Sub Navigation Links

webmaster's News

WHO ชี้ดีเซลก่อมะเร็งค่ายรถสปีดเพิ่มมาตรฐานปล่อยไอเสีย



WHO ชี้ดีเซลก่อมะเร็งค่ายรถสปีดเพิ่มมาตรฐานปล่อยไอเสีย



ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติ ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันดีเซลว่า ควันไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นตัวการก่อให้เกิด โรคมะเร็งปอด โดยผลจากการศึกษา พบว่าไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นสารก่อมะเร็ง เนื่องจากอนุภาคของสารพิษในไอเสียจากน้ำมันดีเซลที่ปนเปื้อนอยู่ใน ชีวิตประจำวัน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในปอด และนำไปสู่มะเร็งปอดได้

ซึ่งได้ประกาศในงานการประชุมทางวิทยาศาสตร์ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาระบุว่า ไอเสียจากดีเซลเป็นสารก่อมะเร็งโดยตรง จากเดิมที่ระบุว่าเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งเท่านั้น โดยไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลนั้นเป็นสารก่อมะเร็ง ประเภทเดียวกับแร่ใยหิน แอลกอฮอล์ และรังสีอัลตราไวโอเลต

ผู้อำนวยการทางการแพทย์ขององค์กรระหว่างประเทศในการวิจัยมะเร็งกล่าวว่า องค์กรได้มีความกังวลเกี่ยวกับน้ำมันดีเซลมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องยกเลิกใช้รถยน ต์ดีเซล เนื่องจากสำหรับผู้ที่ต้องเดินผ่านควันจากไอเสียของน้ำมันดีเซลนั้นไม่มีอันตรายมากนัก แต่สำหรับคนงานที่ต้อง สูดเอาไอเสียจากเครื่องจักรกล และรถบรรทุกเป็นเวลานาน จะมี ความเสี่ยงได้รับสารพิษอันตรายมากกว่า

และผู้ที่ได้รับผลกระทบอยู่ในส่วนของประเทศที่ยังไม่พัฒนา ที่มีการใช้รถบรรทุก เครื่องจักรในฟาร์มและโรงงานที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นน้ำมันดีเซล ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่งที่แม้จะมีการใช้น้ำมันดีเซลเช่นกัน แต่มีการพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีการเผาไหม้ที่ดีขึ้น ลดสารพิษที่ปล่อยสู่อากาศเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว มีการปล่อยสารซัลเฟอร์ออกสู่อากาศน้อย เช่น รถบรรทุกและรถบัสรุ่นใหม่ที่มีการปล่อยสารดังกล่าวสู่อากาศลดลงจากรุ่นเดิมราว 98% และปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ลดลง 99%

ดร.เด็บบร้า ซิลเวอร์แมน สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ศึกษาจากคนงาน 12,000 คน ที่ต้องทำงานในภาวะแวดล้อมด้วยไอเสียจากน้ำมันดีเซล โดยคนงานในเหมืองผู้ที่ได้รับไอเสียอย่างมาก พวกเขามีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมากกว่า คนสูดควันบุหรี่จากผู้อื่นถึง 7 เท่า นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะอีกด้วย แต่ก็ยังเสี่ยงน้อยกว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ถึง 2 ซองต่อวัน

ก่อนหน้านี้ในปี 2543 มีการคิดค้นและแนะนำเชื้อเพลิงที่มีสารซัลเฟอร์ต่ำให้เป็นที่รู้จัก และเริ่มมีกฎข้อบังคับในปี 2549 และ 1 ใน 4 ของรถบรรทุกในอเมริกันก็เป็นรถรุ่นใหม่ที่ผลิตขึ้นภายใต้กฎเกณฑ์ดังกล่าวที่ต้องมีอัตราการปล่อยสารซัลเฟอร์ออกสู่อากาศต่ำมาก รัฐบาลสหรัฐคาดว่ารถบรรทุกจะเปลี่ยนสู่กฎเกณฑ์เดียวกันทั้งหมด ภายในระยะเวลา 12-15 ปีนับจากนี้

โดยน้ำมันดีเซลเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบที่ได้จากโรงกลั่น เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน เป็นน้ำมันที่เรียกว่า น้ำมันใส สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นเครื่องยนต์แรงอัดสูง และจุดระเบิดเอง ซึ่งการจุดระเบิดเกิดขึ้นจากความร้อนจากแรงอัดสูงของอากาศในกระบอกสูบที่มีจำหน่ายในปัจจุบันนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

น้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบหมุนเร็วที่ใช้กับยานยนต์ ทั้งรถยนต์ รถบรรทุก, เรือประมง, เรือโดยสาร, รถแทรกเตอร์ และเครื่องจักรกลหนักทุกชนิดที่มีรอบหมุนเร็ว น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทนี้เรียกว่า น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบหมุนปานกลางหรือหมุนช้า เป็นเครื่องยนต์ดีเซลขับส่งกำล ัง ติดตั้งในเครื่องจักรกลและในโรงงานต่าง ๆ ซึ่งมีรอบการทำงานต่ำประมาณ 500-1,000 รอบต่อนาที

สำหรับซัลเฟอร์ที่เป็นสารอันตรายที่อยู่ในน้ำมันดีเซลนั้น เกิดจากกำมะถันในน้ำมันดีเซลที่เผาไหม้กับอากาศ เป็นไอเสียที่ถูกปล่อยทิ้งออกสู่อากาศภายนอก ทำให้สภาวะแวดล้อมเป็นพิษ และตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดให้มีปริมาณกำมะถันในน้ำมันดีเซลได้ไม่เกิน 0.05% โดยน้ำหนัก เพื่อลดมลพิษอากาศเป็นพิษ

เช่นเดียวกับค่ายรถยนต์ที่มองว่า การออกมาประกาศทำนองนี้น่าจะส่งผลกระทบต่อการเลือกใช้เครื่องยนต์ดีเซล ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ทุกค่ายรถยนต์จะต้องเร่งพัฒนามาตรฐานเครื่องยนต์ดีเซลของตัวเองให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยเฉพาะการปล่อยมลพิษ อาทิ ยูโรสเต็ป 5 หรือ 6 ในอนาคตอันใกล้นี้

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  24th Jun 12

จำนวนผู้ชม:  35770

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง