Sub Navigation Links

webmaster's News

นำเข้า'ท่อค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพ'



นำเข้า'ท่อค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพ'



ผู้เชี่ยวชาญด้านการสวนหัวใจ เผย ก.ย.นี้ นำเข้า ท่อค้ำยันขยายหลอดเลือดชีวภาพ  ในไทย ชี้เป็นนวัตกรรมใหม่ ย่อยสลายได้ใน 2 ปี โดยไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์

รศ.นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ นายกสมาคมมัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือดแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการสวนหัวใจ กล่าวในงานแถลงข่าวนวัตกรรมการใช้ท่อค้ำยันขยายหลอดเลือดชีวภาพที่ย่อยสลายในคนไข้หลอดเลือดหัวใจตีบว่า ท่อค้ำยันขยายหลอดเลือดชีวภาพทำมาจากสารโพลีแล็กติก แอซิด ที่ย่อยสลายได้ โดยมีการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นอันตรายกับร่างกายของมนุษย์ ถือเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์แบบใหม่ที่จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยประมาณเดือนกันยายนนี้ เบื้องต้นเป็นเพียงการนำตัวอย่างเข้ามาที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เพื่อสอนเทคนิคการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวให้กับแพทย์ชาวไทยหลายท่าน

รศ.นพ.สรณกล่าวว่า ทั้งนี้ ขั้นตอนการรักษาจะสอดใส่เข้าไปเพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจบริเวณที่มีการตีบตัน ซึ่งคล้ายกับการใส่ท่อค้ำยันชนิดที่เป็นโลหะ แต่ท่อค้ำยันชีวภาพจะมีความยืดหยุ่นกว่าจึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีความโค้งตามธรรมชาติของหลอดเลือดได้ ไม่สะท้อนรังสี ทำให้การติดตามคนไข้ทำได้ง่าย ไม่ต้องเจาะรู และฉีดสีเข้าไปอีกหากต้องทำการเอกซเรย์ และจากการศึกษาทดลองในมนุษย์ในต่างประเทศเมื่อ5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ท่อค้ำยันขยายหลอดเลือดชนิดดังกล่าวจะค่อยๆ ย่อยสลายจนหมดได้ภายในระยะเวลา 2 ปี ไม่มีผลข้างเคียง และไม่ทิ้งสารที่เป็นอันตรายกับร่างกาย แม้จะมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นหลอดเลือดตีบได้อีกเท่าๆ กับการใช้ท่อค้ำยันแบบโลหะ แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่พบคนไข้กลับมาเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำ

นายกสมาคมมัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือดแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า การรักษาด้วยวิธีการกล่าวเหมาะที่จะทำในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อยๆ เพราะหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดีกว่าในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการอุดตันของเส้นเลือดบริเวณส่วนต้น เส้นเลือดมีขนาดใหญ่ ส่วนผู้ป่วยที่เกิดการอุดตันของเส้นเลือดบริเวณส่วนปลาย เส้นเลือดแข็งตัว หรือมีหินปูนเกาะเยอะจะทำได้ยากหรือไม่สามารถทำได้เลย

ประมาณเดือนกันยายนนี้จะมีการนำนวัตกรรมนี้เข้ามาใช้ในประเทศไทย ซึ่งหมอที่ทำการรักษาคนไข้หลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการใส่ท่อค้ำยันแบบโลหะสามารถทำการรักษาด้วยวิธีการนี้ได้ แต่คงบอกไม่ได้ว่ามีที่ไหนบ้าง ส่วนค่ารักษานั้น เนื่องจากว่าเป็นของใหม่จึงยังไม่มีการเซตราคาไว้ แต่ในต่างประเทศ อย่างเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1 แสนบาท" รศ.นพ.สรณกล่าว และว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ทำการรักษาให้กับผู้ป่วยไปแล้วจำนวน 3 ราย

ที่มา : นสพ.ไทยโพสต์ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  24th Jun 12

จำนวนผู้ชม:  35373

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว