Sub Navigation Links

webmaster's News

ขี้ยาพุ่ง13ล.รณรงค์ลดสูบไม่เห็นผล โยนบุหรี่ราคาถูก-เด็กเข้าถึงง่าย



ขี้ยาพุ่ง13ล.รณรงค์ลดสูบไม่เห็นผล โยนบุหรี่ราคาถูก-เด็กเข้าถึงง่าย




   สธ.รับรณรงค์ลดสูบบุหรี่แล้ว แต่คนยังสูบเพิ่ม ล่าสุดพุ่ง 13 ล้านคนดูดบุหรี่ซองมากถึง 5.1 ล้านคน เหตุบุหรี่ราคาถูกเพิ่มขึ้นเยาวชนเข้าถึงง่าย เร่งผนึกกำลังรณรงค์งดสูบ-เดินแผนรักษาอาการติดบุหรี่

วานนี้ (28 พ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สุรวิทย์คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในงานแถลงข่าวการจัดกิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก ที่ร่วมมือกันระหว่าง สธ. มูลนิธิการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งตรงกับวันที่ 31 พ.ค. ของทุกปีว่าที่ผ่านมา สธ.และภาคีเครือข่ายมีการรณรงค์เกี่ยวกับการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่อย่างต่อ เนื่องแต่สถานการณ์กลับไม่ดีขึ้นโดยจากการสำรวจของ สธ.ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติและคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล มีการสำรวจสถานการณ์การบริโภคบุหรี่และยาสูบปี 2554 ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งที่ 2 หลังจากที่ดำเนินการครั้งแรกในปี 2552 ในคนไทยตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า มีผู้สูบบุหรี่และบริโภคยาสูบทุกชนิดเพิ่มสูงขึ้นถึง 13 ล้านคนหรือร้อยละ 24 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นชายร้อยละ 46.6 หญิงร้อยละ 2.6 เพิ่มจากปี 2552 ถึง 5 แสนคนโดยแบ่งเป็นการสูบบุหรี่ชนิดต่างๆ ได้แก่ ผู้สูบบุหรี่จากโรงงาน(บุหรี่ซอง) จำนวน 5.1 ล้านคนบุหรี่มวนเอง จำนวน 4.7 ล้านคน สูบรวมทั้ง 2 ชนิด จำนวน3.1 ล้านคน และชนิดอื่นเช่นบารากู ไปป์ ซิการ์ ฯลฯ จำนวน1 แสนคน

นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่อว่าสำหรับสถานการณ์การเลิกสูบนั้นพบว่ามีผู้ที่เคยสูบเป็นประจำเลิก สูบแล้วร้อยละ 27.2 ผู้ที่สูบปัจจุบัน และคิดจะเลิกสูบ ร้อยละ 54 เคยพยายามเลิกสูบ ในช่วง 12 เดือนร้อยละ 36.7 และผู้ที่คิดอยากเลิกสูบเพราะเห็นภาพคำเตือน ร้อยละ 62.6 สิ่งที่น่าห่วงคือพบผู้ที่สูบนิยมบุหรี่ราคาถูกมากขึ้น จากเดิม 1 ใน5 ยี่ห้อ เพิ่มเป็น 2 ใน 5 ราคาเฉลี่ย 30-45 บาท ขณะที่สถานการณ์การสูดควันบุหรี่มือสองในตลาดสดหรือตลาดนัดมากที่สุดร้อยละ 68.8 ในบ้านร้อยละ 36 และที่ทำงานร้อยละ30.5 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันในเรื่องของการเข้มงวดเกี่ยวกับนโยบายยาสูบและ บุหรี่มากขึ้น

ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า จากสถานการณ์ของบุหรี่ซองที่มีราคาถูกมากขึ้นอาจส่งผลให้เยาวชนเข้าถึงการ สูบบุหรี่และการบริโภคยาสูบมากขึ้นจึงจำเป็นต้องเดินหน้าเรื ่องมาตรการที่ เข้มงวดในการเร่งปราบปรามร้านค้าที่จำหน่ายให้แก่เด็กต่ำกว่า 18 ปี ขณะที่เรื่องการรักษาภาวการณ์ติดบุหรี่ในผู้ที่อยากเลิกสูบ ก็จำเป็นไม่แพ้กัน ซึ่งปัญหาที่มี คือ เรื่องของการเลิกยาอดบุหรี่ ยังไม่ถูกบรรจุให้อยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพ ก็ต้องเร่งดำเนินการด้วย

ขณะที่ นพ.นพพร ชื่นกลิ่นรองอธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า กรณีของการของการดูแลรักษาสุขภาพผู้ที่ติดบุหรี่นั้น จำเป็นต้องหารือร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช. ) เพื่อจัดบริการด้านรักษาผู้ติดบุหรี่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูบที่มีอายุ 50-60 ปี ซึ่งมีปัญหาโรคเรื้อรัง ทั้งความดัน และเบาหวาน ที่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น

“ปัญหาที่มีคือ การเดินหน้านโยบายการบริการด้านรักษาผู้ติดบุหรี่ดำเนินการได้ยากเป็นเพราะ หลายฝ่ายค้านว่า เป็นอาการที่ผู้สูบก่อขึ้นเอง ทั้งๆ ที่รู้ว่าอันตราย ทำให้การเดินหน้านโยบายเป็นไปได้ล่าช้า อย่างไรก็ตามสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนก็คือร่วม มือกับภาคสังคม และหน่วยงานที่สำคัญ เช่น สสส. เพื่อรณรงค์ ลด ละ เลิก ต่อไป” นพ.นพพร กล่าว


ASTVผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  3rd Jun 12

จำนวนผู้ชม:  39822

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง