Sub Navigation Links

webmaster's News

ข้อจำกัดการประเมิน ผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ในประเทศไทย



ข้อจำกัดการประเมิน ผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ในประเทศไทย



ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ดร.ประยุทธ เยาวขันธ์ TEAM GROUP

นับตั้งแต่เหตุการณ์การฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งระงับการทำกิจการของ 84 โครงการ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ดูเหมือนคำว่า “การประเมิน ผลกระทบทางสุขภาพ หรือ Health Impact Assessment ที่เรียกย่อ ๆ ว่า เอชไอเอ (HIA) จะติดปากประชาชนขึ้นมาในทันที

ประกาศคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการ ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจาก นโยบายสาธารณะ พ.ศ. 2552 นิยามการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพไว้ว่า “เป็นกระบวนการเรียนรู้กันของสังคมในการวิเคราะห์ และคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางด้านบวกและด้านลบต่อสุขภาพ ของประชาชน ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง หากดำเนินการในช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกันโดยมีการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่หลากหลาย และมีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว”

อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังไม่มีการออกกฎหมายจัดตั้งองค์กรอิสระออกมา อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งเมื่อพิจารณา ผลการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เอชไอเอ ยังพบว่ามีข้อจำกัดและปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย

จากรายงานคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพ นำโดย น.พ.วิพุธ พูลเจริญประธานกรรมการ บ่งชี้ให้เห็นว่า แม้ จะมีการใช้กรอบแนวคิดสำคัญของ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ร่วมกัน หากแต่การให้อำนาจและ กระบวนการตัดสินใจในแต่ละขั้นตอน ยังมีความแตกต่าง

อีกทั้งหลักเกณฑ์ของเอชไอเอใน ฉบับปัจจุบัน มุ่งเน้นความสำคัญไปที่ การให้รายละเอียดของกิจกรรมที่ต้องดำเนินการมากกว่าคุณสมบัติและวิธีการดำเนินงานที่จะมุ่งสู่ผลลัพธ์ในแต่ละ ขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลลัพธ์ที่จะ ส่งผลต่อการดำเนินงานต่อเนื่องในขั้น ถัดไป

ส่งผลทำให้เกิดช่องว่างในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องดำเนินการร่วม กับกระบวนการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมในรูปแบบ EHIA ซึ่งต่างมี เงื่อนไข กฎหมาย กฎระเบียบข้อ บังคับ ภายใต้แนวคิดและหลักการที่ แตกต่างกัน

กรอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์ และแนวทางในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่น่าสนใจมีดังนี้คือ ประการแรก การขยายประเภทโครงการที่จะต้อง ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และสุขภาพให้กว้างขวางกว่าที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติได้กำหนดไว้

ได้แก่ การจัดทำและปรับปรุงผังเมือง การจัดทำแผนภูมิภาค การจัดทำแผน โครงข่ายคมนาคม การจัดทำแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้า การจัดทำแผน/ยุทธศาสตร์การพัฒนาแร่/เหมืองแร่ การกำหนดนโยบายการวางแผนการเพาะปลูกเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงทางพันธุกรรม การกำหนดนโยบายการวางแผนเกี่ยวกับวัตถุอันตราย กากของเสียอันตราย และสารกัมมันตภาพรังสี การกำหนดนโยบายการค้าเสรีหรือการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และการวางแผนเพื่อดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดในพื้นที่ที่มีคุณค่าทางการอนุรักษ์ เช่น พื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ และ ระดับนานาชาติ

การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามนัยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ไม่ได้อยู่ภายใต้ขอบเขต การดำเนินการของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และขอบเขตอำนาจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เท่านั้น

แต่ยังอยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละกระบวนการนโยบาย โดยนิตินัยแล้ว ขอบเขตของรัฐธรรมนูญย่อมมีอำนาจ มากกว่าพระราชบัญญัติทั้งหลายทั้งปวง ถึงแม้การกำหนดประเด็นโครงการ และกิจกรรมในด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติบางส่วนอยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทว่า รายละเอียดใน ประเด็นและมิติอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบ ทางสุขภาพไม่ได้มีการกำหนดรายละเอียดที่ชัดเจน จึงต้องมีการวางกรอบกระจายการพิจารณาการคัดกรอง (screening stage) ให้มีกลไกการรับผิดชอบให้ ชัดเจน

ประการที่ 2 หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีกรอบของกฎหมาย และการให้อำนาจที่แตกต่างกัน นับแต่ หน่วยงานราชการในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น หรือหน่วยงานเอกชน การเรียนรู้ร่วมกับประชาคมต่าง ๆ ให้ครอบคลุม เพื่อให้การศึกษาความเหมาะสมของกิจกรรมหรือโครงการที่จะทำมีความสอดคล้องกับเงื่อนไขผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้-เสีย หรือแนวทางการพัฒนาของประชาคมภายในพื้นที่ เพื่อป้องกันความขัดแย้ง หรือการต่อต้านที่อาจเกิดขึ้นตามมา ในภายหลัง จึงต้องดำเนินการในทุก ขั้นตอน ได้แก่ การคัดสรรประเด็นที่จะ เข้าสู่กระบวนการประเมินผลทาง สุขภาพ กำหนดขอบเขตและประเด็น สำคัญที่ควรศึกษาประเมินโดยภาคี สาธารณะ ประเมินผลทางสุขภาพ ในมิติทั้ง 4 โดยเปิดให้ภาคีสาธารณะ มีส่วนร่วม การนำผลการประเมิน ผลกระทบกลับมาร่วมทบทวนวิเคราะห์ โดยภาคีสาธารณะ การนำผลการ ประเมินเพื่อนำเสนอสู่กระบวนการ ตัดสินใจขอบเขตการดำเนินการ และการจัดการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามขอบเขต และประเด็นที่เป็น ข้อห่วงกังวลที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

ประการที่ 3 ให้ความสนใจในการร้องขอของประชาคมหรือประชาชนตามมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นช่องทางที่เสนอผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และ คณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โดยจัดเป็นนโยบายสาธารณะที่หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องรับผิดชอบ หรือนำไปสู่การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน และควรมีการสนับสนุนทางวิชาการ มีการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน ตลอดจนนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่แสดงผลกระทบทางสุขภาพต่อสาธารณชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และอาจนำเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อการตัดสินใจประกอบด้วย

ประการสุดท้าย กรณีที่เป็นการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน ภาคชุมชน ควรจะเป็นหลักในการดำเนินการทั้งหมด ตั้งแต่การคัดกรองประเด็นที่ต้องการเรียนรู้จนถึงขั้นสรุป หรือการทบทวนผลการศึกษาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ รวมไปถึงการวางแผนร่วมกันติดตามตรวจสอบและประเมินผลตามมาตรการต่าง ๆ ที่นำมาใช้

เพื่อปรับแก้ผลกระทบต่อฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหรือกิจกรรม

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  9th Jul 12

จำนวนผู้ชม:  37175

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง