Sub Navigation Links

webmaster's News

ผวาคนบ้าเกลื่อนคลังไล่ตีชาวบ้าน



ผวาคนบ้าเกลื่อนคลังไล่ตีชาวบ้าน



ในแหล่งชุมชนกทม.มีทุก2กม.อีก10ปล้นเมือง

แฉภัยเงียบคนกรุงเผชิญหน้า คนเร่ร่อน-คนบ้าเกลื่อนเมือง โดยเฉพาะตามป้ายรถเมล์-รถไฟฟ้า-สะพานลอยบางรายถึงขั้นเข้าคุกคามทำร้ายคน เดินถนน จนต้องพึ่งตำรวจช่วย แต่สุดท้ายก็ต้องคอยระวังกันเอง ขณะที่มูลนิธิกระจกเงาเผยเคยทำสำรวจพบทุก 2 กม.จะต้องเจอคนจรจัด หรือคนมีอาการทางประสาท 1-2 คน โดยเฉพาะในแหล่งชุมชนใหญ่ใกล้ตลาด ชี้เหตุมาจากปัญหาครอบครัว-เศรษฐกิจรุมเร้า คิดมากจนจิตป่วย ขาดการรักษา ลงท้ายก็หนีออกจากบ้านมาเร่ร่อน หนำซ้ำรัฐละเลยที่จะจัดการ จนปัญหาหมักหมมและไร้เจ้าภาพดูแล ระบุหากไม่รีบแก้ คาด 10 ปีข้างหน้า ผู้ป่วยข้างถนนอาจต้องล้นเมือง

หลังจากที่คนในสังคมต้องตื่นตระหนกไป กับเหตุคนเก็บของเก่าหรือซาเล้งไล่สาดน้ำยาล้างห้องน้ำใส่คนเดินถนน จนได้รับบาดเจ็บไปหลายราย ทั้งที่ไม่เคยรู้จักหรือมีเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน โดยชายที่ก่อคดีอ้างทำไปเพราะเจ็บแค้นที่เกิดมาจน ปรากฏเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้รับโทรศัพท์ร้องทุกข์จากประชาชนหลายรายว่าถูกคนเร่ร่อนลักษณะคล้ายมี อาการทางประสาท คุกคามจะเข้ามาทำร้ายร่างกาย บริเวณปากซอยวิภาวดี รังสิต 9 (ซอยเฉยพ่วง) ถนนวิภาวดีรังสิต โดยชายคนดังกล่าวคว้ากรวยยางจราจรตรงเข้ามาจะทำร้าย จนต้องวิ่งหลบกันวุ่น

เมื่อ ผู้สื่อข่าวออกไปยังบริเวณดังกล่าวกลับไม่พบชายเร่ร่อนตามที่ร้องเรียน แต่เมื่อตระเวนไปตามถนนพหลโยธิน ปากซอยพหลโยธิน 18/2 พบชายเร่ร่อน 1 ราย อยู่ในสภาพสวมเสื้อผ้าสกปรกเนื้อตัวมอมแมมยืนพูดอยู่คนเดียว โดยไม่มีท่าทีจะอาละวาดทำร้ายใคร นอกจากนี้  ยังพบชายเร่ร่อนอีก 2 ราย บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมอชิต และเมื่อสอบถามนางคำป้อ พาราพล อายุ 58 ปี ชาว จ.แพร่ แม่ค้าขายลูกอม ที่ป้ายรถเมล์หน้าธนาคารทหารไทย สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน ได้ความว่า ทุกเช้าจะเห็นคนเร่ร่อนและสติไม่ดีเดินไปมาวนเวียนอยู่บริเวณป้ายรถเมล์หน้า ธนาคารทหารไทย ถนนพหลโยธิน ไม่ต่ำกว่า 7-8 ราย ทำให้คนที่ยืนรอรถเมล์ต้องวิตกกังวลระวังตัวอยู่ตลอด เพราะบางครั้งคนเร่ร่อนบางคนมีพฤติกรรมโวยวายอาละวาด ถึงขั้นทำร้ายตีหัวคนยืนรอรถเมล์มาแล้ว รวมถึงบางทีคุกคามพนักงานออฟฟิศหญิง ทำให้หลายคนเกิดความหวาดกลัว ต้องแจ้งความให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแล ตนยังเคยถูกทำร้าย ต้องมีไม้ขนาดพอมือเก็บซ้อนไว้เพื่อป้องกันตัว

ขณะ ที่นางอาภรณ์ พงษ์ลือเลิศ ผู้ปกครองนักเรียนรายหนึ่ง กล่าวว่า ทุกเช้าต้องมาส่งลูกสาวขึ้นรถไฟฟ้าสถานีบีทีเอส หมอชิต เพื่อไปเรียนหนังสือ จะพบคนเร่ร่อนและคนสติไม่ดีในช่วงเวลา 07.00-08.00 น. เป็นประจำ ไม่ต่ำกว่า 5 ราย แต่ละคนมีท่าทางน่ากลัว บางครั้งแสดงท่าทีข่มขู่จะทำร้ายผู้สัญจรไปมา หรือเปลือยกายล่อนจ้อนเดินไปมาใต้สถานีรถไฟฟ้า และจากที่ได้พูดคุยกับเพื่อนผู้ปกครองด้วยกันหลายรายคน ต่างเคยเจอพฤติกรรมดังกล่าว ที่ผ่านมาเคยแจ้งตำรวจให้เข้ามาดูแล แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

จาก นั้นผู้สื่อข่าวตระเวนไปถึงถนนกำแพงเพชร 2 ใกล้หมอชิตใหม่ พบกับหญิงเร่ร่อน ผิวขาว ผมยาว นั่งร้องไห้อยู่ที่พักพนักงานล้างรถปั๊มเอ็นจีวี เมื่อเข้าไปพูดคุย หญิงดังกล่าวกลับลุกขึ้นเดินหนีไป และเมื่อตระเวนไปจนถึงแยกอุรุพงศ์ พบชายเร่ร่อน 1 ราย อายุประมาณ 60-70 ปี สภาพเนื้อตัวสกปรก มอมแมม จากการสอบถามชาวบ้านในบริเวณดังกล่าว ทราบว่าชายผู้นี้ป้วนเปี้ยนอยู่ในย่านนี้มาประมาณ 20 ปีแล้ว เมื่อก่อนมีอาชีพรับซื้อของเก่า โดนภรรยาทิ้ง และรถซาเล้งถูกขโมย จึงกลายเป็นคนเร่ร่อน และที่บริเวณซอยสุขุมวิท 38 ก็พบชายเร่ร่อนนอนอยู่ใต้สถานีรถไฟฟ้า คาดว่าน่าจะป่วย เพราะมีถุงยา
วางอยู่ใกล้ๆ

ทั้งนี้ การพบคนเร่ร่อนในหลายพื้นที่ของ กทม. ก็ไปสอดคล้องกับผลสำรวจอย่างไม่เป็นทางการของมูลนิธิกระจกเงา โดยจากการเปิดเผยของนายสิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา ระบุว่า สถานการณ์ผู้ป่วยข้างถนน หรือคนบ้า เป็นปัญหาทางสังคมที่น่าห่วงมาก เนื่องจากผู้ป่วยข้างถนนบางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าวคุกคามประชาชนทั่วไป ถือว่าเป็นเรื่องที่อันตราย ดังนั้นบุคคลเหล่านี้ต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของผู้เชี่ยวชาญ และในพื้นที่ที่เหมาะ สิ่งสำคัญต้องได้รับการรักษาด้วยอาการทางจิต ซึ่งหน่วยงานภาครัฐต้องระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่าง จริงจัง ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามบานปลาย จนยากจะแก้ไขได้ โดยสังเกตจากพื้นที่เมืองใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีผู้ป่วยข้างถนนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน สาเหตุการเพิ่มเกิดจากปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจต่างๆรุมเร้ารุนแรงส่งผลให้คิดมาก จนกลายเป็นโรคทางจิตอ่อนๆ แต่ไม่ได้รับการรักษา และหนีปัญหาออกจากบ้านมาเร่ร่อน ประกอบกับสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะ กระตุ้นให้มีอาการทางจิตรุนแรงมากขึ้น

นาย สิทธิพลกล่าวด้วยว่า จากการสำรวจพื้นที่ในกรุงเทพฯ 50 เขต พบว่าทุก 1-2 กม.จะพบผู้ป่วยข้างถนนหรือผู้มีอาการทางประสาทประมาณ 1-2 คน โดยเฉพาะเขตจตุจักร บางซื่อ บางกะปิ ป้อมปราบศัตรูพ่าย สาทร คลองเตย ลาดพร้าว ตามแหล่งชุมชนใหญ่ และตลาด เพราะมีสิ่งของในถังขยะมารับประทานประทังชีวิตได้ ทั้งนี้ พฤติกรรมของผู้ป่วยข้างถนนส่วนใหญ่ชอบอยู่ลำพังโดดเดี่ยวและไม่อยู่เป็นที่ เคลื่อนตัวไปมาตลอด แต่มีพื้นที่เป็นหลักแหล่งอาศัยชัดเจน ทั้งนี้ระดับอาการมีอยู่ 3 ระดับ คือ 1.อาการรู้สติสามารถพูดคุยได้ 2.การควบคุมตัวเอง หรือรู้สึกตัวเองได้บางครั้ง ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะชอบอยู่คนเดียวไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร จนกว่าจะมีสิ่งกระตุ้น เช่น มีศัตรูคุกคาม ซึ่งจะทำให้แสดงอาการป้องกันตัวทันที และ 3.กลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เลย และมีพฤติกรรมก้าวร้าว กลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาเป็นการด่วน เพราะเป็นภัยต่อบุคคลทั่วไป

หัวหน้า โครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา กล่าวอีกว่า ปัญหาผู้ป่วยข้างถนนถูกปล่อยปละละเลยจากหน่วยงานรัฐมานาน และไม่มีกระบวนการ ระบบการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน แม้แต่สถานที่รักษาหรือบ้านพักของคนกลุ่มนี้ยังมีอยู่จำกัดไม่เพียงพอ ดังนั้นภาครัฐต้องเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง เพราะมีทั้งอำนาจ บุคลากร และงบประมาณ แต่ไม่ใช่เป็นการกวาดล้างอย่างเดียว ต้องนำผู้ป่วยข้างถนนมารักษา มีสถานที่รองรับกับผู้ป่วยเหล่านี้ สิ่งสำคัญผู้ที่จะมาแก้ไขต้องเข้าใจถึงความจริงว่าเขาต้องการอะไร แต่ที่ผ่านมาภาครัฐไม่เคยให้ความสำคัญปล่อยปละละเลยมานาน และแก้แบบเฉพาะหน้า จนผู้ป่วยข้างถนนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หากไม่มีการแก้ปัญหาแบบนี้อีก 10 ปี ต้องเข้าสู่วิกฤติทางสังคม หรือผู้ป่วยข้างถนนอาจต้องล้นเมืองแน่นอน

ไทยรัฐ 21 มิถุนายน 2555
 ภาพประกอบ จากอินเตอร์เน็ต

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  21st Jun 12

จำนวนผู้ชม:  35423

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว