Sub Navigation Links

webmaster's News

สิทธิมนุษยธรรม: เส้นทางคู่ขนาน โดย ชาญเชาวน์ ไชยาน



สิทธิมนุษยธรรม: เส้นทางคู่ขนาน โดย ชาญเชาวน์ ไชยาน





ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสังคมไทยจากประสบการณ์ของตัวเอง (โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม) แล้วพบว่าเส้นทางเดินสายนี้ยังคงเป็นเส้นทางคู่ขนานไปกับวิถีชีวิตของประชาชน ซึ่งความหมายและขอบเขตของประโยคนี้อาจตีความหรือขยายความได้หลายแง่หลายมุม
ในแง่มุมของสังคมโดยทั่วไปถือว่ามีการตื่นตัวในเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลสูงขึ้นหลังจากประกาศใช้รัฐธรร มนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจการจับกุม การรับฟังพยานหลักฐาน และสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา รวมทั้งมีการใช้กฎหมายชดเชยความเสียหายให้กับผู้ที่ต้องตกเป็นจำเลยและถูกจำคุกอยู่ในระหว่างดำเนินคดี แต่ต่อมาศาลพิพากษาว่าไม่มีความผิด รวมทั้งการจ่ายค่าทดแทนให้กับผู้เสียหายจากการกระทำผิดอาญาของผู้อื่นโดยที่ตัวเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้นด้วย และถือว่าเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการตื่นตัวในเรื่องสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
ขณะเดียวกันกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพก็มีการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนถึงขนาดมีกฎหมายกำหนดกลไกและทิศ ทางในการขับเคลื่อนไว้อย่างชัดเจน เราคงคุ้นชินกับสมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ รวมไปถึงการร่วมถกเถียง แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพ และระบบประกันสังคมที่ชัดเจนมากขึ้น
ส่วนสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นก็เริ่มมีความเข้มข้นมากขึ้น แม้เกิดเหตุการณ์คุกคามชีวิตและร่างกายเกิดขึ้นเป็นระยะ หรือมีภาพของความขัดแย้งระหว่างภาครัฐและประชาชนอยู่บ้างก็ตาม แต่ต้องถือว่าเป็นความเคลื่อนไหวอยู่ในประเด็นของการต่อสู้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระดับชุมชนมากขึ้นเป็นลำดับ
ความก ้าวหน้าในเรื่องสิทธิของผู้หญิง เด็ก และคนชรามีให้เราได้สัมผัสอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าในรูปแบบของการกำหนดเป็นกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับขึ้นมารับรองสิทธิเสรีภาพของคนกลุ่มนี้ รวมทั้งการพัฒนาระบบสวัสดิการก็มีให้เห็น ให้ได้ยินมากขึ้น
หากจะสรุปโดยทั่วไปก็ต้องถือว่าสังคมมีความตระหนักในเรื่องสิทธิเสรีภาพมากขึ้น มีความเข้าใจคุณค่าและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ในระดับพอใช้ไม่ถึงกับดีหรือดีมากเพียงพอที่จะปกป้องตนเอง ครอบครัว และชุมชนให้พ้นจากการละเมิดสิทธิได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสังคมไทยจึงอยู่ในสถานะของเส้นทางคู่ขนานไปกับวิถีชีวิตของคนไทยคือมีการตื่นตัว มีความรับรู้และยอมรับในการเรียกร้องและต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเองและครอบครัว สังคมมีกลไกและกระบวนการรองรับการร้องทุกข์และการเรียกร้อง แต่ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของกลไกและกระบวนการยังคงเป็นปัญหาหลัก ตลอดจนยังคงมีภัยคุกคามชีวิตและทรัพย์สินของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน หรือแม้แต่การค้นหาความจริงเพื่อลงโทษหรือเพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความสำนึกผิดยังคงเป็นไปได้ยากลำบาก และดูขัดแย้งกับแนวโน้มที่ดีจนกล่าวได้ว่าเป็นคู่ขนาน
พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยจึงเท่ากับเกิดตัวตนขึ้นแล้ว แต่สะดุดหยุดลงและหยุดอยู่เพราะเสมือนมีกลไกและกระบวนการคอยควบคุมการ เจริญเติบโตเพราะลังเลหรือไม่แน่ใจกับการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหวของพัฒนาการสิทธิเสรีภาพ
และในขณะเดียวกันประชาชนก็เกิดความลังเลในการเรียกร้องและการใช้สิทธิเสรีภาพของตนเองและครอบครัวว่าอยู่ในความห มายและขอบเขตที่กระทำได้หรือไม่และเพียงใด สถานการณ์ชักเย่อหรือยึกยักสิทธิมนุษยชนจึงส่งผลให้เกิดการใช้ความรุนแรงเมื่อมีความขัดแย้งทั้งในกรุงเทพฯ และชายแดนภาคใต้
อาการลังเลหรือปฏิกิริยาย้อนกลับข องพัฒนาการสิทธิเสรีภาพจะหมดไปได้อย่างไรเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวด้านสิทธิเสรีภาพควบคู่ไปกับพัฒนาการของหลักนิติธรรมหรือนิติรัฐ และกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพราะทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งเดียวกันไม่อาจอ้างหรือเสริมสร้างพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งแยกส่วนจากกันได้ การพัฒนาสังคมไทยจึงต้องหันมามองเพื่อลบเส้นคู่ขนานเสมือนนี้ให้ได้โดยเร็ว เพื่อทำให้พลังอำนาจแห่งรัฐทั้ง 3 ประการนี้ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางมีศักยภาพในการขับเคลื่อนไปได้เท่าทันกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่ถาโถมอยู่ทุกวินาที
สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมจะต้องเป็นสภาวะที่ส่งเสริมให้พัฒนาการสิทธิมนุษยชนเข้าไปอยู่ในการบริหารงานและการบริหารจัดการภาครัฐ และให้พัฒนาการของสังคมไทยเปิดกว้างให้วิถีวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนเข้าไปสู่กระบวนการในการพัฒนาสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของไทยได้อย่างแนบสนิทเพื่อลดความรู้สึกเป็นปรปักษ์ต่อสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่รัฐให้ลดน้อยลง และเพิ่มกระบวนการกัลยาณมิตรให้เกิดขึ้นระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและเจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมแบบรับผิดชอบร่วมกันระหว่างรัฐและประชาชนมากกว่าการมีส่วนร่วมเพื่อให้ครบองค ์ประกอบของกระบวนการจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังโดยผู้ปฏิบัติต้องใส่ใจเรียนรู้ถึงแก่นแท้เท่านั้นจึงจะทำได้
ต้องมีสักวันที่เส้นทางพัฒนาการสิทธิมนุษยชนจะบรรจบกับเส้นทางวิถีชีวิต ไทย
สังคมมีกลไกและกระบวนการรองรับการร้องทุกข์ แต่ปัญกาเรื่องสิทธิภาพจของกลไกและกระบวนการยังคงเป็นปัญหาหลัก


กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ:

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  23rd May 12

จำนวนผู้ชม:  36796

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง