Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ เกาะติดเศรษฐกิจการเมือง: สุขภาวะของคนไทย



คอลัมน์ เกาะติดเศรษฐกิจการเมือง: สุขภาวะของคนไทย



คอลัมน์ เกาะติดเศรษฐกิจการเมือง: สุขภาวะของคนไทย สยามรัฐ
ฉบับวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เจตน์ เจริญโท
       
         ในท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่แตกแยกร้าวฉาน จนเกิดการปะทะสังสรรค์กันทุกระดับเช่นขณะนี้จะมีใครสนใจบ้างว่าคนไทยเรามีความทุกข์ยากเดือดร้อนหรือมี “สุขภาวะ” อย่างไร? เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมาได้มีหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนร่วมกันสร้าง”12 ตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ” ขึ้นมา หน่วยงานนั้นได้แก่
        
        สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หน่วยงานดังกล่าวได้จัดพิมพ์เอกสารชื่อ “สุขภาพคนไทย 2554″ ออกมาเผยแพร่ตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติทั้ง 12 ตัว ชี้ให้เห็นว่าประชาชนคนไทยในปัจจุบันมีชีวิตและสุขภาพอย่างไร เพื่อให้รัฐบาลผู้บริหารประเทศนำไปใช้ในการพัฒนานโยบายสาธารณะให้เป็นนโยบายเพื่อประชาชนยิ่งขึ้น แต่ที่ผ่านมาปรากฏว่ามีการกล่าวขานถึงตัวชี้วัดที่มีประโยชน์นี้กันน้อยมาก ทำให้การวางนโยบายของรัฐบาลเป็นไปในลักษณะที่ไม่สร้างสรรค์สุขภาวะแก่ประชาชนและประเทศชาติเท่าที่ควร ตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติทั้ง 12 ตัวได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิตสุขภาพในมิติทางจิตวิญญาณหรือปัญญา พฤติกรรมสุขภาพคุณภาพสิ่งแวดล้อมความมั่นคงของชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว ศักยภาพชุมชน ความมั่นคงของสังคม ความเป็นธรรมและการเข้าถึงบริการสุขภาพ ประสิทธิภาพของ ระบบบริการสุขภาพ คุณภาพและประสิทธิผลของระบบบริการสุขภาพ
         เอกสาร “สุขภาพคนไทย” ได้สรุปสุขภาวะของประชาชนโดยมีประเด็นสำคัญว่า สุขภาพกายของคนไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้นเป็น 69.5 ปีสำหรับชายและ 76.3 ปี สำหรับหญิง อัตราตายลดน้อยลง แต่มะเร็ง เนื้องอกและอุบัติเหตุ ยังคงเป็นสาเหตุการตายที่มีอัตราสูงสุดของคนไทย การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจ และโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเร่งป้องกันและดูแล
         เอกสารชี้ต่อไปว่า สุขภาพจิตของคนไทยมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นเช่นกันและเนื่องจาก “คุณภาพของจิตใจ”เป็นตัวชี้วัดสุขภาวะทางปัญญาในมิติหนึ่งแสดงออกในลักษณะพฤติกรรมของการขอโทษเมื่อกระทำผิด การให้อภัยแก่ผู้อื่นความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อน ก็พบว่าเป็นไปในทางที่ดีขึ้น แม้จะมีข้อบ่งชี้บางอย่างว่าความเคร่งครัดและการปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนาของคนไทยมีแนวโน้มลดลง (ทำให้เราน่าจะเบาใจได้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองที่คุกรุ่นอยู่ในขณะนี้คงจะไม่ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองขึ้นเป็นแน่)
          อย่างไรก็ตาม เอกสาร “สุขภาพคนไทย 2554″ ชี้ว่าสุขภาวะของคนไทยยังมีข้อที่น่าเป็นห่วงคือ ความแตกต่างในการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยและคนจนที่สูงถึง 11-15 เท่า ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคมด้านอื่นๆ รวมถึงด้านสุขภาพของคนไทยที่ยังคงไม่มีแนวโน้มลดลง จึงเป็นความเปราะบางที่จะกระทบต่อความมั่นคงรวมถึงเสถียรภาพของสังคมไทยในอนาคตได้ รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  13th Jun 12

จำนวนผู้ชม:  36209

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง