพบปอดไม่เหมือนคนปกติ โอกาสแพร่เชื้อยิ่งมากขึ้น นี่เป็นการตรวจพบจากแรงงานต่างด้าว ไม่ใช่กลุ่มคนไร้สถานะด้วยซ้ำ และเด็กนักเรียน เด็กเล็กมีการระบาด ดังนั้นควรเป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติทางกระทรวงสาธารณสุขต้องทำเรื่องนี้”นายแพทย์วรวิทย์ กล่าว และว่า บางครั้งโรคระบาดอยู่ในหมู่บ้านฝั่งพม่าเข้าไปลึกประมาณ 1-2 กิโลเมตร ทางโรงพยาบาลก็ต้องเข้าไปจัดการ ไม่เช่นนั้นเอาไม่อยู่อาจระบาดเข้ามาฝั่งไทยได้ “โรงพยาบาลถูกจำกัด ล่าสุด ไข้หวัดใหญ่ 2009 ไข้สแปนนิช ตับอักเสบ และยาบางตัวไม่กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ไม่มีสิทธิได้ยา และยิ่งวัณโรคถ้ากลุ่มไม่มีบัตรก็ลำบากเรื่องยา ก็ไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไรกัน แต่เรื่องสุขภาพไม่ใช่เรื่องบัตร บัตรประกันสุขภาพ บัตรประชาชน ต้องให้เท่าเทียมกัน ต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบไม่เช่นนั้นโรงพยาบาลชายแดนเอาไม่อยู่แน่ๆ ตอนนี้ก็เป็นหนี้กว่า 20 ล้านบาท ซึ่งในวันที่ 1 ก.พ.จะเข้าพบ นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เร่งช่วยเหลือกลุ่มคนไทยไร้สถานะกลุ่มแรก 5 แสนรายนี้ก่อน” นายแพทย์วรวิทย์ ระบุ นายยอด ปอง กลุ่มคนไทยไร้สถานะ ที่ศึกษาในโรงเรียนวัดนวลนรดิศวิทยาคมรัชมังคลาภิเษก กล่าวในเวทีว่า ในการสำรวจมีการไปบังคับให้เป็นสัญชาติพม่าทั้งที่ไม่ใช่จึงอยากให้ภาครัฐช่วยตรงนี้ด้วย
  ในส่วนตนถือว่าเป็นโชคดีที่ได้รับการศึกษา แต่เมื่อจบไปแล้วไม่มีบัตรประชาชนก็ไม่สามารถไปทำงานได้ และการที่ไม่มีบัตรประชาชนทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ไม่กล้าไปโรงพยาบาล มักจะไปซื้อยากินเอง นายสุรพงษ์ กล่าวว่า มีคำถามว่าทำไมต้องเอาเงินคนไทยไปช่วยคนต่างชาติด้วย แต่คนเหล่านี้ใช้จ่ายในเมืองไทยก็ต้องเสียภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมตามระบบอยู่แล้ว ส่วนในเรื่องรัฐธรรมนูญไม่ได้ครอบคลุมกลุ่มคนเหล่านี้ เป็นการเข้าใจผิด
   เพราะกฏหมายใช้บังคับกับคนทุกคนในแผ่นดินไทย ไม่ได้ใช้เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ขณะเดียวกันงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่กลัว่าหากครอบคลุมคนกลุ่มนี้จะต้องเพิ่มขึ้นนั้น ตามความจริงการเพิ่มของงบประมาณสุขภาพถ้วนหน้าเป็นการเพิ่มด้านคุณภาพรักษาพยาบาลไม่ใช่การเพิ่มเรื่องจำนวนคนมีสิทธิ์ “รัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และได้อนุมัติยุทธศาสตร์ที่เสนอโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดังนั้นเรื่องคนไทยไร้สถานะไม่ใช่เรื่องใหม่มีอยู่ในนโยบายภาครัฐอยู่แล้ว ขาดเพียงแต่รับาลยั งไม่ได้เจียดงบประมาณมาให้เท่านั้นเอง” นายสุรพงษ์ กล่าว

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  34860

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว