Sub Navigation Links

webmaster's News

เดินหน้าแผนพัฒนายั่งยืนภาคใต้



เดินหน้าแผนพัฒนายั่งยืนภาคใต้



“แผนพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีภาคใต้” จัดเวที ดึงทุกองค์กร 14 จังหวัดภาคใต้ร่วมตกผลึกแผนพัฒนา ยันยึดเศรษฐกิจพอเพียง ฯ คณะทำงานเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย “แผนพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีภาคใต้” จัดเวที ดึงทุกองค์กร หน่วยงานรัฐและภาคีประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ร่วมตกผลึกแผนพัฒนา ยันยึดเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะชุมชน มื่อช่วงต้นเดือนกันยายน มีการจัดประชุม “เวทีร่วมกำหนดแผนพัฒนาอยู่เย็นเป็นสุขภาคใต้” เป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ในประเด็น “แผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเองด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กรณีภาคใต้” ที่ห้องแกรนด์คอนเวนชั่น โรงแรมแกรนด์ปาร์ค จ.นครศรีธรรมรา โดยสรุปการระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเวที ที่ประกอบด้วย ผู้แทนชุมชนที่จะได้รับผลกระทบจากการพัฒนาแผนพัฒนาภาคใต้ของฝ่ายรัฐ ตัวแทนชุมชนที่มีการพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ตัวแทนสภาองค์กรชุมชน นักวิชากร ประชาสังคม นักพัฒนา เครือข่ายสุขภาพ ซึ่งเป็นตัวแทนมาจาก 14 จังหวัดในภาคใต้ ได้มาร่วมระดมความคิดเห็น โดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ให้การสนับสนุน ทั้งนี้ มีผลสรุปการระดมความคิดเห็นของกลุ่มทั้งหมดได้ดังนี้ พ.ศ. 2523 – 2535 มีการส่งเสริมการลงทุน โดยการดึงทุนต่างชาติมาลงทุน แรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ระบบการผลิตเกษตรตกต่ำ ทำบ่อกุ้งตลอดริมฝั่งเลิกทำนา เริ่มบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกปาล์ม การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การกัดเซาะชายฝั่ง ระบบนิเวศน์ของน้ำเปลี่ยนเส้นทาง มีปัญหาน้ำเสีย มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขยายเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ เขื่อน ถนน ไฟฟ้า สาธารณูปโภค ทะเล บุกรุกป่าชายเลน พ.ศ.2536 - 2540 เริ่มมีนักพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ทำงานกับชาวบ้าน มีการประท้วงต่อสู้ทางนโยบาย เช่น สมัชชาคนจน การเรียกร้องราคายาง พ.ศ.2540 - 2550 กระแสการท่องเที่ยวมาแรง แรงงานอพยพย้ายถิ่นเข้าสู่เมือง ชาวบ้านเรียกร้องสิทธิชุมชนมากขึ้น นโยบายรัฐรุกแผนพัฒนาอุตสาหกรรม สร้างสะพานเศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรม ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม มีการแย่งชิงทรัพยากร ที่นาเปลี่ยนเป็นโรงงาน ต่อมาเปลี่ยนเป็นพืชพลังงาน มีการขายที่ดินให้ต่างชาติ ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ กลไกของรัฐได้กำหนดมาแล้วว่าต้องมีการลงทุน แผนพัฒนาใช้ภาษาที่ชาวบ้านไม่เข้าใจ มีการเปลี่ยนพื้นที่จากสีเขียวเป็นสีม่วง เพื่อดำเนินการเขตอุตสาหกรรม ขณะที่โบราณสถานถูกทำลาย เกิดปัญหาสังคม ปัญหาสุขภาวะที่ไม่ดี ดังนั้นที่ประชุมมีมติว่าในเรื่องวิสัยทัศน์ของการพัฒนาภาคใต้ต้องฟื้นฟูภูมิปัญญา สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกมิติ อยู่ร่วมอย่างมีคุณค่า พ ัฒนาอย่างมีส่วนร่วมวิถีชุมชนไม่ล่มสลาย มีการแบ่งปันทรัพยากรท้องถิ่นอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พึ่งตนเอง มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีและมีส่วนร่วม ความอยู่เย็นเป็นสุขของคนใต้ สำหรับข้อเสนอแนวทางการพัฒนา เน้นพัฒนาเศรษฐกิจให้กลับไปหาทุนเดิมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ พัฒนาเหมือนในอดีต ทำนา ทำสวนอย่างมีอิสระ พัฒนาคน การศึกษา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยประชาชนมีสิทธิร่วมกำหนดการพัฒนาทุกรูปแบบในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ซึ่งจะดำเนินการในรูปแบบกระบวนการสร้างแกนนำทุกพื้นที่ ทุกระดับ และภาคีร่วมกัน เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรชุมชน สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชนอย่างเท่าทัน ตรวจสอบแผนพัฒนาและนโยบายสาธารณะทุกขั้นตอน พร้อมนำเสนอนโยบายต่อภาครัฐ ด้านงานวิจัยประชาคมต้องมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ทำประชาพิจารณ์ ประชาคมที่มีความชัดเจนจริงใจ และชุมชนต้องร่วมตัดสินใจ โดยประชาชนเป็นผู้กำหนดนโยบายการพัฒนา มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ประธานคณะทำงาน คือ รศ.ดร.สุริชัย หวันแก้วรองประธานคณะทำงาน นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ และคณะทำงานอีก 12 คน ประกอบด้วยนักวิชาการ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญพื้นที่ชายฝั่งทะเล ผู้เชี่ยวชาญผังเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรฯ มีบุคลากรจากภาครัฐที่สามารถเข้าร่วมได้ คือ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม คณะทำงานเห็นว่า ยังขาดกลุ่มตัวแทนภาครัฐและภาคธุรกิจ จึงจะมีการจัดเวทีระดับจังหวัดทั้ง 14 จังหวัดอีกครั้ง นอกจากนี้ พบว่าแผนจากภาครัฐในการพัฒนาภาคใต้ โดยหลักใหญ่ดำเนินการโดยสภาพัฒน์ฯ แต่ขณะนี้ยังเป็นร่างซึ่งยังไม่ได้รับการอนุมัติ แต่ก็มีการพัฒนาในพื้นที่ตามร่างแผนฯอย่างต่อเนื่อง และยังมีแผนพัฒนาที่ได้ดำเนินการในพื้นที่จากหน่วยงานรัฐอื่นๆ อีก เช่น แผนผังเมือง แผนพัฒนาอุตสาหกรรม แผนพัฒนาด้านพลังงาน แผนพัฒนา 3 จังหวัดภาคใต้ ฯลฯ ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้เข้าไปพัฒนาในพื้นที่ โดยมิได้ประสานเชื่อมโยงกันในระดับภาค และไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน แต่ประชาชนต้องการให้มีการพัฒนาโดยดูจากศักยภาพของพื้นที่เป็นหลัก เช่น ในระดับมหภาค ด้านเศรษฐกิจภาคใต้มีโครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้ส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับสาขาเกษตรเป็นหลักประมาณร้อยละ 35 รองลงมา ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม บริการและการค้า ตามลำดับ ภาคการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปผลิตผลการเกษตรซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ภาคใต้มีทรัพยากรต่างๆ มากมาย เช่น ยาง ปาล์ม และสัตว์ทะเล มีการทำประมงชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่งทะเลของภาคใต้เป็นฐานที่สำคัญต่อประชากรของประเทศ อีกทั้งภาคใต้มีภูมินิเวศน์ที่แตกต่างหลากหลายสามารถสร้างความสมดุลของชีวิตได้ ในระดับจุลภาค ประชากรภาคใต้มีศักยภาพของสังคมที่มีความเข้มแข็งของชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเกษตรพึ่งตนเอง กลุ่มสวัสดิการ กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากร ฯลฯ ในปี 2551 กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการยกระดับกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตที่มีความเข้มแข็งให้เป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เป็นต้น ดังนั้น ทางเลือกทางออกที่ทางคณะทำงานเฉพาะประเด็นนโยบายแผนพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคใต้ จะดำเนินการมีดังนี้ คือ จัดประชุมเวทีระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดขึ้นโดยให้มีตัวแทนจากรัฐ เอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งจัดการประชุมร่วมกับภาครัฐที่มีหน่วยงานบทบาทในการกำหนดแผนพัฒนาภาคใต้ เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพัฒนาผังเมือง การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การพัฒนาด้านพลังงาน ได้ร่วมรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เพื่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วม สำหรับการเสนอร่างมติ ผ่านคณะทำงานเฉพาะประเด็นฯ เข้าสู่วาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยมีข้อเสนอ 3 ข้อ ได้แก่ 1) ให้รัฐบาลทบทวนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ในประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และชะลอการดำเนินการของหน่วยงานรัฐและการดำเนินการของบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมขาดใหญ่ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของภาคใต้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนทั้งด้านสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้เปิดเผยข้อมูลการดำเนินการของหน่วยงานรัฐต่อประชาชน ทั้งในระดับโครงการและระดับแผนพัฒนาภาคใต้ 2) ให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาชุดหนึ่งประกอบด้วย ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคชุมชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้และกำหนดแผนแม่บทการพัฒนาภาคใต้ และมีบทบาทสำคัญสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชุมชนและชุมชนภาคใต้ โดยเป็นการกำหนดแผนพัฒนาระดับภูมิภาคภาคใต้บนฐานการประเมินผลกระทบยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Strategic Environmental Assessment/SEA) 3) คณะกรรมการชุดดังกล่าวควรเร่งดำเนินการภายใน 1 ปี และยึดถือหลักฐานทางวิชาการ ความรู้ และประสบการณ์ของประชาชนและชุมชนเป็นสำคัญ และมีมาตรการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคใต้นำแผนดังกล่าวไปใช้ปฏิบัติ รวมทั้งนำแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืนจากกรรมการชุดนี้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 3 ปี 2553 ต่อไป ทีมข่าว สช นิวส์ รายงาน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  35630

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง