Sub Navigation Links

webmaster's News

ต่อยอดสมัชชาสุขภาพจังหวัด



ต่อยอดสมัชชาสุขภาพจังหวัด



สยามรัฐ ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมัชชาสุขภาพ เป็นกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่สนใจเข้ามาร่วมทำงานด้วยกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร และร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเหล่านั้นไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตามทิศทางของระบบสุขภาพใหม่ที่เน้นการ&# 8221;สร้าง” “นำ” “ซ่อม”สมัชชาสุขภาพ เป็นกระบวนการทำงานแบบต่อเนื่องไม่รู้จบ ไม่ใช่เป็นแค่การจัดประชุมเป็นครั้งๆ ไปเท่านั้น

สมัชชาสุขภาพ เป็นกระบวนการ”ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ”ที่จำต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการ”เคลื่อนไหวสังคม”คือทำให้สังคมเกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องนั้นๆ ไปพ ร้อมๆ กันด้วย

สมัชชาสุขภาพที่พึงประสงค์ มีองค์ประกอบสำคัญ ๖ประการ คือ (๑) มีกลไกการจัดการแบบพหุภาคี ๓ ภาคส่วน (รัฐวิชาการ-ประชาชน) (๒) มีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบมีแบบแผน และมีการสื่อสารกับสาธารณะ (๓) มีการทำงานทางวิชาการเป็นฐานการพัฒนานโยบาย (๔) ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด (๕) มีประเด็นชัดเจนและมีการพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะ (หรือข้อเสนอเชิงนโยบาย) ที่สอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และ (๖) มีการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะต่างๆ เหล่านั้นสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

๑๐ ปีที่ผ่านมา ในส่วนของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการพัฒนากระบวนการอย่างเป็นระบบ มีความก้าวหน้าเป็นที่ประจักษ์ จนเป็นที่กล่าวถึงทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติส่วนการพัฒนาสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น มีลักษณะที่กระจัดกระจายและหลากหลาย ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็น”ทุนทางสังคม” ที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้อีกมากเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นที่มีนายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐเป็นประธาน ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และเฉพาะประเด็นไว้ ๓ ข้อ คือ (๑) สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและความผูกพันของแกนนำสมัชชาสุขภาพในทุกระดับ (๒) ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมเป็นเจ้าของและใช้ประโยชน์จากสมัชชาสุขภาพอย่างจริงจัง และ (๓) สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างการยอมรับและมีส่วนร่วม

ดังนั้น เมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ ๒ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาสมัชชาสุขภาพทุกประเภท ทุกระดับ จึงได้ปรับทิศทางมาเน้นสนับสนุน”การต่อยอดพัฒนาสมัชชาสุขภาพจังหวัด” เพื่อให้สมัชชาสุขภาพจังหวัดเป็นเครื่องมือรองรับการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในระดับจังหวัด ที่หน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายต่างๆ ในจังหวัดนั้นๆ จะเข้ามาเป็นเจ้าของและใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างจริงจังมากขึ้นกว่าที่ผ่านๆ มา และสามารถเชื่อมประสานกับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้อย่างผสมกลมกลืน

สมัชชาสุขภา พปราบแผ่นดินอาบยาพิษ

ในตำบลป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน มี ๑๒ หมู่บ้านเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกะหล่ำปลีอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างมาก เพื่อให้ผลผลิตออกมาสวยน่ารับประทานและได้ราคาดี บางครั้งจึงต้องทำให้รีบตัดขาย ทั้งๆ ที่เพิ่งฉีดยาป้องกัน และกำจัดโรคแมลงไปแล้วยังไม่ทันข้ามวัน เพียงเพื่อให้ได้ราคาสูง หรือกำไรมากกว่าปกติ

ต่อมาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียงได้เข้ามาตรวจเลือดชาวบ้านที่นี่พบว่า ร้อยละ 80 มีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงทำให้ชาวบ้านเริ่มตระหนักถึงพิษภัยที่กำลังคืบคลานมาสู่ตนเองหลายคนยอมไม่ได้ที่จะให้พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลานจะต้องล้มป่วยและทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บไข้ได้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากสารเคมีทางการเกษตร

ดังนั้นคุณโสรัจจ์ ปวงคำคง แกนนำสมัชชาสุขภาพจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เข้ามาสร้างความตระหนักให้กับเกษตรกรในพื้นที่ทั้งตำบลให้เข้ามีส่วนร่วม ตลอดจนช่วยกันรณรงค์ ไม่ให้ชุมชนใช้สารเคมีในพื้นที่สีเขียว เพื่อสกัดกั้นพื้นที่สีแดง ที่กำลังจะรุกล้ำเข้ามาทำไร่กะหล่ำปลีได้ โดยมีการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสมัชชาสุขภาพประเด็นการเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ พัฒนาฐานข้อมูล และสร้างองค์ความรู้จากพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวังทางสุขภาพได้ โดยเริ่มจากรวมกลุ่มเกษตรกรผู้มีใจที่จะต่อสู้กับสารเคมีมาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนกันในเวทีเป็นระยะๆ เพื่อหาข้อมูล และจัดเวทีเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน นอกจากนี้ยังได้ไปศึกษาดูงานในพื้นที่บ้านห้วยริน ตำบลแม่ลาน้อย ทำให้กลุ่มเกษตรกรเหล่านี้ได้เห็นการปลูกพืชปลอดสารพิษที่ครบวงจร มีการผลิตปุ๋ยใช้เองในชุมชนไม่พึ่งพาการนำเข้าจากภายนอก นำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ใช้สารเคมี และยังสามารถให้ความรู้กับเกษตรกรอื่นๆ ที่สนใจได้อีกด้วย

นี่เป็นทางออกที่ชุมชนเห็นปัญหา และรวมพลังกันอย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ คือใช้ความรู้ควบคู่กับการทำจริง จนออกมาเป็นนโยบายสาธารณะของตำบลป่าแป๋ ที่เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีและร่วมกันผลิตปุ๋ยชีวภาพ รวมทั้งจัดตั้งกลไกเฝ้าระวังใน ๗ หมู่บ้านสีเขียวที่มีป่าต้นน้ำ เพื่อร่วมกันดูแลการนำสารเคมีเข้ามาในพื้นที่โดยเป็นความร่วมมืออย่างเต็มใจของทุกฝ่ายในชุมชน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  3rd Jul 12

จำนวนผู้ชม:  36274

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง