Sub Navigation Links

webmaster's News

เด็กไทย ;อีคิว ;ต่ำเกณฑ์ อายุ6-11ปีน่าเป็นห่วง!



เด็กไทย ;อีคิว ;ต่ำเกณฑ์ อายุ6-11ปีน่าเป็นห่วง!



มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผลสำรวจพบเด็กอีสานอีคิวต่ำสุด รองลงมากรุงเทพฯ ภาคเหนือ ขณะที่ภาคใต้เกือบเท่าเกณฑ์ปกติ กรมสุขภาพจิตเผยเด็กไทยอีคิวต่ำกว่ามาตรฐาน

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่ 1 และการประชุมวิชาการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย ครั้งที่ 9 “เด็กไทย…ก้าวไกลสู่อาเซียน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 มิถุนายน ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน มีทั้งเรื่องน่ายินดีที่เด็กไทยมีความสามารถแข่งขันด้านต่างๆ ในเวทีระดับภูมิภาคหรือระดับโลกได้อย่างภาคภูมิใจ สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้อย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกัน ยังพบพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนบางส่วนที่สร้างความรุนแรง ความเสียหายขึ้นในสังคม เป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนต้องตระหนัก

นพ.ณรงค์กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิตมีโครงการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ หรืออีคิว (EQ) ในเด็กและเยาวชน โดยได้สำรวจอีคิวเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ปี 2545, 2550 และ 2555 จากกลุ่มเด็กอายุ 6-11 ปี จำนวน 5,325 คน ใน 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ระยอง สมุทรสาคร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด กระบี่ และปัตตานี จากการสำรวจโดยใช้แบบทดสอบอีคิวฉบับกรมสุขภาพจิต พบว่าระยะ 3 ปี ที่ทำการสำรวจ ผลรวมของคะแนนในกลุ่มอายุ 6-11 ปี คะแนนอีคิวปี 2554 มีค่าต่ำสุดที่ 169.72 จาก 179.58 ในปี 2550 และ 186.42 ในปี 2545 หลังจากได้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว ได้คำนวณทางสถิติเพิ่มเติม ปรากฏว่าเด็กไทยอีคิวยังต่ำกว่าปกติ จึงต้องเร่งหาแนวทางป้องกัน “กรมสุขภาพจิตจะร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านเด็ก เสริมปัจจัยการเรียนรู้ให้เด็กและครอบครัว ทั้งส่งเสริมพ่อแม่ ผู้ปกครอง สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้เต็มศักยภาพ ภายใต้บรรยากาศที่มีความสุข ได้แก่ การโอบกอด การให้กำลังใจ และเน้นพัฒนาระบบการเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตเด็กในระดับอำเภอ เพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องด้านสุขภาพจิตให้สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตเด็กในระดับอำเภอ เพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องด้านสุขภาพจิตให้ได้รับการดูแลมากขึ้น” นพ.ณรงค์กล่าว

ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า ผลสำรวจดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลดิบ ต้องนำมาวิเคราะห์และคำนวณเป็นค่ามาตรฐานทางสถิติที่เรียกว่า การคิดค่า t score (ที สกอร์) หลังจากคำนวณแล้ว พบว่าในปี 2554 มีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์เฉลี่ยระดับประเทศอยู่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

“สรุปว่ามีค่าคะแนนที่ 45.12 จากค่าคะแนนปกติ 50-100 จากการพิจารณาองค์ประกอบย่อยในแต่ละด้าน จะพบว่าการปรับตัวต่อปัญหา มีค่าคะแนนที่ 46.65 การควบคุมอารมณ์ 46.50 การยอมรับถูกผิด 45.65 ความพอใจในตนเอง 45.65 ความใส่ใจและเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น 45.42 การรู้จักปรับใจ 45.23 และที่เป็นจุดอ่อนมาก ได้แก่ ความมุ่งมั่นพยายาม มีค่าคะแนนที่ 42.98 รองลงมา คือ ความกล้าแสดงออก 43.48 และความรื่นเริงเบิกบาน 44.53″ พญ.พรรณพิมลกล่าว และว่า เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ตามเกณฑ์ปกติ ที่มีค่าคะแนน 50-100 พบว่า ภาคใต้มีคะแนนอีคิวเฉลี่ยสูงสุดที่ 45.95 ใกล้เคียงกับค่าปกติมากที่สุด รองลงมา คือ ภาคเหนือ 45.84 กรุงเทพฯ 45.62 ภาคกลาง 44.38 และต่ำสุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44.04 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำเป็นต้องมีการพัฒนาระดับอีคิวเพิ่มขึ้น ทั้งการดูแลเอาใจใส่ การปลูกฝังสิ่งที่เหมาะสมต่างๆ ทั้งนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจดังกล่าว ในปี 2555 จะขยายกลุ่มสำรวจเป็น 36 จังหวัด โดยจะศึกษาและแก้ไขโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในแต่ละจังหวัดเป็นหลัก และจะผลักดันให้แต่ละจังหวัดมีแพทย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยตรงด้วย

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  3rd Jul 12

จำนวนผู้ชม:  36615

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง