Sub Navigation Links

webmaster's News

ม.มหิดลร่วมกับสช.จัดเวทีเสวนา เหลียวมองผลกระทบ...



ม.มหิดลร่วมกับสช.จัดเวทีเสวนา เหลียวมองผลกระทบ...



               
“เหลียวมองผลกระทบ...ก่อนคิดถึงอนาคต CL” ณ   โรงแรมอโนมา   กรุงเทพเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาประเมินผลกระทบจากมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิ  บัตรยาในประเทศไทย

29 ก.ค.52   มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)   โครงการประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and   Technology Assessment Program : HITAP)   สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.)   สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)   และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีเสวนา “เหลียวมองผลกระทบ...ก่อนคิดถึงอนาคต CL” ณ โรงแรมอโนมา   กรุงเทพ

เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาประเมินผลกระทบจากมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิ  บัตรยาในประเทศไทย ระหว่างปี 2549-2551   โดยมีผลการประเมินทั้งผลกระทบด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม   รวมถึง

สถานการณ์ปัจจุบันของมาตรการการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาในประเทศไทย  ซึ่งคณะของ ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ จาก HITAP ทำการศึกษาไว้  โดยมี   นพ.วิชัย โชควิวัฒน์   ในฐานะอดีตประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตาม  สิทธิบัตรโดยรัฐ และดร.วัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้แทนการค้าไทยและตัวแทนรัฐบาล   รวมถึงผู้สนใจกว่า100 คนเข้าร่วมเวทีเสวนา

       
       

          ผลการวิจัยพบว่ามาตรการ CL ส่งผลกระทบ 4 ด้านคือ 1.) ด้านสุขภาพ เพิ่มการเข้าถึงยาได้ทั้งสิ้น 84,158 คนในระยะเวลา 5 ปี หลังจากประกาศใช้มาตรการ CL ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น  2.) ด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีการสร้างผลผลิตให้กับสังคมได้มากขึ้นคิดเป็น 132.4 ล้านเหรียญสหรัฐ 3.) ด้านการส่งออกและการลงทุน สินค้า 3 รายการที่ถูกสหรัฐตัดสิทธิ GSP มีมูลค่าการส่งออกสูงกว่าที่กำหนดไว้และภาพรวมการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 4).ด้านสังคม-จิตวิทยา ทั้งชาวไทยและต่างประเทศส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการ CL ยาโดยเฉพาะยาต้านไวรัส HIV

     
       

          ในเวทีเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ชี้แจง   และเสนอแนะกลยุทธ์สำหรับการพิจารณาการบังคับใช้สิทธิบัตรยาในอนาคต   เพื่อให้การดำเนินนโยบายดังกล่าวมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น   มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 4 เรื่องคือ 1) การชี้แจงทำความเข้าใจต่อสาธารณชน   2)หลักเกณฑ์คัดเลือกรายการยาที่จะประกาศใช้CL 3)การพัฒนาระบบข้อมูลและ   4)การกำหนดมาตรการแก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงยาอย่างยั่งยืน

     
       

นอกจากนี้ยังมีข้อคิดเห็นจากผู้นำการเสวนา ซึ่งยืนยันความจำเป็นในการทำ   CL ซึ่งเป็นไปตามหลักนิติรัฐและจะส่งผลดีตามมาอีกมากมาย ได้แก่   ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน   เป็นต้นและทำให้ประเทศไทยมีความเข้าใจและมีนโยบายที่จะให้การช่วยเหลือ  ประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกัน   ทั้งนี้ผู้เกี่ยวข้องเห็นพ้องต้องกันว่าการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจจะต้อง  คำนึงถึงหลักมนุษยธรรมควบคู่ไปด้วยและควรให้ความสำคัญต่อเรื่องความรับผิด  ชอบต่อสังคม (CSR) ให้มากขึ้น

     
       

ในส่วนของผู้ร่วมเสวนา ต่างเห็นด้วยกับการการใช้มาตรการCL   เพราะเล็งเห็นผลดีที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและเป็นคุณค่าทางจิตใจที่คนไทยมีต่อ  คนไทยด้วยกัน นับว่ามาตรการ   CLยาที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับในเวทีสาธารณะและเป็นการสร้างจุดเริ่มต้นในการ  ร่วมมือกันพัฒนาระบบยาของไทย  

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  7th May 12

จำนวนผู้ชม:  35569

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง